ระหว่างวันที่ 25-27 พ.ย.2558 ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้นำทีมผู้บริหารจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และภาคเอกชนของไทยจากกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ออกเดินทางไปโรดโชว์ยังประเทศญี่ปุ่น
การเดินทางครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกหลังจากนายสมคิดเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 3 ที่จะเน้นการฟื้นความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ และดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไทย หลังจากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงของการฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยการอัดฉีดเงิน 1.36 แสนล้านบาท ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 และอัดฉีดงบอีก 5 พันล้านบาทช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นระยะที่ 2
“ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล จะต้องออกไปสร้างความเชื่อมั่นสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามายังไทย หลังจากในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้ เป็นการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จนขณะนี้ได้ฟื้นตัวดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่น ทั้งของผู้บริโภคและนักลงทุนดีขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 3% และปีหน้า 3.5-4% ซึ่งถือว่าน่าพอใจ จึงถึงเวลาที่จะออกไปสร้างความเชื่อมั่นในต่างประเทศ และได้เลือกญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก เพราะลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก”นายสมคิดกล่าวถึงแผนการทำงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 3 ของรัฐบาล
ทั้งนี้ หลังจากการโรดโชว์ครั้งแรกสำเร็จ นายสมคิดบอกว่า แผนต่อไปจะเดินสายโรดโชว์ไปยังรัสเซีย จีน อิหร่าน เพราะล้วนแต่เป็นประเทศที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ของไทย และยังมีแผนออกไปโรดโชว์ในประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาประเทศเป้าหมาย
สำหรับผลการโรดโชว์ครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ในด้านการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งปรากฎผลงานมากมาย ทั้งการแก้ไขปัญหาการค้า การเจรจาเปิดตลาดให้กับสินค้าไทย การสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย ผ่านเวทีเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) และยังมีการลงนามใน MOU เพื่อขยายการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นอีกด้วย
นางอภิรดีกล่าวว่า ในการเดินทางร่วมคณะนายสมคิดครั้งนี้ ได้ใช้โอกาสนี้พบปะหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น เพื่อเจรจาให้ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวคุณภาพดีของไทยเพิ่มขึ้น และขอให้เปิดตลาดมะม่วงให้กับไทย คาดว่าเร็วๆ นี้ น่าจะได้รับข่าวดี และยังได้หารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (เมติ) ของญี่ปุ่น โดยได้มีการลงนามในบักทึกความตั้งใจ (MOI)ในการพัฒนาบุคลากรของไทยกับเพื่อนบ้านให้เป็นแรงงานฝีมือ และหลังจากนี้จะมีการทำงานร่วมกันต่อไป
ส่วนการเจรจาจับคู่ธุรกิจ แม่งานหลัก คือ นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่ทำงานร่วมกับ สสว. นำคณะภาคธุรกิจจากไทยจำนวน 69 ราย จากกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมหนัก ดิจิตอลคอนเทนต์ แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เดินทางไปพบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นโดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นเดินทางมาร่วมงานกว่า 200 ราย และยังมี Walk in เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก โดยผลการเจรจาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ขณะที่การสอบถามภาคเอกชนที่เข้าร่วมงาน ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มีโอกาสทำธุรกิจร่วมกันทั้งทันทีและระยะต่อไป
นอกจากนี้ นางมาลียังได้เป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความตกลง (MOU) ระหว่างนักธุรกิจของไทยกับนักธุรกิจของญี่ปุ่น โดยได้มีการตกลงร่วมมือทำธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กที่ผลิตจากตู้คอนเทนเนอร์ ระหว่างบริษัท สยาม สตีล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ของไทย กับบริษัท เอสคริท อิงค์ ของญี่ปุ่น และร่วมมือทำธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ระหว่างสมาคมแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทย กับสมาคมผู้ผลิตดิจิตอลคอนเทนต์ของฟูกูโอกะ ของญี่ปุ่น
ไม่เพียงแค่นั้น ในการเดินทางไปโรดโชว์ที่ญี่ปุ่นครั้งนี้ ไทยยังได้จัดสัมมนา Thailand : Moving Forward to Sustainable Growth โดยเชิญนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นเกือบ 1 พันราย มาร่วมฟังนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย นโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย โดยมีนายสมคิดและทีมเศรษฐกิจจากกระทรวงต่างๆ ร่วมชี้แจงนโยบายที่จะสนับสนุนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
