นักวิเคราะห์กล่าวว่า ปริมาณการออกพันธบัตรในต่างประเทศโดยรัฐบาล ในเอเชียอาจจะพุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่าในปี 2014 หลังจากพันธบัตรประเภทนี้มีการออกจำหน่ายน้อยในปีนี้ โดยมีเพียงแค่รัฐบาลอินโดนีเซียและเกาหลีใต้เท่านั้นที่ออกพันธบัตรในต่างประเทศในปีนี้
นายอาวานติ เซฟ นักวิเคราะห์ของธนาคารบาร์เคลย์ส กล่าวว่า "เราคาดว่าประเทศในเอเชียจะออกพันธบัตรรัฐบาลราว 0.8-1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2014 โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยมีแนวโน้มว่าจะเร่งออกจำหน่ายในช่วงต้นปี 2014"
อุปทานพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ลดลงในปี 2013 จากระดับ 9.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2012 และ 8.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2011 โดยนักการธนาคารหลายรายคาดว่า อุปทานพันธบัตรจะฟื้นตัวขึ้นได้ในปีหน้า ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้ดอลลาร์เก่าที่ครบกำหนดชำระเป็นจำนวนมาก
คาดกันว่ารัฐบาลไทยจะออกพันธบัตรในต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากไม่ได้เข้าสู่ตลาดเป็นเวลานาน โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังของไทยแสดงความเห็นในระยะนี้เกี่ยวกับแผนการในการกลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1997 โดยก่อนหน้านี้เคยมีการคาดการณ์กันว่า ไทยอาจจะทำข้อตกลงขายพันธบัตรดังกล่าวในปีนี้ แต่ก็ไม่ได้มีการทำข้อตกลงแต่อย่างใด
นักการธนาคารรายหนึ่งในสิงคโปร์กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์หรือการตอบรับในตลาด แต่ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของผู้จำหน่ายพันธบัตรในการเดินหน้าโครงการนี้ และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง"
ไทยอาจจะชะลอโครงการจำหน่ายพันธบัตรในต่างประเทศในระยะนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านรัฐบาลไทย และหลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.ปีหน้า
อย่างไรก็ดี นักการธนาคารคาดว่า รัฐบาลไทยอาจจะเข้าสู่ตลาดต่างประเทศเมื่อเหตุการณ์ไม่สงบคลี่คลายลง โดยการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะไม่ได้เป็นเพียงแค่การระดมทุนเท่านั้น แต่จะเป็นการยืนยันถึงสถานะที่ดีของตนเองในประชาคมการเงินระหว่างประเทศด้วย
รัฐบาลไทยมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ Baa1/BBB+/BBB+ โดยอันดับความน่าเชื่อถือนี้จัดโดยมูดี้ส์, สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และฟิทช์ ตามลำดับ
นักวิเคราะห์คาดว่า อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์อาจจะเป็นสองประเทศแรกที่ออกพันบัตรในต่างประเทศในปีหน้า โดยอาจจะออกในสัปดาห์ที่สองของเดือน ม.ค. นอกจากนี้ อินโดนีเซียกำลังวางแผนจะออกจำหน่ายทั้งพันธบัตรในรูปสกุลเงินดอลลาร์และยูโรด้วย
ตลาดยังคาดว่า เวียดนามอาจจะถือโอกาสออกพันธบัตรในต่างประเทศ ในปีหน้าด้วยเช่นกัน
นายเซฟกล่าวว่า "การเพิ่มปริมาณการออกพันธบัตร มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความจำเป็นในการกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้ที่ใกล้จะครบกำหนดและความจำเป็นในการระดมทุนเพื่อบัญชีเดินสะพัดและงบประมาณ แต่อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลต้องการจะหลีกเลี่ยงจากการสร้างแรงกดดันด้านอุปทานพันธบัตรในตลาดในประเทศด้วย"
อินโดนีเซีย, ศรีลังกา และเกาหลีใต้มีกำหนดจะต้องชำระหนี้ต่างประเทศในปีหน้าศรีลังกา (B1/B+/BB-) ไม่ได้ออกพันธบัตรในตลาดต่างประเทศในปีนี้ แต่ศรีลังกาวางแผนจะเสนอขายพันธบัตรระหว่างประเทศระยะยาวมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์เป็นจำนวนสองชุดในปี 2014
ศรีลังกาเคยออกพันธบัตรในต่างประเทศครั้งสุดท้ายในเดือนก.ค.2012 โดยศรีลังการะดมทุนได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการออกพันธบัตรประเภท 10 ปีที่มีอัตราดอกเบี้ย 5.875 % ในครั้งนั้น และยอดสั่งซื้อ ในครั้งนั้นสูงถึง 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยครั้งนั้นถือเป็นครั้งที่ 5 ที่ศรีลังกาออกพันธบัตรในรูปดอลลาร์สหรัฐ และพันธบัตรดังกล่าวได้รับการกำหนดอัตราผลตอบแทนให้อยู่สูงกว่าของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐราว 4.371 %
