ในปี 2557 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยไว้ว่าจะมีอัตราการขยายตัวได้ 5% ซึ่งจากตัวเลขการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.พ.) แม้จะเพิ่งขยายตัวได้เพียงแค่ 0.2% แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น ยังสรุปไม่ได้ว่าการส่งออกปีนี้จะเป็นอย่างไร เพราะยังมีระยะทางให้วิ่งอีกถึง 10 เดือนที่จะทำตามเป้าหมาย
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประเมินว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 2 จะยังคงขยายตัวได้ดี แต่ไม่ดีมาก จะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยสินค้าที่จะเป็นพระเอกในการผลักดันการส่งออกของไทย จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เพราะมีความต้องการจากตลาดโลกเข้ามาต่อเนื่อง ส่วนสินค้าเกษตร ยอมรับว่าห่วง หลายๆ ตัวมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบ และหลายตัวมีปัญหาด้านราคา
โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มส่งออกได้ดี เช่น ไก่ เพราะหลายๆ ประเทศได้เปิดตลาดให้นำเข้าแล้ว หลังจากที่ห้ามมาตั้งแต่เกิดโรคไข้หวัดนก และมีโรงงานที่จะเปิดใหม่อีก ทำให้มีแนวโน้มส่งออกได้มากขึ้น ส่วนกุ้ง มีแนวโน้มส่งออกดีขึ้น แต่จากการที่ผลผลิตยังน้อยกว่าที่ประเมินไว้ จากการที่กุ้งตายจากโรคตายด่วน โดยคาดว่าจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไป หลังจากที่ผู้ผลิตได้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากเวียดนามและอินเดีย ซึ่งขณะนี้กำลังตรวจโรงงาน ตรวจคุณภาพ
สำหรับสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มส่งออกชะลอตัว เช่น สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดอ่อน เพราะขาดแคลนวัตถุดิบ ยางพารา น้ำตาลทราย และปาล์มน้ำมัน จะมีปัญหาด้านราคา เนื่องจากราคาในภาพรวมลดลงจากปีที่แล้วมาก แต่ปีหน้าจะเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะยางพารา
นางนันทวัลย์กล่าวว่า ในภาพรวมกรมฯ ยังมั่นใจว่า เป้าหมายการส่งออกในปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ 5% จะยังคงเป็นไปได้ เนื่องจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวได้ 3.7% ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพคาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ย 31.5 บาท/เหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญๆ ฟื้นตัว ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ปัญหาความขัดแย้งในไครเมียคลี่คลาย
“ปีนี้แนวโน้มตลาดส่งออกหลักๆ จะดีขึ้นทุกตลาด โดยสหรัฐฯ ดีกว่าเมื่อก่อน เพราะถ้าไม่ดี เขาคงไม่ลดคิวอี ตลาดยุโรป ก็ดีขึ้น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ยังไปได้ แต่ก็มีบางประเทศที่มีปัญหาเรื่องเงินฝืด แต่ภาพรวมยังไปได้ ส่วนตลาดญี่ปุ่น ช่วง 1-2 เดือนนี้การบริโภคอาจชะลอตัวจากการขึ้นภาษีการบริโภค แต่หลังจากนั้นจะเป็นปกติ ส่วนตลาดใหม่ส่วนใหญ่ดีขึ้นหมด ซึ่งกรมฯ เองก็จะเน้นการทำตลาดใหม่ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น”นางนันทวัลย์กล่าว
นางนันทวัลย์กล่าวว่า มาตรการเร่งรัดการส่งออกในช่วงหลังของปี 2557 กรมฯ จะเน้นการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อาเซียน จีน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา รัสเซีย และ CIS และแอฟริกา โดยใช้ทูตพาณิชย์ที่เคยทำงานและมีประสบการณ์สูงในประเทศนั้นๆ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และได้เชิญภาคเอกชน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละตลาด ทั้งด้านการค้าขาย การลงทุนร่วมเป็นคณะทำงาน
“คณะทำงานชุดนี้จะมาช่วยกันวางแผนในการบุกเจาะตลาดใหม่เป็นรายประเทศ ต้องการผลักดันการส่งออกของไทยให้เข้าถึงเป็นรายประเทศให้ได้มากที่สุด โดยจะมาช่วยกันดูว่าในตลาดใหม่เป้าหมาย มีสินค้าอะไรที่มีโอกาส มีศักยภาพ ในการเพิ่มยอดส่งออก จะดูสินค้าในระดับท็อปเท็น ไม่ใช่ดูไม่กี่ตัว จากนั้นจะมาทำแผน เพิ่มกิจกรรมเพื่อผลักดันให้ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นต่อไป”
ทั้งนี้ เห็นว่ากิจกรรมเร่งด่วนที่จะดำเนินการได้ทันที และได้ผลในการเพิ่มยอดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ก็คือ การจัดโครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งจะทำการนัดหมายให้ผู้ซื้อในตลาดใหม่มาพบปะกับผู้ขายของไทย ทั้งการจัดคณะไปยังตลาดใหม่ หรือเชิญให้มาซื้อสินค้าในไทย
สำหรับกิจกรรมสนับสนุนการส่งออก กรมฯ มีแผนที่จะเปิดศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในอาเซียน (AEC Business Support Center) และ DITP AEC Club โดยศูนย์ AEC Business Support Center ดำเนินการแล้ว 10 ศูนย์ ใน 8 ประเทศ ให้บริการด้านข้อมูลการค้า การลงทุน ตลอดจนการให้คำปรึกษาเชิงลึก การทำนัดหมายกับผู้นำเข้า และจัดหาวัตถุดิบในอาเซียน ให้บริการกับผู้ประกอบการแล้วกว่า 2,500 ราย โดยผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาที่มีประสบการณ์ในพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลเชิงลึก โดยศึกษารูปแบบของ JETRO เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มสินค้าและตลาด มีความถูกต้อง ทันสมัย ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ
ขณะเดียวกัน จะเปิดศูนย์บริการข้อมูลในการแสวงหาวัตถุดิบ โดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลเพื่อค้นหาผู้ขายวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการไทย โดยผู้ขอรับบริการจะได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือภายใน 2 สัปดาห์ โดยสามารถติดต่อที่ศูนย์ DITP Service Center หรือสายด่วน 1169
นอกจากนี้ จะช่วยสร้างโอกาสในการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ www.thaitrade.com ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่เป็นตลาดกลางซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ (B-2-B E-Marketplace) ที่กรมฯ สนับสนุน ปัจจุบันมีผู้เข้าชมกว่า 1.8 ล้านราย ผู้ขาย 11,500 ราย ผู้ซื้อ 53,000 ราย ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าซื้อขายกว่า 1,700 ล้านบาท
ส่วนการสนับสนุนด้านข้อมูลอื่นๆ จะเปิดให้บริการข้อมูลข่าวสารเชิงลึกด้านการค้าระหว่างประเทศ คือ DITP Connect เป็นการให้บริการข้อมูลผ่าน Mobile Application นำเสนอข้อมูลแบบ Real time ทั้งรายงานจากทูตพาณิชย์ และรายงานสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ โดยเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล (Personalized) ตลอดจนเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกรมฯ ขณะนี้สามารถดาวน์โหลดใช้ได้แล้วทั้งในระบบ Android และ IOS
นางนันทวัลย์กล่าวว่า เพื่อให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับเพิ่มมากขึ้น กรมฯ มีแผนที่จะสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย เพราะปัจจุบันหลายๆ ประเทศที่เป็นตลาดใหม่ของไทย ไม่รู้ว่าไทยผลิตสินค้าอะไรบ้าง ผลิตได้ในระดับไหนของโลก ทั้งๆ ที่ไทยมีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าหลายๆ รายการในระดับโลก เช่น ยานยนต์ผลิตได้ปีละ 2 ล้านคัน เป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในระดับโลก เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ทั้งเกษตรและประมง เป็นต้น ซึ่งจะมีการจัดทำแผนเพื่อโปรโมตให้ลูกค้ารู้จักไทยให้มากขึ้น เพื่อให้ส่งผลต่อการซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน กรมฯ กำลังหารือกับภาคเอกชน และกำลังรวบรวมข้อมูลว่าไทยทำอะไรเก่งบ้าง อุตสาหกรรมไหน สินค้าตัวไหน แล้วจะมาทำแผนพีอาร์ ทำแคมเปญ ทำข้อมูลที่จะให้รายละเอียดเป็นรายอุตสาหกรรม ซึ่งจะพีอาร์ผ่านสื่อต่างๆ ในประเทศเป้าหมาย หรือเวลาไปติดต่อค้าขาย ก็จะนำไปเผยแพร่ให้ลูกค้าได้รับรู้ ถือเป็นอีกแผนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าไทย
“จากแผนการดำเนินการสนับสนุนการส่งออกที่กรมฯ จะดำเนินการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 ทั้งการบุกเจาะตลาดใหม่ การสนับสนุนด้านข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเชิงลึก บวกกับการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไทย กรมฯ เชื่อว่า เป้าหมายการส่งออกปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ 5% จะมีโอกาสทำได้ตามเป้า และกรมฯ จะถือว่าเป้าหมายดังกล่าวเป็นภารกิจที่ท้าทาย และต้องทำให้ได้”นางนันทวัลย์กล่าวในที่สุด
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประเมินว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 2 จะยังคงขยายตัวได้ดี แต่ไม่ดีมาก จะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยสินค้าที่จะเป็นพระเอกในการผลักดันการส่งออกของไทย จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เพราะมีความต้องการจากตลาดโลกเข้ามาต่อเนื่อง ส่วนสินค้าเกษตร ยอมรับว่าห่วง หลายๆ ตัวมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบ และหลายตัวมีปัญหาด้านราคา
โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มส่งออกได้ดี เช่น ไก่ เพราะหลายๆ ประเทศได้เปิดตลาดให้นำเข้าแล้ว หลังจากที่ห้ามมาตั้งแต่เกิดโรคไข้หวัดนก และมีโรงงานที่จะเปิดใหม่อีก ทำให้มีแนวโน้มส่งออกได้มากขึ้น ส่วนกุ้ง มีแนวโน้มส่งออกดีขึ้น แต่จากการที่ผลผลิตยังน้อยกว่าที่ประเมินไว้ จากการที่กุ้งตายจากโรคตายด่วน โดยคาดว่าจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไป หลังจากที่ผู้ผลิตได้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากเวียดนามและอินเดีย ซึ่งขณะนี้กำลังตรวจโรงงาน ตรวจคุณภาพ
สำหรับสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มส่งออกชะลอตัว เช่น สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดอ่อน เพราะขาดแคลนวัตถุดิบ ยางพารา น้ำตาลทราย และปาล์มน้ำมัน จะมีปัญหาด้านราคา เนื่องจากราคาในภาพรวมลดลงจากปีที่แล้วมาก แต่ปีหน้าจะเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะยางพารา
นางนันทวัลย์กล่าวว่า ในภาพรวมกรมฯ ยังมั่นใจว่า เป้าหมายการส่งออกในปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ 5% จะยังคงเป็นไปได้ เนื่องจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวได้ 3.7% ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพคาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ย 31.5 บาท/เหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญๆ ฟื้นตัว ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ปัญหาความขัดแย้งในไครเมียคลี่คลาย
“ปีนี้แนวโน้มตลาดส่งออกหลักๆ จะดีขึ้นทุกตลาด โดยสหรัฐฯ ดีกว่าเมื่อก่อน เพราะถ้าไม่ดี เขาคงไม่ลดคิวอี ตลาดยุโรป ก็ดีขึ้น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ยังไปได้ แต่ก็มีบางประเทศที่มีปัญหาเรื่องเงินฝืด แต่ภาพรวมยังไปได้ ส่วนตลาดญี่ปุ่น ช่วง 1-2 เดือนนี้การบริโภคอาจชะลอตัวจากการขึ้นภาษีการบริโภค แต่หลังจากนั้นจะเป็นปกติ ส่วนตลาดใหม่ส่วนใหญ่ดีขึ้นหมด ซึ่งกรมฯ เองก็จะเน้นการทำตลาดใหม่ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น”นางนันทวัลย์กล่าว
นางนันทวัลย์กล่าวว่า มาตรการเร่งรัดการส่งออกในช่วงหลังของปี 2557 กรมฯ จะเน้นการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อาเซียน จีน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา รัสเซีย และ CIS และแอฟริกา โดยใช้ทูตพาณิชย์ที่เคยทำงานและมีประสบการณ์สูงในประเทศนั้นๆ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และได้เชิญภาคเอกชน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละตลาด ทั้งด้านการค้าขาย การลงทุนร่วมเป็นคณะทำงาน
“คณะทำงานชุดนี้จะมาช่วยกันวางแผนในการบุกเจาะตลาดใหม่เป็นรายประเทศ ต้องการผลักดันการส่งออกของไทยให้เข้าถึงเป็นรายประเทศให้ได้มากที่สุด โดยจะมาช่วยกันดูว่าในตลาดใหม่เป้าหมาย มีสินค้าอะไรที่มีโอกาส มีศักยภาพ ในการเพิ่มยอดส่งออก จะดูสินค้าในระดับท็อปเท็น ไม่ใช่ดูไม่กี่ตัว จากนั้นจะมาทำแผน เพิ่มกิจกรรมเพื่อผลักดันให้ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นต่อไป”
ทั้งนี้ เห็นว่ากิจกรรมเร่งด่วนที่จะดำเนินการได้ทันที และได้ผลในการเพิ่มยอดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ก็คือ การจัดโครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งจะทำการนัดหมายให้ผู้ซื้อในตลาดใหม่มาพบปะกับผู้ขายของไทย ทั้งการจัดคณะไปยังตลาดใหม่ หรือเชิญให้มาซื้อสินค้าในไทย
สำหรับกิจกรรมสนับสนุนการส่งออก กรมฯ มีแผนที่จะเปิดศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในอาเซียน (AEC Business Support Center) และ DITP AEC Club โดยศูนย์ AEC Business Support Center ดำเนินการแล้ว 10 ศูนย์ ใน 8 ประเทศ ให้บริการด้านข้อมูลการค้า การลงทุน ตลอดจนการให้คำปรึกษาเชิงลึก การทำนัดหมายกับผู้นำเข้า และจัดหาวัตถุดิบในอาเซียน ให้บริการกับผู้ประกอบการแล้วกว่า 2,500 ราย โดยผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาที่มีประสบการณ์ในพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลเชิงลึก โดยศึกษารูปแบบของ JETRO เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มสินค้าและตลาด มีความถูกต้อง ทันสมัย ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ
ขณะเดียวกัน จะเปิดศูนย์บริการข้อมูลในการแสวงหาวัตถุดิบ โดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลเพื่อค้นหาผู้ขายวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการไทย โดยผู้ขอรับบริการจะได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือภายใน 2 สัปดาห์ โดยสามารถติดต่อที่ศูนย์ DITP Service Center หรือสายด่วน 1169
นอกจากนี้ จะช่วยสร้างโอกาสในการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ www.thaitrade.com ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่เป็นตลาดกลางซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ (B-2-B E-Marketplace) ที่กรมฯ สนับสนุน ปัจจุบันมีผู้เข้าชมกว่า 1.8 ล้านราย ผู้ขาย 11,500 ราย ผู้ซื้อ 53,000 ราย ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าซื้อขายกว่า 1,700 ล้านบาท
ส่วนการสนับสนุนด้านข้อมูลอื่นๆ จะเปิดให้บริการข้อมูลข่าวสารเชิงลึกด้านการค้าระหว่างประเทศ คือ DITP Connect เป็นการให้บริการข้อมูลผ่าน Mobile Application นำเสนอข้อมูลแบบ Real time ทั้งรายงานจากทูตพาณิชย์ และรายงานสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ โดยเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล (Personalized) ตลอดจนเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกรมฯ ขณะนี้สามารถดาวน์โหลดใช้ได้แล้วทั้งในระบบ Android และ IOS
นางนันทวัลย์กล่าวว่า เพื่อให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับเพิ่มมากขึ้น กรมฯ มีแผนที่จะสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย เพราะปัจจุบันหลายๆ ประเทศที่เป็นตลาดใหม่ของไทย ไม่รู้ว่าไทยผลิตสินค้าอะไรบ้าง ผลิตได้ในระดับไหนของโลก ทั้งๆ ที่ไทยมีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าหลายๆ รายการในระดับโลก เช่น ยานยนต์ผลิตได้ปีละ 2 ล้านคัน เป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในระดับโลก เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ทั้งเกษตรและประมง เป็นต้น ซึ่งจะมีการจัดทำแผนเพื่อโปรโมตให้ลูกค้ารู้จักไทยให้มากขึ้น เพื่อให้ส่งผลต่อการซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน กรมฯ กำลังหารือกับภาคเอกชน และกำลังรวบรวมข้อมูลว่าไทยทำอะไรเก่งบ้าง อุตสาหกรรมไหน สินค้าตัวไหน แล้วจะมาทำแผนพีอาร์ ทำแคมเปญ ทำข้อมูลที่จะให้รายละเอียดเป็นรายอุตสาหกรรม ซึ่งจะพีอาร์ผ่านสื่อต่างๆ ในประเทศเป้าหมาย หรือเวลาไปติดต่อค้าขาย ก็จะนำไปเผยแพร่ให้ลูกค้าได้รับรู้ ถือเป็นอีกแผนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าไทย
“จากแผนการดำเนินการสนับสนุนการส่งออกที่กรมฯ จะดำเนินการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 ทั้งการบุกเจาะตลาดใหม่ การสนับสนุนด้านข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเชิงลึก บวกกับการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไทย กรมฯ เชื่อว่า เป้าหมายการส่งออกปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ 5% จะมีโอกาสทำได้ตามเป้า และกรมฯ จะถือว่าเป้าหมายดังกล่าวเป็นภารกิจที่ท้าทาย และต้องทำให้ได้”นางนันทวัลย์กล่าวในที่สุด