xs
xsm
sm
md
lg

ปตท.ฟุ้ง Q2 มีกำไรรายการพิเศษเพียบ จ่อขายพื้นที่ปลูกปาล์มในอินโดฯ เพิ่ม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ปตท.ชี้ไตรมาส 2/58 มีกำไรจากรายการพิเศษหลายรายการ ทั้งกำไรจากการขายหุ้นบางจาก 27.22% และการขายธุรกิจปาล์มในอินโดนีเซีย แย้มปลายปีนี้ยังมีรายการพิเศษจากการขายหุ้น SPRC ด้วย จับตาทยอยขายพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มอีก 3 แปลงในอินโดนีเซีย จากปัจจุบันขายทิ้งแล้ว 2 แปลง ยันขายขาดทุนไม่มีผลกระทบบริษัทเนื่องจากมีการตั้งสำรองด้อยค่าไปแล้ว

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 นี้บริษัทจะมีกำไรจากรายการพิเศษหลายรายการ คือ กำไรจากการขายหุ้นบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด 27.22% และการขายธุรกิจปาล์มในอินโดนีเซีย ซึ่งจะทยอยขายสินทรัพย์ทั้งหมด จากปัจจุบันขายพื้นที่ปลูกปาล์มไปแล้ว 2 แปลง คงเหลืออีก 3 แปลงที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทยอยขายออกไป

ส่วนปลายปีนี้ ปตท.จะมีกำไรจากรายการพิเศษจากการขายหุ้นบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) ซึ่ง ปตท.ถือหุ้นอยู่ใน SPRC 36% ด้วย คาดว่าจะมีการนำหุ้น SPRC กระจายขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)ในครึ่งปีหลังนี้

ทั้งนี้ ธุรกิจปาล์มในอินโดนีเซีย ทาง ปตท.ได้จำหน่ายเงินลงทุนบริษัท PT Mitra Aneka Rezeki (PT.MAR) ซึ่งลงทุนธุรกิจปาล์มที่อินโดนีเซีย โดย ปตท.ถือหุ้นอยู่ 95% ไปเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยโครงการมีมูลค่าเทียบเท่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ และขณะนี้กำลังดำเนินการทยอยขายพื้นที่ปลูกปาล์มที่เหลืออีก 3 แปลงในอินโดนีเซีย โดย ปตท.มีนโยบายที่จะยกเลิกการลงทุนธุรกิจปาล์มในอินโดนีเซียอีก เนื่องจากธุรกิจการเกษตร ทาง ปตท.ไม่มีความชำนาญและมีข้อจำกัดมากเกี่ยวกับพื้นที่การเพาะปลูกว่าเป็นพื้นที่ป่าหรือไม่ และต้องได้รับใบอนุญาตซึ่งมีความซับซ้อน

ส่วนการขายธุรกิจปาล์มในอินโดนีเซียจะขาดทุนมากน้อยเพียงใดคงต้องรอให้มีการขายธุรกิจทั้งหมดก่อน ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจปาล์มที่อินโดนีเซียได้มีการตั้งสำรองด้อยค่าธุรกิจนี้ไว้เป็นจำนวน 2.8 พันล้านบาท ดังนั้น ต่อให้ขายธุรกิจดังกล่าวแล้วขาดทุนก็ไม่ส่งผลกระทบต่อ ปตท. อย่างไรก็ตาม ปตท.ยังมีธุรกิจเหมืองถ่านหินและธุรกิจน้ำมันอยู่ในอินโดนีเซียอยู่

ส่วนกรณีที่กระทรวงพลังงานและกระทรวงไฟฟ้าของพม่าได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) 2 ฉบับเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในส่วนของความร่วมมือด้านพลังงานปิโตรเลียม และด้านพลังงานไฟฟ้านั้น นายไพรินทร์กล่าวว่า จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างคลังก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (FSRU) ซึ่งจะเป็นเรือ LNG ลอยลำใช้เป็นคลังเก็บ LNG ขนาด 3 ล้านตัน/ปี ซึ่งล่าสุด ปตท.อยู่ระหว่างการเลือกสถานที่ก่อสร้างระหว่างทวาย หรือคันบวก (Kanbauk) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีท่อก๊าซฯ จากแหล่งยาดานาและเยตากุนขึ้นฝั่ง โดยหากเลือกสถานที่ก่อสร้างได้ก็จะดำเนินโครงการได้ทันที

นายไพรินทร์กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพลังงานสนับสนุนให้มีการเก็บภาษีสรรพสามิตก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคขนส่งเพิ่มขึ้นว่าเห็นด้วย เนื่องจากผู้ใช้ถนนก็ควรต้องเสียภาษีที่เท่าเทียมกัน หากผู้ใช้แอลพีจีภาคขนส่งไม่เสียภาษีก็ดูจะขัดแย้งในหลักการ ส่วนจะจัดเก็บภาษีเท่าไร อย่างไรนั้นเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง ปตท.ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว

ในแต่ละปีกระทรวงคมนาคมต้องใช้เงินจำนวนเป็นหมื่นล้านบาทในการสร้างถนนและซ่อมบำรุงถนนหนทางที่เสียหาย

วันนี้ (16 มิ.ย.) นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสิน การประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2557-2558 เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด โดยมีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 249 ผลงาน มีผลงานที่ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 43 ผลงาน แบ่งเป็นประเภทการปลูกและส่งเสริมการปลูก 17 รางวัล ประเภทผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก รวม 26 รางวัล ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งสองประเภท 19 ผลงาน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโล่รางวัล และอีก 24 ผลงานได้รับโล่เกียรติคุณจากองค์กรร่วมจัดการประกวด
กำลังโหลดความคิดเห็น