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Baa3/BB+/BBB-) ได้คัดเลือกธนาคาร 7 แห่งแล้วเพื่อให้ดูแลการขายพันธบัตรในต่างประเทศในปี 2014 และรัฐบาลวางแผนจะออกพันธบัตรดังกล่าวในช่วงต้นปี ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้น
เกาหลีใต้ (Aa3/A+/AA-) ได้ออกพันธบัตรประเภทอายุ 10 ปีในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการกลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรดอลลาร์เป็นครั้งแรกหลังจากห่างหายไปนาน 4 ปี อย่างไรก็ดี นักการธนาคารคาดว่า รัฐบาลเกาหลีใต้จะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งในไตรมาส 1/2014
นักการธนาคารรายหนึ่งกล่าวว่า "เกาหลีใต้มีกำหนดชำระหนี้ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเม.ย. 2014 ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล สำหรับเกาหลีใต้ในการกู้เงินใหม่จากตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) โดยเกาหลีใต้อาจจะใช้วิธีออกพันธบัตรประเภท 10 ปีรุ่นใหม่ หรืออาจจะออกพันธบัตรประเภท 30 ปี ซึ่งจะได้รับความนิยมสูงมาก"
นักลงทุนคาดว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Baa3/BBB-/BBB-) อาจจะทดสอบอุปสงค์ในพันธบัตรรัฐบาลของตนเองในช่วงต้นปี โดยใช้วิธีออกพันธบัตรดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือเกรดน่าลงทุนจากทั้ง 3 สถาบันหลัก
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 แห่งเพิ่งปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลปปินส์สู่เกรดน่าลงทุนในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยมูดี้ส์ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลิปปินส์สู่ Baa3 ในเดือนต.ค.ปีนี้, S&P ปรับขึ้นอันดับสู่ BBB- ในเดือนพ.ค. และฟิทช์ปรับขึ้นอันดับสู่ BBB- ในเดือนมี.ค.
ฟิลิปปินส์ระดมทุนที่จำเป็นต้องใช้จากตลาดภายในประเทศในปีนี้ แต่ฟิลิปปินส์ได้แต่งตั้งธนาคาร 6 แห่งแล้วเพื่อให้ดูแลการออกพันธบัตรสกุลดอลลาร์ในตลาดโลก โดยเป็นที่คาดกันว่าฟิลิปปินส์จะเป็นหนึ่งในประเทศแรกที่ดำเนินการเรื่องนี้ ในปี 2014
นักการธนาคารคาดว่า จะมีการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนสูง ในปีหน้าด้วยเช่นกัน โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (B2/ BB-/B+) ได้พบปะกับนักลงทุนทั่วโลกในเดือนเม.ย.ปีนี้ และได้ส่งร่างข้อเสนอเพื่อการจัดจำหน่ายพันธบัตรออกไปในเดือนส.ค.
คาดกันว่ารัฐบาลเวียดนามอาจจะออกพันธบัตรดังกล่าวในปี 2014 และน่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะว่าอัตราการเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนามฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำในปีที่แล้ว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ และสถานะการชำระเงินต่างประเทศทวีความแข็งแกร่งขึ้น ทั้งนี้ มูดี้ส์ระบุว่า เวียดนาม ประสบความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างระบบธนาคารด้วย
มีข่าวว่าประเทศตลาดชายขอบ (frontier) ในเอเชียอาจจะทดลอง ออกพันธบัตรในต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยบังกลาเทศ (Ba3/BB-) แสดงความสนใจที่จะขายพันธบัตรในตลาดต่างประเทศเพื่อหาเงินมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนปาปัวนิวกินีได้เลือกธนาคารเพื่อดูแลการจำหน่ายพันธบัตรแล้ว
รัฐบาลหลายประเทศมีความกล้ามากยิ่งขึ้นที่จะออกพันธบัตร หลังจากประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือเพียงแค่ B ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในปีนี้ โดยสาธารณรัฐฮอนดูรัส (B2/B) ในภูมิภาคละตินอเมริกาได้ออกพันธบัตรมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์ที่แล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
นักการธนาคารรายหนึ่งกล่าวว่า หลายปัจจัยบ่งชี้ว่าพันธบัตรรัฐบาล ในเอเชียจะพบกับอุปสงค์ที่ดีมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศกาบองในแอฟริกากลางสามารถระดมทุนได้ 1.5 พันล้านดอลลาร์จากการออกพันธบัตรยูโรบอนด์ประเภท 10 ปีในวันที่ 5 ธ.ค. โดยมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 6.375 %
