ภัตตาคาร “เชียงการีลา” ทุ่ม 10 ล้านบาทผุดแบรนด์ “เชียงการีลา โกลด์” เจาะชานเมือง รุกสร้างฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ หลังพบปีนี้สถานการณ์แย่ยิ่งกว่าต้มยำกุ้ง ลูกค้าไม่สะดวกมาร้าน พร้อมเล็งขยายแบรนด์ “มิรากุ” ปิ้งย่างสไตล์เกาหลีอีกแบรนด์ เหตุถูกรสนิยมคนไทย หวังทั้งปีมีรายได้ 40-45 ล้านบาท จากปกติโต 5% ทุกปี
นายบัญชา พจชมานะวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัตตาคารแกรนด์เชียงการีลา จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดภัตตาคารครึ่งปีแรกไม่ค่อยดี แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในครึ่งปีหลังเพราะมีการเลี้ยงสังสรรค์มากขึ้นทำให้ภัตตาคารต่างๆ เริ่มมีการจัดโปรโมชันส่งเสริมการขาย ในส่วนของเชียงการีลาเป็นไปตามสภาพตลาดเนื่องจากครึ่งปีแรกผู้บริโภคไม่ค่อยออกมาใช้เงิน มีการปิดถนนเนื่องจากมีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองคนเดินทางมาร้านลำบาก แต่หลังเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ามาดูแลประเทศ
“ปีนี้ถือเป็นปีที่หนักกว่าทุกปี ยิ่งกว่ายุคต้มยำกุ้ง เพราะคนไม่เข้ามาร้าน ขณะที่ยุคต้มยำกุ้งยังขายได้เป็นปกติ เนื่องจากธุรกิจร้านอาหารไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ มากนัก โดยครึ่งปีแรกคนยังออกมาใช้เงินไม่มาก แต่คาดว่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง”
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบในส่วนของกลุ่มลูกค้าต่างชาติมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวหายไปกว่า 60-70% แต่ปัจจุบันเริ่มกลับมาแล้ว 30% โดยเฉพาะกลุ่มคนยุโรปและญี่ปุ่น ขณะที่ลูกค้าจีนยังเข้ามาใช้บริการต่อเนื่องจากกรุ๊ปทัวร์ โดยบริษัทมีการปรับแผนรับมือมาโดยตลอด มีการจัดร้านนอกสถานที่มากขึ้น ส่วนครึ่งปีหลังจะเน้นจัดแคมเปญเทศกาลอาหาร รวมถึงโปรโมชั่นส่งเสริมการขายและกลุ่มจัดเลี้ยงรับรองให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มแบรนด์ร้านอาหารขึ้นมาอีกแบรนด์คือ ภัตตาคาร “เชียงการีลา โกลด์” ที่สาขาธัญญะพาร์ค ถนนศรีนครินทร์
สำหรับแผนการเปิดแบรนด์ใหม่ครั้งนี้เพื่อต้องการเข้าถึงลูกค้าที่อยู่ชานเมืองและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ใช้งบกว่า 10 ล้านบาท พื้นที่ 230 ตารางเมตร ให้บริการอาหารจีนเป็นหลัก รวมถึงเมนูอาหารไทยเล็กน้อย ราคาอาหารสูงกว่าปกติ 5-10% ภายใต้การตกแต่งที่ดูทันสมัย เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี และทางบริษัทจะใช้แบรนด์ “เชียงการีลา โกลด์” สร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ในอนาคต โดยพื้นที่ต่อไปที่น่าลงทุนคือ ย่านถนนพระราม 2 เป็นต้น
ปัจจุบัน “เชียงการีลา” มีจำนวนร้านอาหารทั้งสิ้น 6 สาขา แบ่งเป็นภัตตาคาร “เชียงการีลา” 3 สาขา คือ ธนิยะพลาซ่า สีลม และเยาวราช, ร้าน “มิราม่า” ร้านอาหารแบบฮอตพอต 1 สาขาที่สีลมพลาซ่า ร้าน “มิรากุ” ร้านอาหารสไตล์ปิ้งย่างเกาหลี 1 สาขาที่ธนิยะพลาซ่า และ “เชียงการีลา คิตเช่น” 1 สาขา จำหน่ายอาหารจานด่วน ทั้งนี้ ในส่วนร้าน “มิรากุ” เป็นอีกแบรนด์ที่เตรียมขยายสาขาในอนาคต เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่คนไทยชื่นชอบสไตล์ปิ้งย่าง โดยจะเน้นแบบสแตนด์อะโลนเป็นหลัก
นายบัญชา กล่าวต่อว่า นอกจากแผนขยายแบรนด์แล้ว ยังจะให้ความสำคัญในส่วนของผลิตภัณฑ์ขนมไหว้พระจันทร์มากขึ้น โดยปีนี้มีวางจำหน่ายทั้งหมด 21 รายการ พร้อมแพกเกจจิ้งที่สวย สะดุดตา เหมาะแก่การมอบเป็นของขวัญของฝาก เชื่อว่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพรวมรายได้ปีนี้จะทำได้ 40-45 ล้านบาท จากปกติโตขึ้นปีละ 5% และปีก่อนมีรายได้รวม 50-60 ล้านบาท
ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ปีนี้น่าจะมียอดขายโตขึ้น 3% ตามทิศทางของตลาดที่มีมูลค่า 30 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3% โดยมีผู้นำตลาดคือ S&P มีส่วนแบ่งตลาด 60-70% เพราะจำหน่ายทั่วประเทศ และอันดับสองคือ เชียงการีลา จำหน่ายเฉพาะกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่
นายบัญชา พจชมานะวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัตตาคารแกรนด์เชียงการีลา จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดภัตตาคารครึ่งปีแรกไม่ค่อยดี แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในครึ่งปีหลังเพราะมีการเลี้ยงสังสรรค์มากขึ้นทำให้ภัตตาคารต่างๆ เริ่มมีการจัดโปรโมชันส่งเสริมการขาย ในส่วนของเชียงการีลาเป็นไปตามสภาพตลาดเนื่องจากครึ่งปีแรกผู้บริโภคไม่ค่อยออกมาใช้เงิน มีการปิดถนนเนื่องจากมีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองคนเดินทางมาร้านลำบาก แต่หลังเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ามาดูแลประเทศ
“ปีนี้ถือเป็นปีที่หนักกว่าทุกปี ยิ่งกว่ายุคต้มยำกุ้ง เพราะคนไม่เข้ามาร้าน ขณะที่ยุคต้มยำกุ้งยังขายได้เป็นปกติ เนื่องจากธุรกิจร้านอาหารไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ มากนัก โดยครึ่งปีแรกคนยังออกมาใช้เงินไม่มาก แต่คาดว่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง”
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบในส่วนของกลุ่มลูกค้าต่างชาติมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวหายไปกว่า 60-70% แต่ปัจจุบันเริ่มกลับมาแล้ว 30% โดยเฉพาะกลุ่มคนยุโรปและญี่ปุ่น ขณะที่ลูกค้าจีนยังเข้ามาใช้บริการต่อเนื่องจากกรุ๊ปทัวร์ โดยบริษัทมีการปรับแผนรับมือมาโดยตลอด มีการจัดร้านนอกสถานที่มากขึ้น ส่วนครึ่งปีหลังจะเน้นจัดแคมเปญเทศกาลอาหาร รวมถึงโปรโมชั่นส่งเสริมการขายและกลุ่มจัดเลี้ยงรับรองให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มแบรนด์ร้านอาหารขึ้นมาอีกแบรนด์คือ ภัตตาคาร “เชียงการีลา โกลด์” ที่สาขาธัญญะพาร์ค ถนนศรีนครินทร์
สำหรับแผนการเปิดแบรนด์ใหม่ครั้งนี้เพื่อต้องการเข้าถึงลูกค้าที่อยู่ชานเมืองและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ใช้งบกว่า 10 ล้านบาท พื้นที่ 230 ตารางเมตร ให้บริการอาหารจีนเป็นหลัก รวมถึงเมนูอาหารไทยเล็กน้อย ราคาอาหารสูงกว่าปกติ 5-10% ภายใต้การตกแต่งที่ดูทันสมัย เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี และทางบริษัทจะใช้แบรนด์ “เชียงการีลา โกลด์” สร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ในอนาคต โดยพื้นที่ต่อไปที่น่าลงทุนคือ ย่านถนนพระราม 2 เป็นต้น
ปัจจุบัน “เชียงการีลา” มีจำนวนร้านอาหารทั้งสิ้น 6 สาขา แบ่งเป็นภัตตาคาร “เชียงการีลา” 3 สาขา คือ ธนิยะพลาซ่า สีลม และเยาวราช, ร้าน “มิราม่า” ร้านอาหารแบบฮอตพอต 1 สาขาที่สีลมพลาซ่า ร้าน “มิรากุ” ร้านอาหารสไตล์ปิ้งย่างเกาหลี 1 สาขาที่ธนิยะพลาซ่า และ “เชียงการีลา คิตเช่น” 1 สาขา จำหน่ายอาหารจานด่วน ทั้งนี้ ในส่วนร้าน “มิรากุ” เป็นอีกแบรนด์ที่เตรียมขยายสาขาในอนาคต เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่คนไทยชื่นชอบสไตล์ปิ้งย่าง โดยจะเน้นแบบสแตนด์อะโลนเป็นหลัก
นายบัญชา กล่าวต่อว่า นอกจากแผนขยายแบรนด์แล้ว ยังจะให้ความสำคัญในส่วนของผลิตภัณฑ์ขนมไหว้พระจันทร์มากขึ้น โดยปีนี้มีวางจำหน่ายทั้งหมด 21 รายการ พร้อมแพกเกจจิ้งที่สวย สะดุดตา เหมาะแก่การมอบเป็นของขวัญของฝาก เชื่อว่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพรวมรายได้ปีนี้จะทำได้ 40-45 ล้านบาท จากปกติโตขึ้นปีละ 5% และปีก่อนมีรายได้รวม 50-60 ล้านบาท
ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ปีนี้น่าจะมียอดขายโตขึ้น 3% ตามทิศทางของตลาดที่มีมูลค่า 30 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3% โดยมีผู้นำตลาดคือ S&P มีส่วนแบ่งตลาด 60-70% เพราะจำหน่ายทั่วประเทศ และอันดับสองคือ เชียงการีลา จำหน่ายเฉพาะกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่