คณะกรรมการบาเซิลระบุว่า กลุ่มธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จำเป็นต้องปรับเพิ่มเงินกองทุนขึ้นอีก 1.15 แสนล้านยูโร (1.55 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และธนาคารในยุโรปเป็นกลุ่มใหญ่ที่ต้องเพิ่มเงินทุน โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60 % ของเงินทุนดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ธนาคารขนาดใหญ่ประสบความคืบหน้าในการเพิ่มเงินกองทุนในช่วงที่ผ่านมา โดยปริมาณการขาดแคลนเงินทุนลดลงเหลือ 8.3 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 ในขณะที่ธนาคารหลายแห่งเก็บผลกำไรของตนเองเอาไว้ และระดมทุนเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีธนาคารในยุโรปดำเนินการล่าช้ากว่าธนาคารในภูมิภาคอื่นๆในการปรับปรุงด้านเงินทุน
คณะกรรมการบาเซิลที่ประกอบด้วยผู้ควบคุมกฎระเบียบจากทั่วโลกระบุว่า ในการคำนวณว่าธนาคารชั้นนำทั่วโลกขาดแคลนเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ทางคณะกรรรมการได้ใช้หลักเกณฑ์ที่ว่าธนาคารกลุ่มนี้จำเป็นต้องดำรงเงินกองทุนหลักขั้นต่ำ 7 % และธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 28 แห่งต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติมอีกด้วย โดยการคำนวณตัวเลขนี้ตั้งอยู่บนงบดุลของธนาคารในช่วงสิ้นปี 2012
กฎเงินกองทุนใหม่นี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่จนกว่าจะถึงปี 2019 และนักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารจะสามารถหาเงินมาชดเชยส่วนที่ขาดไป โดยธนาคารส่วนใหญ่จะใช้วิธีนำผลกำไรมาเสริมความแข็งแกร่งให้แก่งบดุลของทางธนาคาร แทนที่จะใช้วิธีออกหุ้นใหม่
อย่างไรก็ดี เงินทุนที่ยังขาดอยู่ตอกย้ำให้เห็นว่า ภาคธนาคารยังคงประสบความยากลำบากในการทำให้กิจการกลับมามีสถานะแข็งแกร่งหลังจากวิกฤติการเงินเมื่อ 5 ปีก่อนทำให้เงินทุนของธนาคารลดลง อย่างรุนแรง และเงินทุนที่ขาดไปนี้ยังสะท้อนให้เห็นอีกด้วยว่ามีการปรับเพิ่มมาตรฐานเงินกองทุนให้สูงขึ้นมากในภาคธนาคาร
ธนาคารในสหภาพยุโรป (อียู) ดำรงเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ราว 7 หมื่นล้านยูโร หรือราว 61 % ของเงินทุนที่ขาดไปทั่วโลก ขณะที่สำนักงานการธนาคารยุโรป (EBA) ประเมินว่า เงินทุนที่ขาดไปในธนาคารในอียูลดลงราว 2.9 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 ตลาดพยายามกดดันภาคธนาคารให้รีบดำเนินการอย่างรวดเร็วในการปฏิบัติตามข้อตกลง Basel III เพื่อจะได้ขจัดข้อสงสัยที่มีต่อความสามารถของธนาคารแต่ละแห่งในการทำกำไร และเพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นและหุ้นกู้ของธนาคารแห่งนั้น
ข้อตกลงบาเซิลได้ปรับสัดส่วนเงินกองทุนที่ธนาคารต้องดำรงไว้ขึ้นเป็น 3 เท่าของระดับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินปี 2007-2009 เนื่องจากในช่วงนั้นธนาคารหลายแห่งดำรงเงินกองทุนต่ำเกินไป และส่งผลให้รัฐบาลต้องนำเงินของผู้เสียภาษีมาใช้ในการกอบกู้ธนาคารกลุ่มนี้ คณะกรรมการบาเซิลระบุว่า ธนาคารทั่วโลก 101 แห่งที่อยู่ในการ สำรวจครั้งนี้ มีกำไรหลังหักภาษีก่อนการจัดสรรราว 4.19 แสนล้านยูโร ในปี 2012
บาเซิลกำหนดว่า ธนาคารต้องมีทุนกันชนหลักที่มีวงเงินอย่างน้อย 7 % ของสินทรัพย์ที่ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ภายใต้กฎเกณฑ์เข้มงวดที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคตนั้น ธนาคารจำเป็นต้องมีกันชนอีกประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยเงินสดและพันธบัตรรัฐบาล โดยกันชนประเภทนี้มีชื่อเรียกว่าอัตราส่วนสำรองสภาพคล่อง (liquidity coverage ratio หรือ LCR) เพื่อที่ธนาคารจะได้รับมือกับเหตุร้ายแรงในตลาดได้เป็นเวลานานหนึ่งเดือนโดยไม่จำเป็นต้องได้รับความ ช่วยเหลือจากภายนอก
กฎเกณฑ์นี้ใช้กับธนาคารทุกแห่ง แต่ธนาคารขนาดใหญ่มากที่มีความสำคัญต่อระบบจำเป็นต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติม โดยธนาคารกลุ่มนี้รวมถึง HSBC, เจพี มอร์แกน, ซิตี้กรุ๊ป และดอยช์ แบงก์ EBA ระบุว่า ขณะนี้ธนาคารชั้นนำ 42 แห่งของอียูถือครองสภาพคล่องสูงกว่าปริมาณที่จำเป็นต้องดำรงไว้ในปี 2019 แล้ว โดยในอังกฤษนั้น ธนาคารชั้นนำได้รับการสนับสนุนให้นำสภาพคล่องส่วนเกินของตนมาปล่อยกู้เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี EBA ระบุว่า ธนาคารอีก 128 แห่งในการสำรวจของ EBA ซึ่งเป็นธนาคารขนาดเล็กที่เน้นการทำธุรกิจภายในประเทศ ต้องดำรงสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 2.25 แสนล้านยูโรจึงจะบรรลุเกณฑ์ที่วางไว้
มาตรการที่ 3 ในข้อตกลงบาเซิลคือ leverage ratio ซึ่งกำหนดให้ธนาคารถือครองเงินกองทุนอย่างน้อย 3 % ของสินทรัพย์ทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงของธุรกรรม (non risk-weighted assets) มาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ธนาคารมีทุนสำรองไว้ใช้ ในกรณีที่ธนาคารคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงผิดพลาดในการดำรงเงินกองทุนหลัก ขณะที่ผู้ควบคุมกฎระเบียบในอังกฤษได้ผลักดันให้ธนาคารอังกฤษทำตามเป้าหมายนี้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ธนาคารบาร์เคลย์สในอังกฤษกำลังระดมทุน 6 พันล้านปอนด์ (9.6 พันล้านดอลลาร์) โดยผ่านทางการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมาย leverage ratio ใหม่นี้ ขณะที่ธนาคารดอยช์ แบงก์ของเยอรมนีได้ระดมทุน 2.8 พันล้านยูโรในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา EBA ระบุว่า ในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ 40 แห่งที่ EBA สำรวจข้อมูลมานั้น leverage ratio โดยเฉลี่ยของธนาคารกลุ่มนี้อยู่ที่ 2.9 % และธนาคาร 17 แห่งในจำนวนนี้มี leverage ratio อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 3 % โดยธนาคารกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับเพิ่มเงินกองทุนของตนขึ้นอีก 1.07 แสนล้านยูโร
EBA และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะตรวจสอบสถานะของธนาคารทั่วอียูในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยผลการตรวจสอบนี้อาจแสดงให้เห็นว่าธนาคาร ต้องปรับเพิ่มเงินกองทุนมากเพียงใด
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
อย่างไรก็ดี ธนาคารขนาดใหญ่ประสบความคืบหน้าในการเพิ่มเงินกองทุนในช่วงที่ผ่านมา โดยปริมาณการขาดแคลนเงินทุนลดลงเหลือ 8.3 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 ในขณะที่ธนาคารหลายแห่งเก็บผลกำไรของตนเองเอาไว้ และระดมทุนเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีธนาคารในยุโรปดำเนินการล่าช้ากว่าธนาคารในภูมิภาคอื่นๆในการปรับปรุงด้านเงินทุน
คณะกรรมการบาเซิลที่ประกอบด้วยผู้ควบคุมกฎระเบียบจากทั่วโลกระบุว่า ในการคำนวณว่าธนาคารชั้นนำทั่วโลกขาดแคลนเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ทางคณะกรรรมการได้ใช้หลักเกณฑ์ที่ว่าธนาคารกลุ่มนี้จำเป็นต้องดำรงเงินกองทุนหลักขั้นต่ำ 7 % และธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 28 แห่งต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติมอีกด้วย โดยการคำนวณตัวเลขนี้ตั้งอยู่บนงบดุลของธนาคารในช่วงสิ้นปี 2012
กฎเงินกองทุนใหม่นี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่จนกว่าจะถึงปี 2019 และนักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารจะสามารถหาเงินมาชดเชยส่วนที่ขาดไป โดยธนาคารส่วนใหญ่จะใช้วิธีนำผลกำไรมาเสริมความแข็งแกร่งให้แก่งบดุลของทางธนาคาร แทนที่จะใช้วิธีออกหุ้นใหม่
อย่างไรก็ดี เงินทุนที่ยังขาดอยู่ตอกย้ำให้เห็นว่า ภาคธนาคารยังคงประสบความยากลำบากในการทำให้กิจการกลับมามีสถานะแข็งแกร่งหลังจากวิกฤติการเงินเมื่อ 5 ปีก่อนทำให้เงินทุนของธนาคารลดลง อย่างรุนแรง และเงินทุนที่ขาดไปนี้ยังสะท้อนให้เห็นอีกด้วยว่ามีการปรับเพิ่มมาตรฐานเงินกองทุนให้สูงขึ้นมากในภาคธนาคาร