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
นายอาวานติ เซฟ นักวิเคราะห์ของธนาคารบาร์เคลย์ส กล่าวว่า "เราคาดว่าประเทศในเอเชียจะออกพันธบัตรรัฐบาลราว 0.8-1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2014 โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยมีแนวโน้มว่าจะเร่งออกจำหน่ายในช่วงต้นปี 2014"
อุปทานพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ลดลงในปี 2013 จากระดับ 9.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2012 และ 8.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2011 โดยนักการธนาคารหลายรายคาดว่า อุปทานพันธบัตรจะฟื้นตัวขึ้นได้ในปีหน้า ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้ดอลลาร์เก่าที่ครบกำหนดชำระเป็นจำนวนมาก
คาดกันว่ารัฐบาลไทยจะออกพันธบัตรในต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากไม่ได้เข้าสู่ตลาดเป็นเวลานาน โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังของไทยแสดงความเห็นในระยะนี้เกี่ยวกับแผนการในการกลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1997 โดยก่อนหน้านี้เคยมีการคาดการณ์กันว่า ไทยอาจจะทำข้อตกลงขายพันธบัตรดังกล่าวในปีนี้ แต่ก็ไม่ได้มีการทำข้อตกลงแต่อย่างใด
นักการธนาคารรายหนึ่งในสิงคโปร์กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์หรือการตอบรับในตลาด แต่ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของผู้จำหน่ายพันธบัตรในการเดินหน้าโครงการนี้ และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง"
ไทยอาจจะชะลอโครงการจำหน่ายพันธบัตรในต่างประเทศในระยะนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านรัฐบาลไทย และหลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.ปีหน้า
อย่างไรก็ดี นักการธนาคารคาดว่า รัฐบาลไทยอาจจะเข้าสู่ตลาดต่างประเทศเมื่อเหตุการณ์ไม่สงบคลี่คลายลง โดยการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะไม่ได้เป็นเพียงแค่การระดมทุนเท่านั้น แต่จะเป็นการยืนยันถึงสถานะที่ดีของตนเองในประชาคมการเงินระหว่างประเทศด้วย
รัฐบาลไทยมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ Baa1/BBB+/BBB+ โดยอันดับความน่าเชื่อถือนี้จัดโดยมูดี้ส์, สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และฟิทช์ ตามลำดับ
นักวิเคราะห์คาดว่า อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์อาจจะเป็นสองประเทศแรกที่ออกพันบัตรในต่างประเทศในปีหน้า โดยอาจจะออกในสัปดาห์ที่สองของเดือน ม.ค. นอกจากนี้ อินโดนีเซียกำลังวางแผนจะออกจำหน่ายทั้งพันธบัตรในรูปสกุลเงินดอลลาร์และยูโรด้วย
ตลาดยังคาดว่า เวียดนามอาจจะถือโอกาสออกพันธบัตรในต่างประเทศ ในปีหน้าด้วยเช่นกัน
นายเซฟกล่าวว่า "การเพิ่มปริมาณการออกพันธบัตร มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความจำเป็นในการกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้ที่ใกล้จะครบกำหนดและความจำเป็นในการระดมทุนเพื่อบัญชีเดินสะพัดและงบประมาณ แต่อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลต้องการจะหลีกเลี่ยงจากการสร้างแรงกดดันด้านอุปทานพันธบัตรในตลาดในประเทศด้วย"
อินโดนีเซีย, ศรีลังกา และเกาหลีใต้มีกำหนดจะต้องชำระหนี้ต่างประเทศในปีหน้าศรีลังกา (B1/B+/BB-) ไม่ได้ออกพันธบัตรในตลาดต่างประเทศในปีนี้ แต่ศรีลังกาวางแผนจะเสนอขายพันธบัตรระหว่างประเทศระยะยาวมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์เป็นจำนวนสองชุดในปี 2014
ศรีลังกาเคยออกพันธบัตรในต่างประเทศครั้งสุดท้ายในเดือนก.ค.2012 โดยศรีลังการะดมทุนได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการออกพันธบัตรประเภท 10 ปีที่มีอัตราดอกเบี้ย 5.875 % ในครั้งนั้น และยอดสั่งซื้อ ในครั้งนั้นสูงถึง 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยครั้งนั้นถือเป็นครั้งที่ 5 ที่ศรีลังกาออกพันธบัตรในรูปดอลลาร์สหรัฐ และพันธบัตรดังกล่าวได้รับการกำหนดอัตราผลตอบแทนให้อยู่สูงกว่าของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐราว 4.371 %
