นักวิชาการซัดระบบภาษีเครื่องดื่ม เอื้อคนไทยกินหวาน เหตุน้ำอัดลม ชาเขียว เก็บภาษีน้อย พวกมีคาเฟอีนถึงขั้นฟรีภาษี ขณะที่เครื่องดื่มสุขภาพอย่างนม น้ำผลไม้ เก็บแพงกว่า ราคาโหดกว่าหลายเท่า หนุนขึ้นภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาล รัฐได้เงิน คนไทยได้สุขภาพ
วันนี้ (5 พ.ย.) นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวว่า การแก้จัดการวิกฤตโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการทางภาษีและราคาสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็น 1 ใน 6 มาตรการที่มีประสิทธิผลและมีความคุ้มค่า ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ให้ความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้ ตนขอสนับสนุนแนวทางของกระทรวงการคลังในการขึ้นภาษีเครื่องดื่ม ซึ่งควรทิศทางนโยบายภาษีควรกำหนดให้ตอบสนองทั้งเป้าหมายทางภาษีและประชาชนต้องมีสุขภาพดีขึ้น เช่น กำหนดอัตราภาษีให้สอดคล้องกับระดับน้ำตาล มีความครอบคลุมและเสมอภาคกับเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะประเภทชาเขียวเท่านั้น นอกจากนี้ ในอนาคตยังอาจดำเนินงานควบคู่ไปกับ มาตรการทางราคาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากขึ้น
ด้าน ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยครึ่งหนึ่งมาจากเครื่องดื่มรสหวาน ซึ่งคนไทยโดยเฉลี่ยดื่มเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว มากกว่านมหลายเท่า ส่วนหนึ่งมาจากราคาขายนั้นถูกกว่าเครื่องดื่มที่เราควรส่งเสริม เช่น นม น้ำผลไม้ ทั้งนี้ หลายคนยังมีทัศนคติว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ แต่ชาเขียวที่ขายกันในท้องตลาดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักมากถึง 15 ช้อนชาต่อขวด สูงไม่ต่างจากน้ำอัดลม ข้อมูลทางวิชาการยืนยันได้ว่า การขึ้นภาษีเครื่องดื่มรสหวานจะส่งผลให้คนบริโภคน้ำตาลน้อยลง เกิดผลดีต่อสุขภาพตามมา โดยเฉพาะโรคเบาหวาน
น.ส.สิรินทร์ยา พูลเกิด ผู้จัดการแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP) กล่าวว่า ภาษีเครื่องดื่มรวมถึงภาษีชาเขียวไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย แต่ระบบภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มในปัจจุบัน ไม่ได้สอดคล้องกับการจัดการปัญหาสุขภาพ โดยเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มที่ไม่เติมถึง 25% เช่นเดียวกับเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนก็ได้รับการยกเว้นภาษี อีกทั้งยังไม่มีการปรับอัตราภาษีมานาน ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงการคลังยกเครื่องระบบภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่ม โดยพิจารณาจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาเขียวที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป หากมีขนาดประมาณ 380 มิลลิลิตร ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 15 บาท แต่นมกล่องทั่วไปขนาด 225 มิลลิลิตร ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 12-13 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณต่อราคาแล้ว ถือว่านมมีราคาแพงกว่าชาเขียว ขณะที่ร้านค้าประเภทโมเดิร์นเทรด นมยี่ห้อหนึ่งขนาด 1 แพ็กจำนวน 6 กล่อง ปริมาณกล่องละ 250 มิลลิลิตร ราคา 65.50 บาท ตกกล่องละประมาณ 10.8 บาท ส่วนชาเขียวยี่ห้อหนึ่งขนาด 1 แพ็ก จำนวน 4 กล่อง ปริมาณกล่องละ 250 มิลลิลิตร ราคา 28 บาท ตกกล่องละ 7 บาท ก็เห็นได้ชัดเจนว่าราคาชาเขียวแพงกว่านม
วันนี้ (5 พ.ย.) นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวว่า การแก้จัดการวิกฤตโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการทางภาษีและราคาสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็น 1 ใน 6 มาตรการที่มีประสิทธิผลและมีความคุ้มค่า ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ให้ความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้ ตนขอสนับสนุนแนวทางของกระทรวงการคลังในการขึ้นภาษีเครื่องดื่ม ซึ่งควรทิศทางนโยบายภาษีควรกำหนดให้ตอบสนองทั้งเป้าหมายทางภาษีและประชาชนต้องมีสุขภาพดีขึ้น เช่น กำหนดอัตราภาษีให้สอดคล้องกับระดับน้ำตาล มีความครอบคลุมและเสมอภาคกับเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะประเภทชาเขียวเท่านั้น นอกจากนี้ ในอนาคตยังอาจดำเนินงานควบคู่ไปกับ มาตรการทางราคาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากขึ้น
ด้าน ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยครึ่งหนึ่งมาจากเครื่องดื่มรสหวาน ซึ่งคนไทยโดยเฉลี่ยดื่มเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว มากกว่านมหลายเท่า ส่วนหนึ่งมาจากราคาขายนั้นถูกกว่าเครื่องดื่มที่เราควรส่งเสริม เช่น นม น้ำผลไม้ ทั้งนี้ หลายคนยังมีทัศนคติว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ แต่ชาเขียวที่ขายกันในท้องตลาดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักมากถึง 15 ช้อนชาต่อขวด สูงไม่ต่างจากน้ำอัดลม ข้อมูลทางวิชาการยืนยันได้ว่า การขึ้นภาษีเครื่องดื่มรสหวานจะส่งผลให้คนบริโภคน้ำตาลน้อยลง เกิดผลดีต่อสุขภาพตามมา โดยเฉพาะโรคเบาหวาน
น.ส.สิรินทร์ยา พูลเกิด ผู้จัดการแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP) กล่าวว่า ภาษีเครื่องดื่มรวมถึงภาษีชาเขียวไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย แต่ระบบภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มในปัจจุบัน ไม่ได้สอดคล้องกับการจัดการปัญหาสุขภาพ โดยเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มที่ไม่เติมถึง 25% เช่นเดียวกับเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนก็ได้รับการยกเว้นภาษี อีกทั้งยังไม่มีการปรับอัตราภาษีมานาน ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงการคลังยกเครื่องระบบภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่ม โดยพิจารณาจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาเขียวที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป หากมีขนาดประมาณ 380 มิลลิลิตร ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 15 บาท แต่นมกล่องทั่วไปขนาด 225 มิลลิลิตร ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 12-13 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณต่อราคาแล้ว ถือว่านมมีราคาแพงกว่าชาเขียว ขณะที่ร้านค้าประเภทโมเดิร์นเทรด นมยี่ห้อหนึ่งขนาด 1 แพ็กจำนวน 6 กล่อง ปริมาณกล่องละ 250 มิลลิลิตร ราคา 65.50 บาท ตกกล่องละประมาณ 10.8 บาท ส่วนชาเขียวยี่ห้อหนึ่งขนาด 1 แพ็ก จำนวน 4 กล่อง ปริมาณกล่องละ 250 มิลลิลิตร ราคา 28 บาท ตกกล่องละ 7 บาท ก็เห็นได้ชัดเจนว่าราคาชาเขียวแพงกว่านม