ทีวีชอปปิ้งเร่งสร้างแกร่ง เตรียมจัดตั้งสมาคมทีวีชอปปิ้ง หวังสร้างความน่าเชื่อถือ บูมตลาดทีวีชอปปิ้งเติบโตแบบก้าวกระโดด “ช้อปโกลบอล” ทุ่ม 600 ล้านบาทจับมือ TGN ออกอากาศช่อง “ช้อป แชนแนล” ย่านความถี่เคยูแบนด์ 24 ชม. ชูความแตกต่างสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น หวัง 5 ปีรายได้ทะลุ 3,000 ล้านบาท
นายณรงค์ เชาวราษฎร์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และหัวหน้าฝ่าย บริษัท ช้อปโกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดทีวีชอปปิ้งมีมูลค่า 5,000-7,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 5-10% ซึ่งในความเป็นจริงมีโอกาสในการเติบโตสูง แต่พฤติกรรมคนไทยยังไม่เชื่อมั่นในการซื้อสินค้าผ่านทีวีชอปปิ้งมากนัก
ดังนั้นทางบริษัทจึงได้มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการอีก 3 รายคือ ช่องโอชอปปิ้ง ของทางแกรมมี่, ช่องทรู ซีเล็ค ของทางทรูวิชั่นส์ และทีวีไดเรค ในการร่วมกันจัดตั้งสมาคมทีวีชอปปิ้งขึ้นมาภายในปีนี้ โดยเตรียมยื่นขอจดทะเบียนขึ้นเป็นสมาคมฯ ที่เขตบางเขน
ทั้งนี้ เพื่อต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค รวมถึงสร้างตรา TRUST MARK เพื่อการันตีสินค้าให้แก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากสมาชิกของสมาคมฯ ว่า สินค้ามีคุณภาพ ไม่ถูกหลอก สร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อมากขึ้น เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดทีวีชอปปิ้งเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
นายชิเกรุ โอฮาชิ กรรมการผู้จัดการและประธานฝ่ายบริหารสูงสุด บริษัท ช้อปโกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ทุ่มงบกว่า 600 ล้านบาทในการจับมือกับทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ไทยทีวี โกลบอล เน็ตเวิร์ค หรือ TGN ภายใต้การบริหารงานของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ร่วมกันแพร่ภาพออกอากาศช่อง ช้อป แชนแนล ทาง TGN บนย่านความถี่ KU-Band ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาแบบ 24 ชม. พบว่ายอดขายเติบโตขึ้นเดือนละ 20-30% ซึ่งสินค้าที่ขายดีคือ จิวเวลรี และมาจากในกรุงเทพฯ เป็นหลัก
สำหรับช่องช้อปแชนแนล เบื้องต้นจะเน้นจำหน่ายสินค้าที่ดีมีคุณภาพ และมียอดขายที่ดีจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นสินค้าที่จำหน่ายเฉพาะในช่องช้อปแชนแนลเท่านั้น โดยในไทยนั้นจะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. นำเข้าจากญี่ปุ่น 40% 2. ต่างประเทศ 10% 3. ไทย 50% ซึ่งในส่วนของสินค้าญี่ปุ่นนั้นจะจำหน่ายถูกกว่าในญี่ปุ่น 20-30% จากค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น
ส่วนสินค้าไทยนั้นจะเป็นสินค้าที่ส่งขายในญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีจำหน่ายในไทย ถือเป็นสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟ จากปัจจุบันมีสินค้าจำหน่ายอยู่แล้ว 600-800 เอสเคยู จะเพิ่มเข้ามาอีกเดือนละ 200 เอสเคยู ราคาสินค้าเริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสนบาท โดยจะเน้นสินค้ากลุ่มอาหาร ผัก ผลไม้ ตามฤดูกาลมากขึ้น มั่นใจว่าใน 5 ปีหลังจากนี้จะมีรายได้ 3,000 ล้านบาท ติดท็อป 3 ของตลาด และจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอนาคตต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับรายได้ในปีนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากช่องช้อปแชนแนลได้ดีเลย์การออกอากาศมาตั้งแต่ช่วงกลางปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง บวกกับกำลังซื้อที่ลดลง และการดำเนินงานการจดทะเบียนของบริษัทในการดำเนินธุรกิจแบบขายตรงทำให้สินค้าหลายรายการยังไม่สามารถจำหน่ายได้