นายสมคิดย้ำต่อนักธุรกิจญี่ปุ่นในเวทีสัมมนาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเดินทางมายังญี่ปุ่น ให้มาบอกนักลงทุนญี่ปุ่นถึงแผนงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานราก ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว และขณะนี้เข้าสู่แผนการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ หลังจากที่รัฐบาลได้ปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่มุ่งสู่อุตสาหกรรมซุปเปอร์คลัสเตอร์ อุตสาหกรรมใหม่ (S-Surve) และการเปิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จึงต้องการเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของไทย
“ได้บอกนักลงทุนญี่ปุ่นว่าท่านเป็นนักลงทุนที่ไทยให้ความสำคัญสูง รัฐบาลพร้อมที่จะดูแลอย่างดี ให้สมกับที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความมั่นใจ เชื่อใจในการลงทุนในไทยมาโดยตลอด และการมาครั้งนี้ ยังต้องการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไปสู่การเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่จะมองอนาคตไปด้วยกัน วางแผนร่วมกัน เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดกับ 2 ประเทศ”นายสมคิดกล่าว
ด้านนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ ได้กล่าวกับนักธุรกิจญี่ปุ่นว่า ขณะนี้กำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน และใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเข้าสู่ตลาดอาเซียน และอาเซียนยังมีแผนเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย น่าจะได้ประโยชน์ร่วมกัน หากมีความร่วมมือกันมากขึ้น และยังได้ชี้แจงต่อนักลงทุนญี่ปุ่นอีกว่าไทยได้ปรับปรุงขั้นตอนการทำธุรกิจให้เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นแล้ว
นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายด้านอุตสาหกรรมของไทยจากนี้ไป จะเน้นตอบโจทย์เศรษฐกิจปัจจุบัน ที่เน้นการสร้างมูลค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งเสริมและให้สิทธิพิเศษมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มซุปเปอร์คลัสเตอร์ อุตสาหกรรม S-Curve ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งไทยได้แจ้งให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นและชักชวนให้ไปลงทุนในไทย เพราะตอนนี้เป็นโอกาสทอง และยังขอความร่วมมือในการช่วยสนับสนุน SMEs ของไทยด้วย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้ชี้แจงนโยบายด้านระบบคมนาคมขนส่งของไทย โดยระบุว่า กระทรวงฯ มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของนโยบายรัฐบาล โดยมีแผนลงทุนทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ การขนส่งสาธารณะ การสร้างถนน การพัฒนาท่าเรือ การขนส่งทางอากาศ จึงขอเชิญชวนให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาร่วมประมูลและลงทุน เพราะไทยเปิดกว้างต้อนรับนักลงทุน
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ได้แสดงความพร้อมในการร่วมมือกับญี่ปุ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน และได้ลงนาม MOU กับสมาคมด้านการท่องเที่ยวเอกชนของญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน
ขณะที่นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ย้ำถึงลู่ทางในการเพิ่มความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามภาคเอกชนไทยที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสิ่งที่ดีที่รัฐบาลดำเนินการโรดโชว์ในลักษณะมาร่วมกันเป็นทีม โดยนายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นไทยมากขึ้น และพร้อมที่จะเพิ่มการลงทุนในไทย หลังรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนชัดเจน ขณะที่นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในทางเดียวกันว่า จากนี้ไป เชื่อว่า นักลงทุนญี่ปุ่นจะออกมาลงทุนในไทยมากขึ้น
ทั้งนี้ ในระหว่างการโรดโชว์ นายสมคิดและทีมเศรษฐกิจยังได้ประชุมร่วมกับกระทรวงที่ดูแลด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในเวทีการประชุมที่เรียกว่า High Level Joint Commission (HLJC) ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นยอมหารือเต็มคณะโดยมีทีมเศรษฐกิจของไทย กับรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เพราะที่ผ่านๆ มา ญี่ปุ่นมักจะให้มีการหารือในระดับกระทรวงต่อกระทรวงมากกว่า โดยผลการหารือก็ได้ข้อสรุปในทางที่ดี ที่ทั้ง 2 ประเทศจะมีการร่วมมือในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป
การจัดโรดโชว์ไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการทำงานเชิงรุก ที่ทีมงานด้านเศรษฐกิจของไทยได้ผนึกกำลังกันในการออกไปหาลู่ทางในการเปิดตลาดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และจะถูกนำไปใช้เป็นโมเดลในการออกไปโรดโชว์ยังประเทศอื่นๆ ต่อไป ซึ่งนายสมคิดได้คาดหวังว่าการเดินหน้าตามแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 3ของรัฐบาล บวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
การเดินทางครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกหลังจากนายสมคิดเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 3 ที่จะเน้นการฟื้นความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ และดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไทย หลังจากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงของการฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยการอัดฉีดเงิน 1.36 แสนล้านบาท ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 และอัดฉีดงบอีก 5 พันล้านบาทช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นระยะที่ 2
“ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล จะต้องออกไปสร้างความเชื่อมั่นสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามายังไทย หลังจากในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้ เป็นการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จนขณะนี้ได้ฟื้นตัวดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่น ทั้งของผู้บริโภคและนักลงทุนดีขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 3% และปีหน้า 3.5-4% ซึ่งถือว่าน่าพอใจ จึงถึงเวลาที่จะออกไปสร้างความเชื่อมั่นในต่างประเทศ และได้เลือกญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก เพราะลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก”นายสมคิดกล่าวถึงแผนการทำงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 3 ของรัฐบาล
ทั้งนี้ หลังจากการโรดโชว์ครั้งแรกสำเร็จ นายสมคิดบอกว่า แผนต่อไปจะเดินสายโรดโชว์ไปยังรัสเซีย จีน อิหร่าน เพราะล้วนแต่เป็นประเทศที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ของไทย และยังมีแผนออกไปโรดโชว์ในประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาประเทศเป้าหมาย
สำหรับผลการโรดโชว์ครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ในด้านการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งปรากฎผลงานมากมาย ทั้งการแก้ไขปัญหาการค้า การเจรจาเปิดตลาดให้กับสินค้าไทย การสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย ผ่านเวทีเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) และยังมีการลงนามใน MOU เพื่อขยายการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นอีกด้วย
นางอภิรดีกล่าวว่า ในการเดินทางร่วมคณะนายสมคิดครั้งนี้ ได้ใช้โอกาสนี้พบปะหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น เพื่อเจรจาให้ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวคุณภาพดีของไทยเพิ่มขึ้น และขอให้เปิดตลาดมะม่วงให้กับไทย คาดว่าเร็วๆ นี้ น่าจะได้รับข่าวดี และยังได้หารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (เมติ) ของญี่ปุ่น โดยได้มีการลงนามในบักทึกความตั้งใจ (MOI)ในการพัฒนาบุคลากรของไทยกับเพื่อนบ้านให้เป็นแรงงานฝีมือ และหลังจากนี้จะมีการทำงานร่วมกันต่อไป
ส่วนการเจรจาจับคู่ธุรกิจ แม่งานหลัก คือ นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่ทำงานร่วมกับ สสว. นำคณะภาคธุรกิจจากไทยจำนวน 69 ราย จากกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมหนัก ดิจิตอลคอนเทนต์ แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เดินทางไปพบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นโดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นเดินทางมาร่วมงานกว่า 200 ราย และยังมี Walk in เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก โดยผลการเจรจาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ขณะที่การสอบถามภาคเอกชนที่เข้าร่วมงาน ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มีโอกาสทำธุรกิจร่วมกันทั้งทันทีและระยะต่อไป
นอกจากนี้ นางมาลียังได้เป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความตกลง (MOU) ระหว่างนักธุรกิจของไทยกับนักธุรกิจของญี่ปุ่น โดยได้มีการตกลงร่วมมือทำธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กที่ผลิตจากตู้คอนเทนเนอร์ ระหว่างบริษัท สยาม สตีล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ของไทย กับบริษัท เอสคริท อิงค์ ของญี่ปุ่น และร่วมมือทำธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ระหว่างสมาคมแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทย กับสมาคมผู้ผลิตดิจิตอลคอนเทนต์ของฟูกูโอกะ ของญี่ปุ่น
ไม่เพียงแค่นั้น ในการเดินทางไปโรดโชว์ที่ญี่ปุ่นครั้งนี้ ไทยยังได้จัดสัมมนา Thailand : Moving Forward to Sustainable Growth โดยเชิญนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นเกือบ 1 พันราย มาร่วมฟังนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย นโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย โดยมีนายสมคิดและทีมเศรษฐกิจจากกระทรวงต่างๆ ร่วมชี้แจงนโยบายที่จะสนับสนุนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
