xs
xsm
sm
md
lg

ก.พลังงานจ่อเปิดสำรวจปิโตรเลียมฯ ร่นเวลาให้ยื่นเหลือ 60 วัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ก.พลังงานยันไม่ถอนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับเพราะไม่มีอำนาจ เหตุกฤษฎีกาเห็นชอบแล้วเรื่องจ่อเข้า ครม. ก่อนผ่าน สนช.เป็นขั้นตอนตามกฎหมาย หากผ่าน สนช.พร้อมเปิดให้เอกชนยื่นสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบ 21 ได้ทันที และจะร่นเวลาให้ยื่นภายใน 60 วันจากเดิม 120 วัน เหตุล่าช้ามานานและเอกชนพร้อมอยู่แล้ว




นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยระหว่างการเปิดตัวหนังสือ 10 เดือนแห่งการลุยไฟ ว่า ขณะนี้ร่างแก้ไข .ร.บ.ปิโตรเลียมและร่างแก้ไข พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ขณะนี้รอเสนอเข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่การพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นขั้นสุดท้าย หากผ่านตามขั้นตอนนี้กระทรวงฯ ก็พร้อมที่จะเดินหน้าเปิดให้เอกชนยื่นเสนอสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ได้ทันที และครั้งนี้ก็ได้เตรียมเสนอให้ยื่นสิทธิ์สำรวจฯ เพียง 60 วัน จากเดิมที่ยื่นภายใน 120 วันจากวันลงนามในประกาศเพื่อให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

“กระทรวงฯ ต้องทำให้ได้ภายในปีนี้ เพราะนายกฯ เองก็สัญญาว่าจะสรุปใน 3 เดือนแต่ก็รอกฎหมายอยู่ เราเองคงไม่มีสิทธิ์ที่จะไปถอนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนั้นได้เพราะทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมายและต่างก็มีหน้าที่ทำตาม ซึ่งกฤษฎีกาเป็นผู้ตรวจร่างแก้ไขดังกล่าวแล้ว จากนั้นก็ต้องไปสู่กระบวนการตามขั้นตอน ส่วนกระทรวงพลังงานก็มีหน้าที่เช่นกันเราก็ต้องเดินหน้ายกเว้นมีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นอีกเรื่อง ส่วนการเปิดให้สำรวจฯ ที่ให้ยื่นแค่ 60 วันก็เพราะว่าเราช้ามามากแล้ว อีกส่วนหนึ่งเอกชนก็พร้อมอยู่แล้วเขาก็รออยู่” นายณรงค์ชัยกล่าว

สำหรับร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ของกระทรวงพลังงานนั้นยืนยันว่าได้ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชน และตามข้อเท็จจริงกฎหมายเดิมนั้นก็มีข้อดีอยู่แล้ว แต่ที่ต้องแก้ไขก็เพื่อให้เป็นไปตามเสียงเรียกร้องจากประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการปิโตรเลียมด้วยการเพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC จากเดิมกฎหมายกำหนดให้มีเพียงระบบสัมปทานเท่านั้น

นายณรงค์ชัยกล่าวว่า การเปิดให้สำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ไทยรับรู้ถึงแหล่งพลังงานในอนาคตว่าจะมีมากน้อยเพียงใดเพื่อเตรียมวางแผนจัดหาไม่ให้กระทบคนรุ่นต่อไป ซึ่งจะเห็นว่าปัจจุบันถ้าแหล่งผลิตของไทยดีจริงเหตุใดบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกไม่มาสำรวจและผลิตเพิ่มขึ้นยกเว้นเชฟรอนที่คงอยู่เพราะได้สัมปทานมาตั้งแต่เริ่มแรกที่ประเทศเปิดให้สำรวจเท่านั้น ขณะที่เชลล์ก็ขายหมดแล้วเพราะแหล่งน้ำมันที่ลานกระบือหมด เช่นเดียวกับเอสโซ่ที่แหล่งก๊าซน้ำพองหมดเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น