ธนาคารในสหภาพยุโรป (อียู) ดำรงเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ราว 7 หมื่นล้านยูโร หรือราว 61 % ของเงินทุนที่ขาดไปทั่วโลก ขณะที่สำนักงานการธนาคารยุโรป (EBA) ประเมินว่า เงินทุนที่ขาดไปในธนาคารในอียูลดลงราว 2.9 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 ตลาดพยายามกดดันภาคธนาคารให้รีบดำเนินการอย่างรวดเร็วในการปฏิบัติตามข้อตกลง Basel III เพื่อจะได้ขจัดข้อสงสัยที่มีต่อความสามารถของธนาคารแต่ละแห่งในการทำกำไร และเพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นและหุ้นกู้ของธนาคารแห่งนั้น
ข้อตกลงบาเซิลได้ปรับสัดส่วนเงินกองทุนที่ธนาคารต้องดำรงไว้ขึ้นเป็น 3 เท่าของระดับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินปี 2007-2009 เนื่องจากในช่วงนั้นธนาคารหลายแห่งดำรงเงินกองทุนต่ำเกินไป และส่งผลให้รัฐบาลต้องนำเงินของผู้เสียภาษีมาใช้ในการกอบกู้ธนาคารกลุ่มนี้ คณะกรรมการบาเซิลระบุว่า ธนาคารทั่วโลก 101 แห่งที่อยู่ในการ สำรวจครั้งนี้ มีกำไรหลังหักภาษีก่อนการจัดสรรราว 4.19 แสนล้านยูโร ในปี 2012
บาเซิลกำหนดว่า ธนาคารต้องมีทุนกันชนหลักที่มีวงเงินอย่างน้อย 7 % ของสินทรัพย์ที่ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ภายใต้กฎเกณฑ์เข้มงวดที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคตนั้น ธนาคารจำเป็นต้องมีกันชนอีกประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยเงินสดและพันธบัตรรัฐบาล โดยกันชนประเภทนี้มีชื่อเรียกว่าอัตราส่วนสำรองสภาพคล่อง (liquidity coverage ratio หรือ LCR) เพื่อที่ธนาคารจะได้รับมือกับเหตุร้ายแรงในตลาดได้เป็นเวลานานหนึ่งเดือนโดยไม่จำเป็นต้องได้รับความ ช่วยเหลือจากภายนอก
กฎเกณฑ์นี้ใช้กับธนาคารทุกแห่ง แต่ธนาคารขนาดใหญ่มากที่มีความสำคัญต่อระบบจำเป็นต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติม โดยธนาคารกลุ่มนี้รวมถึง HSBC, เจพี มอร์แกน, ซิตี้กรุ๊ป และดอยช์ แบงก์ EBA ระบุว่า ขณะนี้ธนาคารชั้นนำ 42 แห่งของอียูถือครองสภาพคล่องสูงกว่าปริมาณที่จำเป็นต้องดำรงไว้ในปี 2019 แล้ว โดยในอังกฤษนั้น ธนาคารชั้นนำได้รับการสนับสนุนให้นำสภาพคล่องส่วนเกินของตนมาปล่อยกู้เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี EBA ระบุว่า ธนาคารอีก 128 แห่งในการสำรวจของ EBA ซึ่งเป็นธนาคารขนาดเล็กที่เน้นการทำธุรกิจภายในประเทศ ต้องดำรงสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 2.25 แสนล้านยูโรจึงจะบรรลุเกณฑ์ที่วางไว้
มาตรการที่ 3 ในข้อตกลงบาเซิลคือ leverage ratio ซึ่งกำหนดให้ธนาคารถือครองเงินกองทุนอย่างน้อย 3 % ของสินทรัพย์ทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงของธุรกรรม (non risk-weighted assets) มาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ธนาคารมีทุนสำรองไว้ใช้ ในกรณีที่ธนาคารคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงผิดพลาดในการดำรงเงินกองทุนหลัก ขณะที่ผู้ควบคุมกฎระเบียบในอังกฤษได้ผลักดันให้ธนาคารอังกฤษทำตามเป้าหมายนี้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ธนาคารบาร์เคลย์สในอังกฤษกำลังระดมทุน 6 พันล้านปอนด์ (9.6 พันล้านดอลลาร์) โดยผ่านทางการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมาย leverage ratio ใหม่นี้ ขณะที่ธนาคารดอยช์ แบงก์ของเยอรมนีได้ระดมทุน 2.8 พันล้านยูโรในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา EBA ระบุว่า ในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ 40 แห่งที่ EBA สำรวจข้อมูลมานั้น leverage ratio โดยเฉลี่ยของธนาคารกลุ่มนี้อยู่ที่ 2.9 % และธนาคาร 17 แห่งในจำนวนนี้มี leverage ratio อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 3 % โดยธนาคารกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับเพิ่มเงินกองทุนของตนขึ้นอีก 1.07 แสนล้านยูโร
EBA และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะตรวจสอบสถานะของธนาคารทั่วอียูในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยผลการตรวจสอบนี้อาจแสดงให้เห็นว่าธนาคาร ต้องปรับเพิ่มเงินกองทุนมากเพียงใด
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group