บริษัทพอลสัน แอนด์ โคซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ยังคงรักษาปริมาณการถือครองหน่วยลงทุนใน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกเอาไว้ในระดับเดิมในไตรมาส 3 หลังจากที่เคยปรับลดปริมาณการถือครองหน่วยลงทุนนี้ลงกว่า 50% ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็น ช่วงที่ราคาทองดิ่งลงอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ดี กองทุนเงินบำนาญและบริษัทจัดการกองทุนชื่อดังบางแห่ง ซึ่งรวมถึง พิมโคยังคงปรับลดปริมาณการถือครอง ETF ทองลงต่อไปและสิ่งนี้ทำให้เกิดความกังวลกันว่า นักลงทุนสถาบันที่เคยเทขายทองออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงเทขายทองต่อไป ในขณะที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
พอลสัน แอนด์ โค ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนิวยอร์ค และอยู่ภายใต้การบริหารของนายจอห์น พอลสัน ถือครองหน่วยลงทุน 10.2 ล้านหน่วย ใน SPDR Gold Trust ในวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 1.31 พันล้านดอลลาร์ และเท่ากับปริมาณการถือครองในวันที่ 30 มิ.ย. โดยตัวเลขนี้ได้มาจากหนังสือที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐ
การถือครองหน่วยลงทุนในปริมาณเท่าเดิมนี้ส่งผลให้พอลสัน แอนด์ โค มีกำไร 93 ล้านดอลลาร์ เพราะว่าราคาทองฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3
นายแอกเซล เมิร์ค ผู้จัดการพอร์ทลงทุนของบริษัทเมิร์ค ฟันด์กล่าวว่า "ผมคิดว่าผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์แบบนายพอลสันถือเป็นนักลงทุนระยะยาว"
นายเมิร์คกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากนางเจเน็ต เยลเลนขึ้นมาเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เราก็รู้ว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะปล่อยให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่ดีในการถือครองทองต่อไป"
ราคาทองในตลาด สปอตทรงตัวที่ 1,290 ดอลลาร์ต่อออนซ์หลังจาก พอลสัน แอนด์ โคยื่นหนังสือต่อก.ล.ต.สหรัฐ
ทั้งนี้ ราคาทองเพิ่งปรับขึ้นเมื่อวานนี้ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่ กล่าวปกป้องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของเฟดและสิ่งนี้บ่งชี้ว่าเฟดจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้จำนวนมากต่อไป
นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อการยื่นหนังสือรายไตรมาสของพอลสัน และบริษัทจัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ชื่อดังแห่งอื่นๆ เพราะว่าข้อมูล ในรายงานเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญทางการลงทุน ได้สูญเสียความเชื่อมั่นในทองไปแล้วหรือไม่ในฐานะที่ทองเป็นเครื่องมือประกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
บริษัทพอลสัน แอนด์ โคเคยปรับลดปริมาณการถือครองหน่วยลงทุนใน SPDR Gold Trust ลงสู่ 10.2 ล้านหน่วยในไตรมาส 2 จาก 21.8 ล้านหน่วยในไตรมาสแรก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ทางบริษัทปรับลดการถือครองหน่วยลงทุน ETF ทองนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2011 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ บริษัทพอลสันเคยมีชื่่อเสียงโด่งดังขึ้นมาในปี 2007 เนื่องจากบริษัท ลงทุนตามการคาดการณ์ในทางลบต่อสัญญาจำนองสำหรับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงต่อมาแสดงให้เห็นว่าพอลสัน คาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง
ราคาทองในตลาดสปอตพุ่งขึ้น 8% ในไตรมาส 3 ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้น ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี หลังจากราคาทองดิ่งลงอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ราว 23% ในไตรมาส 2
อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายรายยังคงใช้ความระมัดระวังในการลงทุนในทองในปัจจุบัน ในขณะที่เฮดจ์ฟันด์ยังคงปรับเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่าทอง
ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 25% ในปีนี้ ส่วนราคาทองดิ่งลงมาแล้วกว่า 20% และมีแนวโน้มปิดตลาดปี 2013 ในแดนลบ หลังจากปิดตลาดรายปีในแดนบวกมานานติดต่อกัน 12 ปี
นายอดัม ซาร์ฮาน ซีอีโอของบริษัทซาร์ฮาน แคปิตัลกล่าวว่า "เฮดจ์ฟันด์กำลังรอดูสถานการณ์ต่อไป โดยรอดูข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องความเคลื่อนไหวถัดไปในราคาทอง"
SPDR Gold Trust ถือครองทอง 906 ตันในช่วงสิ้นไตรมาส 3 เทียบกับ 968.3 ตันในไตรมาส 2 โดยอัตราการขายทองของกองทุนนี้ชะลอตัวลง หลังจากทางกองทุนเทขายทองกว่า 250 ตันใน ไตรมาสแรก
ในบรรดานักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่นั้น พิมโคปรับลดปริมาณการ ถือครองหน่วยลงทุนใน SPDR Gold Trust ลงเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับลดลงสู่ 1.2 ล้านหุ้นในไตรมาส 3 ซึ่งดิ่งลงอย่างรุนแรงจาก 6.3 ล้านหุ้นในไตรมาส 2/2012
ผู้จัดการพอร์ทลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ของพิมโคกล่าวในเดือนต.ค.ว่า เขาคาดการณ์ในทางบวกต่อแนวโน้มราคาทอง และเขาเทขายพุทออปชั่น ของทองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลงทุนตามคาดการณ์ในทางบวก
ทั้งนี้ พุทออปชั่นคือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการขายหลักทรัพย์ อ้างอิงตามราคาที่กำหนด
กองทุนเงินบำนาญครู รัฐเท็กซัสปรับลดปริมาณการถือครอง ETF ทอง ลงสู่ 479,600 หน่วยในไตรมาส 3 จาก 499,600 หน่วยใน ไตรมาส 2
นายจอร์จ โซรอสเทขายหุ้นที่เขาถือครองไว้ในบริษัทโกลด์คอร์ป อิงค์ และเทขายพุทออปชั่นจำนวนมากในกองทุน Market Vectors Junior Gold Miners ETF ซึ่งลงทุนในบริษัทเหมืองทองขนาดเล็ก
อย่างไรก็ดี เขาเริ่มต้นถือครองหน่วยลงทุนในกองทุน Market Vectors Gold Miners ETF ซึ่งลงทุนในบริษัทเหมืองทองขนาดใหญ่ และเขายังคงถือครองคอลล์ออปชั่นในบริษัทแบร์ริค โกลด์ คอร์ป
คอลล์ออปชั่นคือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงในปริมาณที่กำหนดตามราคาที่กำหนด ภายในวันเวลาที่ระบุไว้
บริษัทเบาโพสท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และอยู่ภายใต้การบริหารของนายเซ็ธ คลาร์แมน เทขาย หุ้นในบริษัทเหมืองทองขนาดใหญ่ของแคนาดา 2-3 แห่ง หลังจากที่เคยเพิ่มการถือครองหุ้นกลุ่มนี้ในไตรมาส 2
อย่างไรก็ดี นายคลาร์แมนยังคงถือครองหุ้น 21.7 ล้านหน่วยหุ้นใน บริษัทโนวาโกลด์ รีซอร์สเซส อิงค์ต่อไป
ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์บางแห่งเคยคาดการณ์ในทางบวกต่อราคาทองเมื่อ 1 ปีก่อน โดยผู้จัดการกองทุนกลุ่มนี้รวมถึงนายแดเนียล โลบ จากกองทุนเธิร์ด พอยท์, นายลีออน คูเพอร์แมนจากกองทุนโอเมกา แอดไวเซอร์ส และนายเอริค มินดิชจากกองทุนอีตัน พาร์ค
อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทุนกลุ่มนี้ได้เทขายหน่วยลงทุนทั้งหมดใน ETF ทอง และเทขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทเหมืองทองออกมาภายในช่วงสิ้นไตรมาส 3
