หุ้นกลุ่มธนาคารอินโดนีเซียดิ่งลงในวันนี้ หลังจากธนาคารกลางอินโดนีเซียออกแถลงการณ์ระบุว่า ธนาคารในอินโดนีเซียต้องเพิ่มทุน สำรองภายในปี 2015 เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือความเสี่ยง ถ้าหากเกิดวิกฤติการเงินขึ้นในประเทศ
ดัชนีคอมโพสิตร่วงลง 0.99% หลังดิ่งลง 1.11% ในช่วงเที่ยง ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารอินโดนีเซียดิ่งลง 1.4% ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นอินโดนีเซียทรุดตัวลง 2.5% ในปีนี้
หุ้นแบงก์ รักยัต อินโดนีเซียดิ่งลง 2.11% มาที่ 6,950 รูเปียห์ ขณะที่หุ้นแบงก์ แมนดิรี และแบงก์ เนการา อินโดนีเซีย ร่วงลงกว่า 1.2%
"เราเชื่อว่าธนาคารส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาใหญ่ในการปฏิบัติตามกฎ เนื่องจากสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) ของพวกเขาอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากลักษณะของธุรกิจภาคธนาคาร ซึ่งใช้เงินทุนจำนวนมาก การอัดฉีดเงินทุนเพิ่มเติมก็มักจะเป็นสิ่งจำเป็น ในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้" นายจันทรา ลีนานจาจา นักวิเคราะห์ธนาคารจากแมนดิรี ซีเคียวริตัสกล่าว
ธนาคารกลางระบุว่า ภายในปี 2015 ธนาคารในอินโดนีเซียต้อง เพิ่มสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1) สู่ระดับ 6% ของสินทรัพย์ที่มีการถ่วงน้ำหนักความเสี่ยง จาก 5% ในขณะนี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับความเสี่ยง
ธนาคารกลางยังระบุว่า ธนาคารต่างๆจะต้องปรับระดับเงินกองทุน ขั้นที่ 2 (Tier 2) ภายในต้นปี 2016 แต่ธนาคารกลางไม่ได้ ระบุรายละเอียด
ธนาคารกลางอินโดนีเซียระบุว่า การเสริมความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนในครั้งนี้ "มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแบกรับความเสี่ยงในช่วงที่เกิดวิกฤติ และด้วยเหตุนี้เราจึงตั้งความหวังว่า มาตรการนี้จะสามารถสร้างระบบการธนาคารที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นระบบที่สามารถแข่งขันได้ทั้งภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศ"
ภายใต้กฎระเบียบใหม่นั้น สัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งถือเป็นเงินกองทุนธนาคารที่สามารถชดเชยยอดสูญเสีย ได้ดีที่สุด จะต้องอยู่ในระดับอย่างต่ำ 4.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงภายในเดือน ม.ค. 2015
สถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนหลักอย่างน้อย 5 ล้านล้านรูเปียห์ (409.6 ล้านดอลลาร์) จะต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต ในระดับ 2.5 % ของสินทรัพย์เสี่ยงนับตั้งแต่เดือนม.ค.2016
ภายในช่วงต้นปี 2016 ธนาคารจะต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง ในระดับ 2.5% ของสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อลดยอดสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 20 แห่งของอินโดนีเซียจะต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีก 1-2.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงด้วย
ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เรียกร้องให้อินโดนีเซียดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้กลับเข้ามาในตลาด และเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจเติบโต อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องแบกรับภาระใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาในการปรับลดยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซียที่อยู่ในระดับสูงมาก โดยยอดขาดดุลนี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเศรษฐกิจอินโดนีเซีย และทำให้ค่าเงินรูเปียห์รูดลงกว่า 20 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปีนี้ รวมทั้งส่งผลให้รูเปียห์กลายเป็นสกุลเงินที่อ่อนแอที่สุด ในเอเชียในปีนี้
อินโดนีเซียเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินในการนำกฎระเบียบมาปฏิบัติเพื่อทำให้ธนาคารและตลาดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คณะกรรมการด้านเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) ซึ่งเป็นคณะทำงานด้านกฏระเบียบของจี-20 ระบุในสัปดาห์นี้ว่า อาร์เจนตินา, รัสเซีย, ตุรกี และอินโดนีเซียไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้ยึดมั่นในข้อตกลงของจี-20 อย่างแข็งแกร่งเพียงพอ