นายสมคิดย้ำต่อนักธุรกิจญี่ปุ่นในเวทีสัมมนาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเดินทางมายังญี่ปุ่น ให้มาบอกนักลงทุนญี่ปุ่นถึงแผนงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานราก ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว และขณะนี้เข้าสู่แผนการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ หลังจากที่รัฐบาลได้ปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่มุ่งสู่อุตสาหกรรมซุปเปอร์คลัสเตอร์ อุตสาหกรรมใหม่ (S-Surve) และการเปิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จึงต้องการเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของไทย
“ได้บอกนักลงทุนญี่ปุ่นว่าท่านเป็นนักลงทุนที่ไทยให้ความสำคัญสูง รัฐบาลพร้อมที่จะดูแลอย่างดี ให้สมกับที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความมั่นใจ เชื่อใจในการลงทุนในไทยมาโดยตลอด และการมาครั้งนี้ ยังต้องการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไปสู่การเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่จะมองอนาคตไปด้วยกัน วางแผนร่วมกัน เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดกับ 2 ประเทศ”นายสมคิดกล่าว
ด้านนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ ได้กล่าวกับนักธุรกิจญี่ปุ่นว่า ขณะนี้กำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน และใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเข้าสู่ตลาดอาเซียน และอาเซียนยังมีแผนเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย น่าจะได้ประโยชน์ร่วมกัน หากมีความร่วมมือกันมากขึ้น และยังได้ชี้แจงต่อนักลงทุนญี่ปุ่นอีกว่าไทยได้ปรับปรุงขั้นตอนการทำธุรกิจให้เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นแล้ว
นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายด้านอุตสาหกรรมของไทยจากนี้ไป จะเน้นตอบโจทย์เศรษฐกิจปัจจุบัน ที่เน้นการสร้างมูลค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งเสริมและให้สิทธิพิเศษมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มซุปเปอร์คลัสเตอร์ อุตสาหกรรม S-Curve ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งไทยได้แจ้งให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นและชักชวนให้ไปลงทุนในไทย เพราะตอนนี้เป็นโอกาสทอง และยังขอความร่วมมือในการช่วยสนับสนุน SMEs ของไทยด้วย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้ชี้แจงนโยบายด้านระบบคมนาคมขนส่งของไทย โดยระบุว่า กระทรวงฯ มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของนโยบายรัฐบาล โดยมีแผนลงทุนทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ การขนส่งสาธารณะ การสร้างถนน การพัฒนาท่าเรือ การขนส่งทางอากาศ จึงขอเชิญชวนให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาร่วมประมูลและลงทุน เพราะไทยเปิดกว้างต้อนรับนักลงทุน
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ได้แสดงความพร้อมในการร่วมมือกับญี่ปุ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน และได้ลงนาม MOU กับสมาคมด้านการท่องเที่ยวเอกชนของญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน
ขณะที่นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ย้ำถึงลู่ทางในการเพิ่มความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามภาคเอกชนไทยที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสิ่งที่ดีที่รัฐบาลดำเนินการโรดโชว์ในลักษณะมาร่วมกันเป็นทีม โดยนายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นไทยมากขึ้น และพร้อมที่จะเพิ่มการลงทุนในไทย หลังรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนชัดเจน ขณะที่นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในทางเดียวกันว่า จากนี้ไป เชื่อว่า นักลงทุนญี่ปุ่นจะออกมาลงทุนในไทยมากขึ้น
ทั้งนี้ ในระหว่างการโรดโชว์ นายสมคิดและทีมเศรษฐกิจยังได้ประชุมร่วมกับกระทรวงที่ดูแลด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในเวทีการประชุมที่เรียกว่า High Level Joint Commission (HLJC) ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นยอมหารือเต็มคณะโดยมีทีมเศรษฐกิจของไทย กับรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เพราะที่ผ่านๆ มา ญี่ปุ่นมักจะให้มีการหารือในระดับกระทรวงต่อกระทรวงมากกว่า โดยผลการหารือก็ได้ข้อสรุปในทางที่ดี ที่ทั้ง 2 ประเทศจะมีการร่วมมือในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป
การจัดโรดโชว์ไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการทำงานเชิงรุก ที่ทีมงานด้านเศรษฐกิจของไทยได้ผนึกกำลังกันในการออกไปหาลู่ทางในการเปิดตลาดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และจะถูกนำไปใช้เป็นโมเดลในการออกไปโรดโชว์ยังประเทศอื่นๆ ต่อไป ซึ่งนายสมคิดได้คาดหวังว่าการเดินหน้าตามแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 3ของรัฐบาล บวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป