บพ.เผยอานิสงส์โลว์คอสต์แอร์ไลน์โตแบบก้าวกระโดด ใกล้เปืด AEC ช่วยดันผู้โดยสารสนามบินภูมิภาคเพิ่มตาม แม้ภาพรวม 28 แห่งยังขาดทุนแต่แนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ เดินแผนลงทุนปี 57 ปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานแม้สอดและนครศรีฯ เกตเวย์ตะวันตกและใต้รองรับ และเตรียมคลอดแผนพัฒนาแบบยั่งยืน ยังไม่พับแผนเปิดให้เอกชนบริหาร
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม กรมการบินพลเรือน (บพ.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นรายงานฉบับกลาง โครงการศึกษาและจีดทำแผนการมฯาและเพิ่มการใช้ประโยชน์ระบบท่าอากาศยานภูมิภาค โดยนายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน (บพ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผลประกอบการโดยรวมของท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 28 ของบพ.ยังประสบกับการขาดทุน โดวปี 2556 มีรายได้รวม 513 ล้านบาท (โดยต้องหักรายได้จากค่าบริการขึ้นลงอากาศยาน 174 ล้านบาทออก เพราะต้องนำส่งคลัง) มีรายจ่าย 379 ล้านบาท โดยมีท่าอากาศยานเพียง 7 แห่งที่มีกำไร คือ กระบี่ อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และตรัง ซึ่งเป็นเส้นทางบินหลักที่มีผู้โดยสารมากกว่า 300,000 คนต่อปี ส่วนอีก 21 แห่งขาดทุน โดยเป็นเส้นทางสายรอง ผู้โดยสาร 50,000-300,000คนต่อปี และสายย่อย ผู้โดยสารไม่เกิน 50,000 คนต่อปี
ทั้งนี้ การเติบโตแบบก้าวกระโดดของสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์แอร์ไลน์) และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ช่วยผลักดันให้ปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารหลายท่าอากาศยานเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีการเดินทางไปยังภาคต่างๆ มากขึ้น เช่น แม่สอด นครพนม นครศรีธรรมราช ซึ่งในปี 2557 บพ.มีแผนปรับปรุงเพิ่มขีเความสามารถวงเงินลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท เช่น ท่าอากาศยานแม่สอด (ซึ่งเป็นเกต์เวย์ด้านตะวันตกเชื่อมพม่า) จะขยายความยาวรันเวย์จาก 1,600 เมตรเป็น 2,100 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีการซื้อที่ดินวงเงิน 200 ล้านบาท พร้อมก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแบบชั่วคราว วงเงิน 25 ล้านบาท เพิ่มการรองรับผู้โดยสารจาก 150 คนต่อชั่วโมงเป็น 250 คนต่อชั่วโมงและในปี 2558 จะของบประมาณ 320 ล้านบาทสร้างเป็นอาคารถาวร รองรับเพิ่มเป็น 350 คนต่อชั่วโมง ซึ่งขณะนี้แม่สอดมีผู้โดยสารประมาณ 100,000 คนต่อปี มี 10 เที่ยวบินต่อวัน
ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ลงทุน 225 ล้านบาท ขยายลานจอดเคนื่องบินเพิ่มอีก 3 ลำ จากเดิมที่มี 3 ลำรวมเป็น 6 ลำ และจากการประกาศเป็นท่าอากาศยานนานาชาติเมื่อปี 2557 คาดว่าผู้โดยสารจะเพิ่มจาก 400,000 คนต่อปี เป็น 600,000 คนต่อปีในไม่ช้าเพราะถือเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ นอกจากนี้จะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งที่ 29 ขึ้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อรองรับการเดินทงท่องเที่ยวและการค้าชายแดนที่เติบโตสูง โดยมีการจีดซื้อที่ดิน 920 ไร่ วงเงิน 250 ล้านบาทไว้ และเตรียมของบปี 2558 สำหรับก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 300 ล้านบาท และปรับปรุงพื้นที่ก่อสร้างรันเวย์ความยาว 1,800 เมตร อีก 1,400 ล้านบาท คาดมีผู้โดยสาร 100,000 คนต่อปี
สำหรับการศึกษาการใล้ประโยชน์ 28 ท่าอากาศยานนั้นจะทำเป็นแผนพัฒนา โดยมีการวิเคราะห์ตลาดการบินในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกำหนดรูปแบบในการบริหารจัดการ ซึ่งจะมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยโดยเบื้องต้นท่าอากาศยานภูมิภาค 28 แห่ง มีที่ดินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.4 หมื่นไร่ ซึ่งยังไม่มีการประเมินมูลค่าที่ดินและมีโครงสร้างพื้นฐานท่าอากาศยาน ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน (airport facilities) ได้แก่ ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน อาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารอื่นๆ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท
โดยหลังสรุปผลการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2557 รูปแบบการบริหารจะมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ มีแนวทางที่จะให้เอกชนหรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เข้ามาบริหาร แต่มีปัญหาเรื่องเงื่อนไขที่จะขอบนิหารเฉพาะท่าอากาศยานที่มีกำไร เท่านั้นทหรือบริหารเฉพาะพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการแก้ปัญหาขาดทุนในภาพรวม