ไทยรัฐทีวีทุ่ม 1,500 ล้านบาทลุยปี 58 หลังพบเอเยนซีตบเท้าให้การยอมรับมากขึ้น ผู้ผลิตจ่อคิวร่วมไทม์แชริ่งจากเดิมจ้างผลิต ส่งขึ้นแท่นท็อป 5 กลุ่มฟรีทีวีดิจิตอล ล่าสุดชู “ครอสมีเดีย” กลยุทธ์หลักสร้างรายได้ มั่นใจทะลุ 1,500 ล้านบาท
นางสาวจิตสุภา วัชรพล เจ้าหน้าที่บริหารสายงานกลยุทธ์และการตลาด บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี เปิดเผยว่า ช่องไทยรัฐทีวีออกอากาศมาได้กว่า 5 เดือนนับจากวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ถึงสิ้นปีนี้มั่นใจว่าจะมีรายได้ 500 ล้านบาทตามแผนที่วางไว้ โดยในช่วงหลังนี้พบว่าเอเยนซีให้การตอบรับมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าไดเรกต์ที่เป็นรายใหญ่ในตลาดทั้งกลุ่มรถยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค
ส่วนสำคัญมาจากการที่ช่องไทยรัฐทีวีมีความแข็งแกร่งทางด้านคอนเทนต์ข่าว จนส่งผลให้ขึ้นเป็นผู้นำในกลุ่มช่องวาไรตี เอชดี และเป็นท็อปไฟว์ในกลุ่มฟรีทีวีดิจิตอล โดยในแง่เรตติ้งช่องแล้วพบว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 15% นับตั้งแต่การออกอากาศ ส่วนในแง่การเข้าถึงผู้ชมนั้น เฉลี่ยมีมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มฟรีทีวีดิจิตอลด้วยกัน
“ส่วนสำคัญของรายได้ 500 ล้านบาท มาจากสปอนเซอร์หลัก 5 ราย คือ เอไอเอส, ธนาคารกรุงเทพ, ยูนิลีเวอร์, อีซูซุ และเทสโก้โลตัส ที่ร่วมมือกับทางไทยรัฐทีวีตั้งแต่ยังไม่ได้ออกอากาศ โดยรายได้จากสปอนเซอร์มีสูงถึง 50% ของรายได้รวมในปีนี้ ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ให้ความมั่นใจในช่องไทยรัฐทีวี บวกกับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าไดเรกต์ที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญทิศทางของผู้ผลิตคอนเทนต์จากเดิมจะเป็นลักษณะจ้างผลิต ขณะนี้สนใจร่วมงานกันในแบบไทม์แชริ่งมากขึ้นอีก 3-4 ราย จากเดิมมีเพียง 2 ราย จึงมั่นใจว่าไทยรัฐทีวีจะเป็นช่องทีวีดิจิตอลรายต้นๆ ที่พร้อมก้าวต่อไปในธุรกิจทีวีดิจิตอลได้อย่างแข็งแกร่ง"
นางสาวจิตสุภากล่าวต่อว่า จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ปี 2558 บริษัทพร้อมใช้งบอีกกว่า 1,500 ล้านบาทในการลงทุนและพัฒนาช่องไทยรัฐทีวีอย่างต่อเนื่อง คือ 1. ก่อสร้างอาคาร Broadcasting Complex 13 ชั้นแห่งใหม่ในรั้วไทยรัฐ มูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาท เพื่อเป็นห้องส่งระบบ Virtual Studio ห้องปฏิบัติการการออกอากาศระบบ Robotic และการใช้ระบบ Media Asset Management ที่ทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตรายการอินเฮาส์ และสร้างรายการที่เป็นซิกเนเจอร์ของไทยรัฐทีวี
2. ลงทุนด้านคอนเทนต์อีก 1,200 ล้านบาท เพิ่มจากปีแรกที่ใช้เพียง 1,000 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ยนี้ จะมีการปรับผังรายการบางส่วน และในต้นปีหน้าจะปรับผังใหม่อีกครั้ง พร้อมนำเสนอคอนเทนต์ใหม่ๆ โดยยังคงสัดส่วนรายการข่าวและสาระที่ 50% รายการวาไรตีบันเทิง 50% 3. งบการตลาดและการขายอีก 120 ล้านบาทเท่าในปีแรก ภายใต้กลยุทธ์การขายแบบครอสมีเดีย โดยการนำเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าเป็นกรณีไป ในการรวมทุกสื่อของกลุ่มไทยรัฐเข้าด้วยกัน คือ สิ่งพิมพ์ ออนไลน์ และทีวี ถือเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันในปีหน้า จากปัจจุบันราคาโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 200,000 บาทต่อนาที
ในแง่ของฐานผู้ชม ปัจจุบันไทยรัฐทีวีมีรายการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย แต่ในปีหน้าจะเพิ่มในส่วนวาไรตีบันเทิง เพื่อเพิ่มฐานผู้ชมอายุ 15-30 ปีให้มากขึ้น พร้อมให้ความแข็งแกร่งทางด้านคอนเทนต์ข่าว ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของช่องไทยรัฐทีวี โดยจะมีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ที่สำคัญจะให้ความสำคัญในส่วนของช่องทางการรับชมใหม่ๆ โดยปีหน้าจะมีการเปิดตัวแอปพลิเคชันคู่กับการรับชมไทยรัฐทีวีด้วย ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มวาไรตีเอชดี และท็อปไฟว์กลุ่มฟรีทีวีดิจิตอลให้ได้ ด้วยรายได้ที่มั่นใจว่าจะทำได้ถึง 1,500 ล้านบาท จากเป้าเดิมที่วางไว้ 1,200 ล้านบาท และเชื่อว่าจะยังคงคุ้มทุนได้ใน 7 ปี