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Baa3/BB+/BBB-) ได้คัดเลือกธนาคาร 7 แห่งแล้วเพื่อให้ดูแลการขายพันธบัตรในต่างประเทศในปี 2014 และรัฐบาลวางแผนจะออกพันธบัตรดังกล่าวในช่วงต้นปี ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้น
เกาหลีใต้ (Aa3/A+/AA-) ได้ออกพันธบัตรประเภทอายุ 10 ปีในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการกลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรดอลลาร์เป็นครั้งแรกหลังจากห่างหายไปนาน 4 ปี อย่างไรก็ดี นักการธนาคารคาดว่า รัฐบาลเกาหลีใต้จะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งในไตรมาส 1/2014
นักการธนาคารรายหนึ่งกล่าวว่า "เกาหลีใต้มีกำหนดชำระหนี้ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเม.ย. 2014 ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล สำหรับเกาหลีใต้ในการกู้เงินใหม่จากตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) โดยเกาหลีใต้อาจจะใช้วิธีออกพันธบัตรประเภท 10 ปีรุ่นใหม่ หรืออาจจะออกพันธบัตรประเภท 30 ปี ซึ่งจะได้รับความนิยมสูงมาก"
นักลงทุนคาดว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Baa3/BBB-/BBB-) อาจจะทดสอบอุปสงค์ในพันธบัตรรัฐบาลของตนเองในช่วงต้นปี โดยใช้วิธีออกพันธบัตรดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือเกรดน่าลงทุนจากทั้ง 3 สถาบันหลัก
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 แห่งเพิ่งปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลปปินส์สู่เกรดน่าลงทุนในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยมูดี้ส์ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลิปปินส์สู่ Baa3 ในเดือนต.ค.ปีนี้, S&P ปรับขึ้นอันดับสู่ BBB- ในเดือนพ.ค. และฟิทช์ปรับขึ้นอันดับสู่ BBB- ในเดือนมี.ค.
ฟิลิปปินส์ระดมทุนที่จำเป็นต้องใช้จากตลาดภายในประเทศในปีนี้ แต่ฟิลิปปินส์ได้แต่งตั้งธนาคาร 6 แห่งแล้วเพื่อให้ดูแลการออกพันธบัตรสกุลดอลลาร์ในตลาดโลก โดยเป็นที่คาดกันว่าฟิลิปปินส์จะเป็นหนึ่งในประเทศแรกที่ดำเนินการเรื่องนี้ ในปี 2014
นักการธนาคารคาดว่า จะมีการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนสูง ในปีหน้าด้วยเช่นกัน โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (B2/ BB-/B+) ได้พบปะกับนักลงทุนทั่วโลกในเดือนเม.ย.ปีนี้ และได้ส่งร่างข้อเสนอเพื่อการจัดจำหน่ายพันธบัตรออกไปในเดือนส.ค.
คาดกันว่ารัฐบาลเวียดนามอาจจะออกพันธบัตรดังกล่าวในปี 2014 และน่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะว่าอัตราการเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนามฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำในปีที่แล้ว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ และสถานะการชำระเงินต่างประเทศทวีความแข็งแกร่งขึ้น ทั้งนี้ มูดี้ส์ระบุว่า เวียดนาม ประสบความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างระบบธนาคารด้วย
มีข่าวว่าประเทศตลาดชายขอบ (frontier) ในเอเชียอาจจะทดลอง ออกพันธบัตรในต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยบังกลาเทศ (Ba3/BB-) แสดงความสนใจที่จะขายพันธบัตรในตลาดต่างประเทศเพื่อหาเงินมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนปาปัวนิวกินีได้เลือกธนาคารเพื่อดูแลการจำหน่ายพันธบัตรแล้ว
รัฐบาลหลายประเทศมีความกล้ามากยิ่งขึ้นที่จะออกพันธบัตร หลังจากประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือเพียงแค่ B ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในปีนี้ โดยสาธารณรัฐฮอนดูรัส (B2/B) ในภูมิภาคละตินอเมริกาได้ออกพันธบัตรมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์ที่แล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
นักการธนาคารรายหนึ่งกล่าวว่า หลายปัจจัยบ่งชี้ว่าพันธบัตรรัฐบาล ในเอเชียจะพบกับอุปสงค์ที่ดีมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศกาบองในแอฟริกากลางสามารถระดมทุนได้ 1.5 พันล้านดอลลาร์จากการออกพันธบัตรยูโรบอนด์ประเภท 10 ปีในวันที่ 5 ธ.ค. โดยมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 6.375 %
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group