ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า เศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงในเดือนพ.ย. ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ระดับสูงสุดของปีนี้ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย และเพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
รัฐบาลจีนจะเริ่มเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนพ.ย.ในวันที่ 8 ธ.ค. โดยจะเปิดเผยรายงานการค้าในวันนั้น และหลังจากนั้น จะเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อ ในวันที่ 9 ธ.ค. และเปิดเผยปริมาณการลงทุน, ผลผลิตภาคโรงงาน และยอดค้าปลีกในวันอังคารที่ 10 ธ.ค.
นอกจากนี้ จีนจะเปิดเผยอัตราการเติบโตของปริมาณเงินและปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ในช่วงระหว่างวันที่ 10-15 ธ.ค.
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนเข้าสู่เสถียรภาพในช่วงปลายปีนี้ และตัวเลขดังกล่าวก็สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจจีนจะไม่เข้าสู่ช่วงขาลงเป็นเวลายาวนาน
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนอาจได้รับแรงกดดันในเดือนพ.ย.จากอุปทานสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้น และจากการที่เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนน้อยลงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่อุปสงค์ที่ไม่สม่ำเสมอในตลาดโลก และการที่ภาคเอกชนชะลอการปรับเพิ่มสินค้าคงคลังก็เป็นอีกสองปัจจัยที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในจีน
นายคาร์ล ไวน์เบิร์ก จากบริษัทไฮ ฟรีเควนซี อิโคโนมิคส์ กล่าวว่า "เราคาดการณ์ตัวเลขเดือนพ.ย.ในระดับที่ไม่แข็งแกรงมากนัก" อย่างไรก็ดี นายไวน์เบิร์กกล่าวเสริมว่า สัญญาณทุกตัวบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในอนาคต และคาดว่า "เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเป็นเวลาสั้นๆเท่านั้น แต่ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของช่วงขาลง"
นักวิเคราะห์ 22 รายในโพลล์รอยเตอร์คาดการณ์โดยเฉลี่ยว่า ผลผลิตภาคโรงงานในจีนอาจเติบโตเพียง 10.1 % ต่อปีในเดือนพ.ย. ซึ่งจะเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน หลังจากเติบโต 10.3 % ในเดือนต.ค.
ผลสำรวจยังคาดว่า ปริมาณการลงทุนอาจเพิ่มขึ้น 20 % จากเมื่อ 1 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 11 ปี ขณะที่การลงทุนครองสัดส่วน 56 % ของการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้
โพลล์คาดว่า ยอดส่งออกของจีนอาจเติบโตขึ้น 7.1 % ต่อปีในเดือน พ.ย. ซึ่งจะถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน หลังจากเติบโต 5.6 % ในเดือนต.ค. โดยอัตราการขยายตัวที่ 7.1 % จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในต่างประเทศกำลังปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่ายอดส่งออกของจีนมักแกว่งตัวผันผวนในช่วงนี้ของปี
การที่เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มสดใสขึ้นสำหรับปี 2014 ด้วย โดยสหรัฐถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสินค้าส่งออกของจีน
ผลสำรวจคาดว่า อัตราเงินเฟ้ออาจทรงตัวที่ 3.2 % ต่อปีในเดือนพ.ย. ซึ่งจะเท่ากับระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่เคยทำไว้ในเดือนต.ค. โดยอัตราเงินเฟ้ออาจได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหาร อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางจีนตั้งไว้ที่ 3.5 % สำหรับปีนี้
การคาดการณ์ที่ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนอาจชะลอตัวลงเพียงชั่วคราว ได้รับแรงหนุนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่แตกต่างกัน 4 ตัวที่ออกมาในสัปดาห์นี้ โดยดัชนี PMI ทั้ง 4 ตัวนี้บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของจีนมีการขยายตัว
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ถ้าหากมีการพิจารณาดัชนี PMI อย่างใกล้ชิด รายงานดัชนี PMI ก็จะแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์อ่อนแอลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบร่วงลงและยอดสั่งซื้อปรับลดลง และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจ จีนอาจชะลอตัวต่อไปในปี 2014
นายดาริอุส โควาลซิค นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเครดิต อะกริโคล ซีไอบี กล่าวว่า "เราคาดว่าเศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงในไตรมาส 4 และเราคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะเติบโตช้าลงโดยชะลอตัวจาก 7.7 % ต่อปีในปี 2013 สู่ 7.2 % ในปี 2014"
อย่างไรก็ดี ทางการจีนอาจต้องการให้เศรษฐกิจชะลอการขยายตัว โดยสถาบันวิจัยที่สำคัญ 2 แห่งได้เสนอแนะว่า รัฐบาลจีนควรปรับลดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี 2014 ลงสู่ 7 % จากเป้าหมายที่ 7.5 % ที่ตั้งไว้สำหรับปี 2013
การปรับลดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ทางการจีนในการเดินหน้าแผนการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่เน้นพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกมาเป็นเศรษฐกิจที่เน้นพึ่งพาการบริโภค ซึ่งจะถือเป็นการปรับเปลี่ยน ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี
คาดกันว่ารัฐบาลจีนจะกำหนดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในงานประชุม Central Economic Work ที่จะจัดขึ้นในเดือนนี้
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
รัฐบาลจีนจะเริ่มเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนพ.ย.ในวันที่ 8 ธ.ค. โดยจะเปิดเผยรายงานการค้าในวันนั้น และหลังจากนั้น จะเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อ ในวันที่ 9 ธ.ค. และเปิดเผยปริมาณการลงทุน, ผลผลิตภาคโรงงาน และยอดค้าปลีกในวันอังคารที่ 10 ธ.ค.
นอกจากนี้ จีนจะเปิดเผยอัตราการเติบโตของปริมาณเงินและปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ในช่วงระหว่างวันที่ 10-15 ธ.ค.
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนเข้าสู่เสถียรภาพในช่วงปลายปีนี้ และตัวเลขดังกล่าวก็สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจจีนจะไม่เข้าสู่ช่วงขาลงเป็นเวลายาวนาน
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนอาจได้รับแรงกดดันในเดือนพ.ย.จากอุปทานสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้น และจากการที่เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนน้อยลงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่อุปสงค์ที่ไม่สม่ำเสมอในตลาดโลก และการที่ภาคเอกชนชะลอการปรับเพิ่มสินค้าคงคลังก็เป็นอีกสองปัจจัยที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในจีน
นายคาร์ล ไวน์เบิร์ก จากบริษัทไฮ ฟรีเควนซี อิโคโนมิคส์ กล่าวว่า "เราคาดการณ์ตัวเลขเดือนพ.ย.ในระดับที่ไม่แข็งแกรงมากนัก" อย่างไรก็ดี นายไวน์เบิร์กกล่าวเสริมว่า สัญญาณทุกตัวบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในอนาคต และคาดว่า "เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเป็นเวลาสั้นๆเท่านั้น แต่ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของช่วงขาลง"
นักวิเคราะห์ 22 รายในโพลล์รอยเตอร์คาดการณ์โดยเฉลี่ยว่า ผลผลิตภาคโรงงานในจีนอาจเติบโตเพียง 10.1 % ต่อปีในเดือนพ.ย. ซึ่งจะเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน หลังจากเติบโต 10.3 % ในเดือนต.ค.
ผลสำรวจยังคาดว่า ปริมาณการลงทุนอาจเพิ่มขึ้น 20 % จากเมื่อ 1 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 11 ปี ขณะที่การลงทุนครองสัดส่วน 56 % ของการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้
โพลล์คาดว่า ยอดส่งออกของจีนอาจเติบโตขึ้น 7.1 % ต่อปีในเดือน พ.ย. ซึ่งจะถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน หลังจากเติบโต 5.6 % ในเดือนต.ค. โดยอัตราการขยายตัวที่ 7.1 % จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในต่างประเทศกำลังปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่ายอดส่งออกของจีนมักแกว่งตัวผันผวนในช่วงนี้ของปี
การที่เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มสดใสขึ้นสำหรับปี 2014 ด้วย โดยสหรัฐถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสินค้าส่งออกของจีน
ผลสำรวจคาดว่า อัตราเงินเฟ้ออาจทรงตัวที่ 3.2 % ต่อปีในเดือนพ.ย. ซึ่งจะเท่ากับระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่เคยทำไว้ในเดือนต.ค. โดยอัตราเงินเฟ้ออาจได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหาร อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางจีนตั้งไว้ที่ 3.5 % สำหรับปีนี้
การคาดการณ์ที่ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนอาจชะลอตัวลงเพียงชั่วคราว ได้รับแรงหนุนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่แตกต่างกัน 4 ตัวที่ออกมาในสัปดาห์นี้ โดยดัชนี PMI ทั้ง 4 ตัวนี้บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของจีนมีการขยายตัว
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ถ้าหากมีการพิจารณาดัชนี PMI อย่างใกล้ชิด รายงานดัชนี PMI ก็จะแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์อ่อนแอลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบร่วงลงและยอดสั่งซื้อปรับลดลง และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจ จีนอาจชะลอตัวต่อไปในปี 2014
นายดาริอุส โควาลซิค นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเครดิต อะกริโคล ซีไอบี กล่าวว่า "เราคาดว่าเศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงในไตรมาส 4 และเราคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะเติบโตช้าลงโดยชะลอตัวจาก 7.7 % ต่อปีในปี 2013 สู่ 7.2 % ในปี 2014"
อย่างไรก็ดี ทางการจีนอาจต้องการให้เศรษฐกิจชะลอการขยายตัว โดยสถาบันวิจัยที่สำคัญ 2 แห่งได้เสนอแนะว่า รัฐบาลจีนควรปรับลดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี 2014 ลงสู่ 7 % จากเป้าหมายที่ 7.5 % ที่ตั้งไว้สำหรับปี 2013
การปรับลดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ทางการจีนในการเดินหน้าแผนการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่เน้นพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกมาเป็นเศรษฐกิจที่เน้นพึ่งพาการบริโภค ซึ่งจะถือเป็นการปรับเปลี่ยน ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี
คาดกันว่ารัฐบาลจีนจะกำหนดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในงานประชุม Central Economic Work ที่จะจัดขึ้นในเดือนนี้
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group