นางสาวจิตสุภา วัชรพล เจ้าหน้าที่บริหารสายงานกลยุทธ์และการตลาด บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี เปิดเผยว่า ช่องไทยรัฐทีวีออกอากาศมาได้กว่า 5 เดือนนับจากวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ถึงสิ้นปีนี้มั่นใจว่าจะมีรายได้ 500 ล้านบาทตามแผนที่วางไว้ โดยในช่วงหลังนี้พบว่าเอเยนซีให้การตอบรับมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าไดเรกต์ที่เป็นรายใหญ่ในตลาดทั้งกลุ่มรถยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค
ส่วนสำคัญมาจากการที่ช่องไทยรัฐทีวีมีความแข็งแกร่งทางด้านคอนเทนต์ข่าว จนส่งผลให้ขึ้นเป็นผู้นำในกลุ่มช่องวาไรตี เอชดี และเป็นท็อปไฟว์ในกลุ่มฟรีทีวีดิจิตอล โดยในแง่เรตติ้งช่องแล้วพบว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 15% นับตั้งแต่การออกอากาศ ส่วนในแง่การเข้าถึงผู้ชมนั้น เฉลี่ยมีมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มฟรีทีวีดิจิตอลด้วยกัน
“ส่วนสำคัญของรายได้ 500 ล้านบาท มาจากสปอนเซอร์หลัก 5 ราย คือ เอไอเอส, ธนาคารกรุงเทพ, ยูนิลีเวอร์, อีซูซุ และเทสโก้โลตัส ที่ร่วมมือกับทางไทยรัฐทีวีตั้งแต่ยังไม่ได้ออกอากาศ โดยรายได้จากสปอนเซอร์มีสูงถึง 50% ของรายได้รวมในปีนี้ ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ให้ความมั่นใจในช่องไทยรัฐทีวี บวกกับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าไดเรกต์ที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญทิศทางของผู้ผลิตคอนเทนต์จากเดิมจะเป็นลักษณะจ้างผลิต ขณะนี้สนใจร่วมงานกันในแบบไทม์แชริ่งมากขึ้นอีก 3-4 ราย จากเดิมมีเพียง 2 ราย จึงมั่นใจว่าไทยรัฐทีวีจะเป็นช่องทีวีดิจิตอลรายต้นๆ ที่พร้อมก้าวต่อไปในธุรกิจทีวีดิจิตอลได้อย่างแข็งแกร่ง"
นางสาวจิตสุภากล่าวต่อว่า จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ปี 2558 บริษัทพร้อมใช้งบอีกกว่า 1,500 ล้านบาทในการลงทุนและพัฒนาช่องไทยรัฐทีวีอย่างต่อเนื่อง คือ 1. ก่อสร้างอาคาร Broadcasting Complex 13 ชั้นแห่งใหม่ในรั้วไทยรัฐ มูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาท เพื่อเป็นห้องส่งระบบ Virtual Studio ห้องปฏิบัติการการออกอากาศระบบ Robotic และการใช้ระบบ Media Asset Management ที่ทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตรายการอินเฮาส์ และสร้างรายการที่เป็นซิกเนเจอร์ของไทยรัฐทีวี
2. ลงทุนด้านคอนเทนต์อีก 1,200 ล้านบาท เพิ่มจากปีแรกที่ใช้เพียง 1,000 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ยนี้ จะมีการปรับผังรายการบางส่วน และในต้นปีหน้าจะปรับผังใหม่อีกครั้ง พร้อมนำเสนอคอนเทนต์ใหม่ๆ โดยยังคงสัดส่วนรายการข่าวและสาระที่ 50% รายการวาไรตีบันเทิง 50% 3. งบการตลาดและการขายอีก 120 ล้านบาทเท่าในปีแรก ภายใต้กลยุทธ์การขายแบบครอสมีเดีย โดยการนำเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าเป็นกรณีไป ในการรวมทุกสื่อของกลุ่มไทยรัฐเข้าด้วยกัน คือ สิ่งพิมพ์ ออนไลน์ และทีวี ถือเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันในปีหน้า จากปัจจุบันราคาโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 200,000 บาทต่อนาที
ในแง่ของฐานผู้ชม ปัจจุบันไทยรัฐทีวีมีรายการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย แต่ในปีหน้าจะเพิ่มในส่วนวาไรตีบันเทิง เพื่อเพิ่มฐานผู้ชมอายุ 15-30 ปีให้มากขึ้น พร้อมให้ความแข็งแกร่งทางด้านคอนเทนต์ข่าว ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของช่องไทยรัฐทีวี โดยจะมีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ที่สำคัญจะให้ความสำคัญในส่วนของช่องทางการรับชมใหม่ๆ โดยปีหน้าจะมีการเปิดตัวแอปพลิเคชันคู่กับการรับชมไทยรัฐทีวีด้วย ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มวาไรตีเอชดี และท็อปไฟว์กลุ่มฟรีทีวีดิจิตอลให้ได้ ด้วยรายได้ที่มั่นใจว่าจะทำได้ถึง 1,500 ล้านบาท จากเป้าเดิมที่วางไว้ 1,200 ล้านบาท และเชื่อว่าจะยังคงคุ้มทุนได้ใน 7 ปี