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
ดัชนีคอมโพสิตร่วงลง 0.99% หลังดิ่งลง 1.11% ในช่วงเที่ยง ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารอินโดนีเซียดิ่งลง 1.4% ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นอินโดนีเซียทรุดตัวลง 2.5% ในปีนี้
หุ้นแบงก์ รักยัต อินโดนีเซียดิ่งลง 2.11% มาที่ 6,950 รูเปียห์ ขณะที่หุ้นแบงก์ แมนดิรี และแบงก์ เนการา อินโดนีเซีย ร่วงลงกว่า 1.2%
"เราเชื่อว่าธนาคารส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาใหญ่ในการปฏิบัติตามกฎ เนื่องจากสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) ของพวกเขาอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากลักษณะของธุรกิจภาคธนาคาร ซึ่งใช้เงินทุนจำนวนมาก การอัดฉีดเงินทุนเพิ่มเติมก็มักจะเป็นสิ่งจำเป็น ในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้" นายจันทรา ลีนานจาจา นักวิเคราะห์ธนาคารจากแมนดิรี ซีเคียวริตัสกล่าว
ธนาคารกลางระบุว่า ภายในปี 2015 ธนาคารในอินโดนีเซียต้อง เพิ่มสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1) สู่ระดับ 6% ของสินทรัพย์ที่มีการถ่วงน้ำหนักความเสี่ยง จาก 5% ในขณะนี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับความเสี่ยง
ธนาคารกลางยังระบุว่า ธนาคารต่างๆจะต้องปรับระดับเงินกองทุน ขั้นที่ 2 (Tier 2) ภายในต้นปี 2016 แต่ธนาคารกลางไม่ได้ ระบุรายละเอียด
ธนาคารกลางอินโดนีเซียระบุว่า การเสริมความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนในครั้งนี้ "มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแบกรับความเสี่ยงในช่วงที่เกิดวิกฤติ และด้วยเหตุนี้เราจึงตั้งความหวังว่า มาตรการนี้จะสามารถสร้างระบบการธนาคารที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นระบบที่สามารถแข่งขันได้ทั้งภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศ"
ภายใต้กฎระเบียบใหม่นั้น สัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งถือเป็นเงินกองทุนธนาคารที่สามารถชดเชยยอดสูญเสีย ได้ดีที่สุด จะต้องอยู่ในระดับอย่างต่ำ 4.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงภายในเดือน ม.ค. 2015
สถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนหลักอย่างน้อย 5 ล้านล้านรูเปียห์ (409.6 ล้านดอลลาร์) จะต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต ในระดับ 2.5 % ของสินทรัพย์เสี่ยงนับตั้งแต่เดือนม.ค.2016
ภายในช่วงต้นปี 2016 ธนาคารจะต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง ในระดับ 2.5% ของสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อลดยอดสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 20 แห่งของอินโดนีเซียจะต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีก 1-2.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงด้วย
ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เรียกร้องให้อินโดนีเซียดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้กลับเข้ามาในตลาด และเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจเติบโต อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องแบกรับภาระใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาในการปรับลดยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซียที่อยู่ในระดับสูงมาก โดยยอดขาดดุลนี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเศรษฐกิจอินโดนีเซีย และทำให้ค่าเงินรูเปียห์รูดลงกว่า 20 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปีนี้ รวมทั้งส่งผลให้รูเปียห์กลายเป็นสกุลเงินที่อ่อนแอที่สุด ในเอเชียในปีนี้
อินโดนีเซียเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินในการนำกฎระเบียบมาปฏิบัติเพื่อทำให้ธนาคารและตลาดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คณะกรรมการด้านเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) ซึ่งเป็นคณะทำงานด้านกฏระเบียบของจี-20 ระบุในสัปดาห์นี้ว่า อาร์เจนตินา, รัสเซีย, ตุรกี และอินโดนีเซียไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้ยึดมั่นในข้อตกลงของจี-20 อย่างแข็งแกร่งเพียงพอ
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group