xs
xsm
sm
md
lg

“อมตะ” เปิดแผนรับมือภัยแล้งปี 59 มั่นใจแล้งหนักก็เอาอยู่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“อมตะ” ประเมินสถานการณ์ภัยแล้งภาคตะวันออก มั่นใจมีน้ำเพียงพอป้อนอุตสาหกรรมในนิคมฯ สองแห่งทั้ง จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ด้วยระบบการพัฒนาแหล่งน้ำไว้รองรับในหลายอ่างเก็บน้ำ และลงทุนระบบรีไซเคิลเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ยันอมตะไม่มีแผนดึงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในฤดูแล้งแน่นอน เหตุคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน ย้ำหากฝนไม่ตกเลยก็มีน้ำใช้ถึงสิ้นปี


นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาขน) เปิดเผยว่า อมตะฯ ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อรับมือกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตภัยแล้งในปี 2559 โดยมีการลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ การดูแลแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อเป็นการสร้างกลไกใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาน้ำต้นทุน และน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมถึงการลงทุนเพื่อการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยเทคโนโลยีการรีไซเคิลน้ำ ระบบรีเวิร์ส ออสโมสิส หรืออาร์โอ (Reverse Osmosis System : RO)

“ปัจจุบันกลุ่มอมตะ มีบริษัท อมตะ วอเตอร์ จำกัด (Amata Water) มีหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำภายในนิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่ง ได้แก่ นิคมฯ อมตะนคร จ.ชลบุรี และนิคมฯ อมตะซิตี้ จ.ระยอง เรามีแผนสำรองน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ให้มากกว่าความต้องการใช้ของลูกค้าประมาณ 150% อยู่แล้ว นอกจากนี้ อมตะยังลงทุน เช่น ระบบอาร์โอ (Reverse Osmosis System : RO) ทำให้ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมานิคมฯ อมตะไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ แม้แต่ในปี 2548 ที่แล้งสุดในบริเวณภาคตะวันออกของไทย แต่อมตะยังมีน้ำเหลืออยู่เพื่อใช้งานได้เป็นเวลา 4-5 เดือน โดยปี 2559 เราคาดการณ์ว่าโรงงานในนิคมฯของอมตะเกือบ 1,000 โรงงานจะมีความต้องการน้ำดิบประมาณ 31.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น หากฝนไม่ตกเลยในปีนี้อมตะจะยังมีน้ำใช้ได้ถึงสิ้นปี” นายวิบูลย์กล่าว

นายชูชาติ สายถิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมตะวอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีการบริหารจัดการน้ำทั้งช่วงฝนตกและน้ำหลากเป็นอย่างดี เป้าหมายของการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปีส่งผลดีในแง่ของภาพรวม ทั้งของธุรกิจอมตะ และภาคประชาชน รวมไปถึงคุณภาพน้ำที่มีคุณสมบัติน้ำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ในปัจจุบันมีเพียงพอใช้ในโรงงาน 14- 15 เดือน โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำจากแหล่งธรรมชาติ และในกรณีที่ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตฝนทิ้งช่วง ฝนไม่ตกทั้งปี

“อมตะยืนยันว่าจะไม่มีการดึงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งมาใช้โดยเด็ดขาด ภาคอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องแย่งน้ำจากภาคเกษตรกรรมเลยแม้แต่น้อย เนื่องด้วยปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด และน้ำในช่วงฤดูแล้งมักมีคุณภาพน้ำต่ำ ไม่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมได้ เพราะปริมาณเกลือที่อยู่ในน้ำจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าค่ามาตรฐานของน้ำใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม” นายชูชาติกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น