นายณรงค์ เชาวราษฎร์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และหัวหน้าฝ่าย บริษัท ช้อปโกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดทีวีชอปปิ้งมีมูลค่า 5,000-7,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 5-10% ซึ่งในความเป็นจริงมีโอกาสในการเติบโตสูง แต่พฤติกรรมคนไทยยังไม่เชื่อมั่นในการซื้อสินค้าผ่านทีวีชอปปิ้งมากนัก
ดังนั้นทางบริษัทจึงได้มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการอีก 3 รายคือ ช่องโอชอปปิ้ง ของทางแกรมมี่, ช่องทรู ซีเล็ค ของทางทรูวิชั่นส์ และทีวีไดเรค ในการร่วมกันจัดตั้งสมาคมทีวีชอปปิ้งขึ้นมาภายในปีนี้ โดยเตรียมยื่นขอจดทะเบียนขึ้นเป็นสมาคมฯ ที่เขตบางเขน
ทั้งนี้ เพื่อต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค รวมถึงสร้างตรา TRUST MARK เพื่อการันตีสินค้าให้แก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากสมาชิกของสมาคมฯ ว่า สินค้ามีคุณภาพ ไม่ถูกหลอก สร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อมากขึ้น เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดทีวีชอปปิ้งเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
นายชิเกรุ โอฮาชิ กรรมการผู้จัดการและประธานฝ่ายบริหารสูงสุด บริษัท ช้อปโกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ทุ่มงบกว่า 600 ล้านบาทในการจับมือกับทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ไทยทีวี โกลบอล เน็ตเวิร์ค หรือ TGN ภายใต้การบริหารงานของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ร่วมกันแพร่ภาพออกอากาศช่อง ช้อป แชนแนล ทาง TGN บนย่านความถี่ KU-Band ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาแบบ 24 ชม. พบว่ายอดขายเติบโตขึ้นเดือนละ 20-30% ซึ่งสินค้าที่ขายดีคือ จิวเวลรี และมาจากในกรุงเทพฯ เป็นหลัก
สำหรับช่องช้อปแชนแนล เบื้องต้นจะเน้นจำหน่ายสินค้าที่ดีมีคุณภาพ และมียอดขายที่ดีจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นสินค้าที่จำหน่ายเฉพาะในช่องช้อปแชนแนลเท่านั้น โดยในไทยนั้นจะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. นำเข้าจากญี่ปุ่น 40% 2. ต่างประเทศ 10% 3. ไทย 50% ซึ่งในส่วนของสินค้าญี่ปุ่นนั้นจะจำหน่ายถูกกว่าในญี่ปุ่น 20-30% จากค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น
ส่วนสินค้าไทยนั้นจะเป็นสินค้าที่ส่งขายในญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีจำหน่ายในไทย ถือเป็นสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟ จากปัจจุบันมีสินค้าจำหน่ายอยู่แล้ว 600-800 เอสเคยู จะเพิ่มเข้ามาอีกเดือนละ 200 เอสเคยู ราคาสินค้าเริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสนบาท โดยจะเน้นสินค้ากลุ่มอาหาร ผัก ผลไม้ ตามฤดูกาลมากขึ้น มั่นใจว่าใน 5 ปีหลังจากนี้จะมีรายได้ 3,000 ล้านบาท ติดท็อป 3 ของตลาด และจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอนาคตต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับรายได้ในปีนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากช่องช้อปแชนแนลได้ดีเลย์การออกอากาศมาตั้งแต่ช่วงกลางปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง บวกกับกำลังซื้อที่ลดลง และการดำเนินงานการจดทะเบียนของบริษัทในการดำเนินธุรกิจแบบขายตรงทำให้สินค้าหลายรายการยังไม่สามารถจำหน่ายได้