“พงษ์ศักดิ์” รับเป็นห่วงก๊าซ JDA หยุดจ่ายจากการซ่อมท่อระหว่าง 13 มิ.ย.-10 ก.ค.นี้ หากไม่รัดกุมอาจกระทบไฟดับภาคใต้ซ้ำได้ จี้ทุกฝ่ายเกาะติดใกล้ชิดเร่งเอกชนให้ช่วยลดใช้ไฟ ระวังสายส่งจ่ายมากไปอาจดับได้ ขณะที่ ส.อ.ท.ประสานธุรกิจพื้นที่ลดพีก รับล่าสุดได้แค่ 210 เมกะวัตต์จากเป้า 250 เมกะวัตต์
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มีความเป็นห่วงการหยุดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเจดีเอ (JDA) ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน-10 กรกฎาคมนี้ รวม 28 วัน ซึ่งอาจทำให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้มีปัญหาได้ ซึ่งได้กำชับทุกส่วนให้เตรียมแผนรับมืออย่างรัดกุมโดยเฉพาะขอความร่วมมือจากเอกชน สถาบันการศึกษาช่วยสลับลดการใช้ไฟเพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ในช่วงที่ท่อฯ หยุดซ่อม
“แม้ว่าจะมีประกาศกฎอัยการศึกภารกิจของกระทรวงพลังงานก็เป็นไปตามปกติ โดยเฉพาะการหยุดซ่อมท่อเจดีเอหากสำรองไฟไม่พอการดับไฟบางพื้นที่ต้องเป็นมาตรการสุดท้ายจริงๆ ซึ่งยอมรับว่าท่อที่ซ่อมทำให้ก๊าซหายไป 420 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันกระทบโรงไฟฟ้าจะนะ สงขลาต้องหยุดเดินเครื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งต้องส่งไฟจากภาคกลางลงไปช่วยอยู่แล้ว แต่ถ้าส่งมากเกินอัตราก็เกรงว่าไฟฟ้าอาจจะดับครั้งใหญ่เช่นที่เคยเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด” รมว.พลังงานกล่าว
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว่วา กรณีท่อเจดีเอหยุดซ่อม 28 วันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) ได้ขอความร่วมมือให้ ส.อ.ท.ลดการใช้ไฟฟ้าช่วงพีกระหว่าง 12.00-14.30 น. และ 18.30-22.30 น. โดยล่าสุด ส.อ.ท.ได้ประสานไปยัง ส.อ.ท.ภาคใต้ที่จะช่วยกันสลับการลดใช้ไฟ โดยธุรกิจที่จะร่วมมือหลักๆ จะอยู่ที่ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งมีผู้ประกอบการใช้ไฟค่อนข้างสูง โดยประเมินว่าจะลดใช้ไฟได้ 210 เมกะวัตต์
“ยอมรับว่าเป้าหมายจริงๆ อยากจะให้ลดใช้ไฟได้อย่างน้อย 250 เมกะวัตต์เพื่อความปลอดภัยมากขึ้นซึ่งได้เพียง 210 เมกะวัตต์ยอมรับว่าอาจจะตึงๆ ไปนิดหนึ่งจึงต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมลดใช้ไฟมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ประสานไปเป็นอาหาร ยาง โรงเลื่อย ไม้อัดไม้บาง โรงแรม สถาบันการศึกษา โดยจะเดินสายลงไปทำงานร่วมกับพื้นที่ช่วงสิ้นเดือนนี้ และระหว่าง 9-12 มิ.ย.ก็จะมีการซ้อมและประเมินก่อนที่ท่อจะหยุดซ่อมจริงอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้เอกชนจะยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐแต่แนวทางดังกล่าวก็คิดว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเชื่อว่าการซ่อมท่อก๊าซฯ จะยังคงเกิดขึ้นอีกต่อเนื่อง ดังนั้นระยะยาวการสร้างโรงไฟฟ้าภาคใต้มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้นก็จะเจอปัญหาเช่นนี้ซ้ำอีก
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มีความเป็นห่วงการหยุดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเจดีเอ (JDA) ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน-10 กรกฎาคมนี้ รวม 28 วัน ซึ่งอาจทำให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้มีปัญหาได้ ซึ่งได้กำชับทุกส่วนให้เตรียมแผนรับมืออย่างรัดกุมโดยเฉพาะขอความร่วมมือจากเอกชน สถาบันการศึกษาช่วยสลับลดการใช้ไฟเพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ในช่วงที่ท่อฯ หยุดซ่อม
“แม้ว่าจะมีประกาศกฎอัยการศึกภารกิจของกระทรวงพลังงานก็เป็นไปตามปกติ โดยเฉพาะการหยุดซ่อมท่อเจดีเอหากสำรองไฟไม่พอการดับไฟบางพื้นที่ต้องเป็นมาตรการสุดท้ายจริงๆ ซึ่งยอมรับว่าท่อที่ซ่อมทำให้ก๊าซหายไป 420 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันกระทบโรงไฟฟ้าจะนะ สงขลาต้องหยุดเดินเครื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งต้องส่งไฟจากภาคกลางลงไปช่วยอยู่แล้ว แต่ถ้าส่งมากเกินอัตราก็เกรงว่าไฟฟ้าอาจจะดับครั้งใหญ่เช่นที่เคยเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด” รมว.พลังงานกล่าว
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว่วา กรณีท่อเจดีเอหยุดซ่อม 28 วันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) ได้ขอความร่วมมือให้ ส.อ.ท.ลดการใช้ไฟฟ้าช่วงพีกระหว่าง 12.00-14.30 น. และ 18.30-22.30 น. โดยล่าสุด ส.อ.ท.ได้ประสานไปยัง ส.อ.ท.ภาคใต้ที่จะช่วยกันสลับการลดใช้ไฟ โดยธุรกิจที่จะร่วมมือหลักๆ จะอยู่ที่ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งมีผู้ประกอบการใช้ไฟค่อนข้างสูง โดยประเมินว่าจะลดใช้ไฟได้ 210 เมกะวัตต์
“ยอมรับว่าเป้าหมายจริงๆ อยากจะให้ลดใช้ไฟได้อย่างน้อย 250 เมกะวัตต์เพื่อความปลอดภัยมากขึ้นซึ่งได้เพียง 210 เมกะวัตต์ยอมรับว่าอาจจะตึงๆ ไปนิดหนึ่งจึงต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมลดใช้ไฟมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ประสานไปเป็นอาหาร ยาง โรงเลื่อย ไม้อัดไม้บาง โรงแรม สถาบันการศึกษา โดยจะเดินสายลงไปทำงานร่วมกับพื้นที่ช่วงสิ้นเดือนนี้ และระหว่าง 9-12 มิ.ย.ก็จะมีการซ้อมและประเมินก่อนที่ท่อจะหยุดซ่อมจริงอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้เอกชนจะยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐแต่แนวทางดังกล่าวก็คิดว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเชื่อว่าการซ่อมท่อก๊าซฯ จะยังคงเกิดขึ้นอีกต่อเนื่อง ดังนั้นระยะยาวการสร้างโรงไฟฟ้าภาคใต้มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้นก็จะเจอปัญหาเช่นนี้ซ้ำอีก