สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยดิ้นหนีการปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่มเพิ่ม หลังตกเป็นจำเลยทำให้เกิดโรคอ้วนในสังคมไทย เชื่อการปรับขึ้นภาษีไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ควรหันหน้าเข้าหากันร่วมกันหาทางออก
นายประจวบ ตยาคีพิสุทธิ์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร และโฆษกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระแสสังคมกำลังมีการกล่าวถึงภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในสังคมไทย และเพ่งเล็งมาที่เครื่องดื่มให้ความหวาน โดยเฉพาะน้ำอัดลมที่กลายเป็นสาเหตุหลักของปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนจนอาจจะส่งผลให้มีการพิจารณาปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่ม โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้บริโภคดื่มลดลง และทำให้ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลดลงตามไปด้วยนั้น
มองว่าไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องคือต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค เพราะปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่สมดุลของผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมแต่เพียงอย่างเดียว
ด้าน นายนันวัต ธรรมหทัย กรรมการบริหาร และเลขานุการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวต่อว่า ทางสมาคมฯ จึงต้องการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยและควรมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยทางสมาคมฯ ต้องการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
โดยเชื่อว่าวิธีการแก้ปัญหาจากการปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่ม จากปัจจุบันอยู่ที่ 22% แล้วนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผลลัพธ์ที่จะตามมาอาจจะมี 2 ข้อหลักคือ 1.ผู้บริโภคหันไปดื่มเครื่องดื่ม หรืออาหารประเภทอื่นที่มีน้ำตาลแทน รายได้ภาษีจากเครื่องดื่มที่มองว่าจะทำได้มากขึ้นอาจจะไม่เป็นไปตามที่วางไว้ 2.ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนไม่ได้ลดลงและอาจจะมีมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการปรับภาษีขึ้นแล้ว ภาพรวมของเครื่องดื่มน้ำอัดลมจะมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกออกมามากขึ้น ขณะที่ภาษีในการจัดเก็บอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อทดแทนรายได้จากเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่จะหายไป เนื่องจากไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้
นายประจวบ ตยาคีพิสุทธิ์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร และโฆษกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระแสสังคมกำลังมีการกล่าวถึงภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในสังคมไทย และเพ่งเล็งมาที่เครื่องดื่มให้ความหวาน โดยเฉพาะน้ำอัดลมที่กลายเป็นสาเหตุหลักของปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนจนอาจจะส่งผลให้มีการพิจารณาปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่ม โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้บริโภคดื่มลดลง และทำให้ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลดลงตามไปด้วยนั้น
มองว่าไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องคือต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค เพราะปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่สมดุลของผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมแต่เพียงอย่างเดียว
ด้าน นายนันวัต ธรรมหทัย กรรมการบริหาร และเลขานุการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวต่อว่า ทางสมาคมฯ จึงต้องการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยและควรมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยทางสมาคมฯ ต้องการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
โดยเชื่อว่าวิธีการแก้ปัญหาจากการปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่ม จากปัจจุบันอยู่ที่ 22% แล้วนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผลลัพธ์ที่จะตามมาอาจจะมี 2 ข้อหลักคือ 1.ผู้บริโภคหันไปดื่มเครื่องดื่ม หรืออาหารประเภทอื่นที่มีน้ำตาลแทน รายได้ภาษีจากเครื่องดื่มที่มองว่าจะทำได้มากขึ้นอาจจะไม่เป็นไปตามที่วางไว้ 2.ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนไม่ได้ลดลงและอาจจะมีมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการปรับภาษีขึ้นแล้ว ภาพรวมของเครื่องดื่มน้ำอัดลมจะมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกออกมามากขึ้น ขณะที่ภาษีในการจัดเก็บอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อทดแทนรายได้จากเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่จะหายไป เนื่องจากไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้