ปริมาณการลงทุนของนักลงทุนสถาบันในหุ้นของ SPDR Gold Trust ถือเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อราคาทอง เพราะการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของนักลงทุนกลุ่มนี้ส่งผลให้มีการเทขายทองจำนวนมากในตลาด
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
อย่างไรก็ดี กองทุนเงินบำนาญและบริษัทจัดการกองทุนชื่อดังบางแห่ง ซึ่งรวมถึง พิมโคยังคงปรับลดปริมาณการถือครอง ETF ทองลงต่อไปและสิ่งนี้ทำให้เกิดความกังวลกันว่า นักลงทุนสถาบันที่เคยเทขายทองออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงเทขายทองต่อไป ในขณะที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
พอลสัน แอนด์ โค ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนิวยอร์ค และอยู่ภายใต้การบริหารของนายจอห์น พอลสัน ถือครองหน่วยลงทุน 10.2 ล้านหน่วย ใน SPDR Gold Trust ในวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 1.31 พันล้านดอลลาร์ และเท่ากับปริมาณการถือครองในวันที่ 30 มิ.ย. โดยตัวเลขนี้ได้มาจากหนังสือที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐ
การถือครองหน่วยลงทุนในปริมาณเท่าเดิมนี้ส่งผลให้พอลสัน แอนด์ โค มีกำไร 93 ล้านดอลลาร์ เพราะว่าราคาทองฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3
นายแอกเซล เมิร์ค ผู้จัดการพอร์ทลงทุนของบริษัทเมิร์ค ฟันด์กล่าวว่า "ผมคิดว่าผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์แบบนายพอลสันถือเป็นนักลงทุนระยะยาว"
นายเมิร์คกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากนางเจเน็ต เยลเลนขึ้นมาเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เราก็รู้ว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะปล่อยให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่ดีในการถือครองทองต่อไป"
ราคาทองในตลาด สปอตทรงตัวที่ 1,290 ดอลลาร์ต่อออนซ์หลังจาก พอลสัน แอนด์ โคยื่นหนังสือต่อก.ล.ต.สหรัฐ
ทั้งนี้ ราคาทองเพิ่งปรับขึ้นเมื่อวานนี้ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่ กล่าวปกป้องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของเฟดและสิ่งนี้บ่งชี้ว่าเฟดจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้จำนวนมากต่อไป
นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อการยื่นหนังสือรายไตรมาสของพอลสัน และบริษัทจัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ชื่อดังแห่งอื่นๆ เพราะว่าข้อมูล ในรายงานเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญทางการลงทุน ได้สูญเสียความเชื่อมั่นในทองไปแล้วหรือไม่ในฐานะที่ทองเป็นเครื่องมือประกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
บริษัทพอลสัน แอนด์ โคเคยปรับลดปริมาณการถือครองหน่วยลงทุนใน SPDR Gold Trust ลงสู่ 10.2 ล้านหน่วยในไตรมาส 2 จาก 21.8 ล้านหน่วยในไตรมาสแรก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ทางบริษัทปรับลดการถือครองหน่วยลงทุน ETF ทองนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2011 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ บริษัทพอลสันเคยมีชื่่อเสียงโด่งดังขึ้นมาในปี 2007 เนื่องจากบริษัท ลงทุนตามการคาดการณ์ในทางลบต่อสัญญาจำนองสำหรับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงต่อมาแสดงให้เห็นว่าพอลสัน คาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง
ราคาทองในตลาดสปอตพุ่งขึ้น 8% ในไตรมาส 3 ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้น ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี หลังจากราคาทองดิ่งลงอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ราว 23% ในไตรมาส 2
อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายรายยังคงใช้ความระมัดระวังในการลงทุนในทองในปัจจุบัน ในขณะที่เฮดจ์ฟันด์ยังคงปรับเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่าทอง
ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 25% ในปีนี้ ส่วนราคาทองดิ่งลงมาแล้วกว่า 20% และมีแนวโน้มปิดตลาดปี 2013 ในแดนลบ หลังจากปิดตลาดรายปีในแดนบวกมานานติดต่อกัน 12 ปี
นายอดัม ซาร์ฮาน ซีอีโอของบริษัทซาร์ฮาน แคปิตัลกล่าวว่า "เฮดจ์ฟันด์กำลังรอดูสถานการณ์ต่อไป โดยรอดูข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องความเคลื่อนไหวถัดไปในราคาทอง"
SPDR Gold Trust ถือครองทอง 906 ตันในช่วงสิ้นไตรมาส 3 เทียบกับ 968.3 ตันในไตรมาส 2 โดยอัตราการขายทองของกองทุนนี้ชะลอตัวลง หลังจากทางกองทุนเทขายทองกว่า 250 ตันใน ไตรมาสแรก
ในบรรดานักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่นั้น พิมโคปรับลดปริมาณการ ถือครองหน่วยลงทุนใน SPDR Gold Trust ลงเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับลดลงสู่ 1.2 ล้านหุ้นในไตรมาส 3 ซึ่งดิ่งลงอย่างรุนแรงจาก 6.3 ล้านหุ้นในไตรมาส 2/2012
ผู้จัดการพอร์ทลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ของพิมโคกล่าวในเดือนต.ค.ว่า เขาคาดการณ์ในทางบวกต่อแนวโน้มราคาทอง และเขาเทขายพุทออปชั่น ของทองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลงทุนตามคาดการณ์ในทางบวก
ทั้งนี้ พุทออปชั่นคือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการขายหลักทรัพย์ อ้างอิงตามราคาที่กำหนด
กองทุนเงินบำนาญครู รัฐเท็กซัสปรับลดปริมาณการถือครอง ETF ทอง ลงสู่ 479,600 หน่วยในไตรมาส 3 จาก 499,600 หน่วยใน ไตรมาส 2
นายจอร์จ โซรอสเทขายหุ้นที่เขาถือครองไว้ในบริษัทโกลด์คอร์ป อิงค์ และเทขายพุทออปชั่นจำนวนมากในกองทุน Market Vectors Junior Gold Miners ETF ซึ่งลงทุนในบริษัทเหมืองทองขนาดเล็ก
อย่างไรก็ดี เขาเริ่มต้นถือครองหน่วยลงทุนในกองทุน Market Vectors Gold Miners ETF ซึ่งลงทุนในบริษัทเหมืองทองขนาดใหญ่ และเขายังคงถือครองคอลล์ออปชั่นในบริษัทแบร์ริค โกลด์ คอร์ป
คอลล์ออปชั่นคือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงในปริมาณที่กำหนดตามราคาที่กำหนด ภายในวันเวลาที่ระบุไว้
บริษัทเบาโพสท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และอยู่ภายใต้การบริหารของนายเซ็ธ คลาร์แมน เทขาย หุ้นในบริษัทเหมืองทองขนาดใหญ่ของแคนาดา 2-3 แห่ง หลังจากที่เคยเพิ่มการถือครองหุ้นกลุ่มนี้ในไตรมาส 2
อย่างไรก็ดี นายคลาร์แมนยังคงถือครองหุ้น 21.7 ล้านหน่วยหุ้นใน บริษัทโนวาโกลด์ รีซอร์สเซส อิงค์ต่อไป
ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์บางแห่งเคยคาดการณ์ในทางบวกต่อราคาทองเมื่อ 1 ปีก่อน โดยผู้จัดการกองทุนกลุ่มนี้รวมถึงนายแดเนียล โลบ จากกองทุนเธิร์ด พอยท์, นายลีออน คูเพอร์แมนจากกองทุนโอเมกา แอดไวเซอร์ส และนายเอริค มินดิชจากกองทุนอีตัน พาร์ค
อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทุนกลุ่มนี้ได้เทขายหน่วยลงทุนทั้งหมดใน ETF ทอง และเทขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทเหมืองทองออกมาภายในช่วงสิ้นไตรมาส 3
ปริมาณการลงทุนของนักลงทุนสถาบันในหุ้นของ SPDR Gold Trust ถือเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อราคาทอง เพราะการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของนักลงทุนกลุ่มนี้ส่งผลให้มีการเทขายทองจำนวนมากในตลาด
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group