สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ระบุว่า เหตุที่รัฐบาลสหรัฐยื่นฟ้อง S&P ในข้อหาฉ้อโกง และเรียกเงินค่าเสียหาย 5 พันล้านดอลลาร์ ก็เนื่องจากมีจุดประสงค์เพื่อ "แก้แค้น" S&P ที่ตัดสินใจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจาก AAA ในปี 2011
S&P ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทแมคกรอว์ ฮิลล์ ไฟแนนเชียล อิงค์ เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่เพียงแห่งเดียวที่ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากขั้นสูงสุด และเป็นแห่งเดียวที่ทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้องในข้อหาสร้างความเข้าใจผิดต่อธนาคารพาณิชย์และสหภาพสินเชื่อเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของอันดับที่จัดโดย S&P ก่อนเกิดวิกฤติการเงินปี 2008
S&P ระบุว่า การยื่นเรื่องฟ้องของทางกระทรวงในวันที่ 4 ก.พ. นับเป็นความพยายามที่จะลงโทษ S&P ในการใช้สิทธิแสดงความเห็นภายใต้บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 1 (First Amendment)ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ และเป็นความพยายามที่จะเรียกร้อง "เงินค่าปรับที่สูงเกินไป" ในการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 8
S&P ระบุว่า คำฟ้องของรัฐบาลสหรัฐ "เป็นสิ่งที่ไม่มีมูล, เป็นการลงโทษ และเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง" และมีจุดประสงค์เพื่อ"แก้แค้นจำเลยที่ได้ใช้สิทธิแสดงความเห็นอย่างเสรีในเรื่องความน่าเชื่อถือ ของสหรัฐอเมริกา"
S&P ต้องการให้มีการยกฟ้องคดีนี้ เพราะคำยื่นฟ้องมีอคติ ซึ่งหมายความว่าคดีนี้จะไม่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ โดยในเดือนส.ค. 2011 S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงสู่ AA+ จาก AAA เนื่องจาก S&P กังวลกับความสามารถของรัฐบาลสหรัฐในการรับมือกับหนี้สินที่ระดับสูง
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 5 ก.พ. นายโทนี เวสท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรมช. ยุติธรรมสหรัฐในขณะนั้น กล่าวว่า การยื่นฟ้องคดีนี้ และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน โดยรัฐบาลสหรัฐระบุว่า การสอบสวนคดีนี้เริ่มต้นในเดือนพ.ย. 2009
ในคำฟ้องนี้ รัฐบาลสหรัฐกล่าวหา S&P ว่าจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ที่สูงเกินจริงเพื่อที่จะได้รับค่าธรรมเนียมมากยิ่งขึ้นจากผู้ออกจำหน่ายตราสาร และ S&P ไม่ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร CDO (collaterized debt obligations) ถึงแม้ S&P รู้ว่าตราสารดังกล่าวได้รับการค้ำประกันจากหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญา จำนองที่อยู่อาศัย (RBMS) ที่ด้อยคุณภาพลง
S&P ได้ยื่นเรื่องเมื่อวานนี้โดยระบุว่า ยอดความเสียหายกว่า 4.6พันล้านดอลลาร์อาจเกิดจาก CDO ที่ได้รับการปรับโครงสร้าง, ทำการตลาด หรือจัดจำหน่ายโดยธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป หรือซิตี้กรุ๊ป อิงค์ และยอดความเสียหายกว่า 1 พันล้านดอลลาร์มาจากตราสารหนี้ที่ไม่เคยได้ออกจำหน่าย
S&P ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐไม่มีอำนาจในการฟ้องภายใต้กฎหมายการปฏิรูป, การฟื้นฟู และการบังคับใช้กฎหมายต่อสถาบันการเงิน (FIRREA) ปี 1989เพราะว่าไม่มีสถาบันการเงินแห่งใดที่ได้รับการประกันจากรัฐบาลกลางที่ได้รับผลกระทบจากการฝ่าฝืนนี้
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
S&P ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทแมคกรอว์ ฮิลล์ ไฟแนนเชียล อิงค์ เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่เพียงแห่งเดียวที่ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากขั้นสูงสุด และเป็นแห่งเดียวที่ทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้องในข้อหาสร้างความเข้าใจผิดต่อธนาคารพาณิชย์และสหภาพสินเชื่อเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของอันดับที่จัดโดย S&P ก่อนเกิดวิกฤติการเงินปี 2008
S&P ระบุว่า การยื่นเรื่องฟ้องของทางกระทรวงในวันที่ 4 ก.พ. นับเป็นความพยายามที่จะลงโทษ S&P ในการใช้สิทธิแสดงความเห็นภายใต้บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 1 (First Amendment)ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ และเป็นความพยายามที่จะเรียกร้อง "เงินค่าปรับที่สูงเกินไป" ในการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 8
S&P ระบุว่า คำฟ้องของรัฐบาลสหรัฐ "เป็นสิ่งที่ไม่มีมูล, เป็นการลงโทษ และเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง" และมีจุดประสงค์เพื่อ"แก้แค้นจำเลยที่ได้ใช้สิทธิแสดงความเห็นอย่างเสรีในเรื่องความน่าเชื่อถือ ของสหรัฐอเมริกา"
S&P ต้องการให้มีการยกฟ้องคดีนี้ เพราะคำยื่นฟ้องมีอคติ ซึ่งหมายความว่าคดีนี้จะไม่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ โดยในเดือนส.ค. 2011 S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงสู่ AA+ จาก AAA เนื่องจาก S&P กังวลกับความสามารถของรัฐบาลสหรัฐในการรับมือกับหนี้สินที่ระดับสูง
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 5 ก.พ. นายโทนี เวสท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรมช. ยุติธรรมสหรัฐในขณะนั้น กล่าวว่า การยื่นฟ้องคดีนี้ และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน โดยรัฐบาลสหรัฐระบุว่า การสอบสวนคดีนี้เริ่มต้นในเดือนพ.ย. 2009
ในคำฟ้องนี้ รัฐบาลสหรัฐกล่าวหา S&P ว่าจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ที่สูงเกินจริงเพื่อที่จะได้รับค่าธรรมเนียมมากยิ่งขึ้นจากผู้ออกจำหน่ายตราสาร และ S&P ไม่ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร CDO (collaterized debt obligations) ถึงแม้ S&P รู้ว่าตราสารดังกล่าวได้รับการค้ำประกันจากหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญา จำนองที่อยู่อาศัย (RBMS) ที่ด้อยคุณภาพลง
S&P ได้ยื่นเรื่องเมื่อวานนี้โดยระบุว่า ยอดความเสียหายกว่า 4.6พันล้านดอลลาร์อาจเกิดจาก CDO ที่ได้รับการปรับโครงสร้าง, ทำการตลาด หรือจัดจำหน่ายโดยธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป หรือซิตี้กรุ๊ป อิงค์ และยอดความเสียหายกว่า 1 พันล้านดอลลาร์มาจากตราสารหนี้ที่ไม่เคยได้ออกจำหน่าย
S&P ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐไม่มีอำนาจในการฟ้องภายใต้กฎหมายการปฏิรูป, การฟื้นฟู และการบังคับใช้กฎหมายต่อสถาบันการเงิน (FIRREA) ปี 1989เพราะว่าไม่มีสถาบันการเงินแห่งใดที่ได้รับการประกันจากรัฐบาลกลางที่ได้รับผลกระทบจากการฝ่าฝืนนี้
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group