xs
xsm
sm
md
lg

2 แบงก์ใหญ่ให้เงินทุนหนุน"พอลสัน"ซื้อกิจการ"สไตน์เวย์"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

        ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ และธนาคารดอยช์ แบงก์  ตกลงที่จะจัดหาเงินทุนให้แก่บริษัทพอลสัน แอนด์ โค ในการเข้าซื้อหุ้นที่มี อำนาจควบคุมใน บริษัทสไตน์เวย์ มิวสิคัล อินสตรูเมนท์  ซึ่งทำธุรกิจออกแบบ, ผลิต และทำการตลาดเครื่องดนตรี 
        การเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้จะใช้เงินทุนที่ได้จากการจำหน่ายตราสารหนี้ใหม่และเงินทุนของพอลสัน ซึ่งเป็นบริษัทกองทุนเฮดจ์ฟันด์  
        บริษัทสไตน์เวย์ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้ผลิตแกรนด์เปียโน ประกาศ เรื่องการทำข้อตกลงเพื่อให้พอลสันเข้าซื้อกิจการในวันที่ 14 ..ที่ผ่านมา โดยพอลสันจะเข้าซื้อหุ้นสไตน์เวย์ในราคา 40 ดอลลาร์ต่อหุ้น และข้อตกลงนี้ มีมูลค่าราว 512 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ีจะเสร็จสิ้นลงในช่วงปลายเดือนก.
        ก่อนหน้านี้สไตน์เวย์ประกาศในวันที่ 1 ..ว่า บริษัทแห่งหนึ่งในเครือ โคห์ลเบิร์ก แอนด์ คอมปานี จะเข้าซื้อหุ้นสไตน์เวย์ในราคา 35 ดอลลาร์ต่อหุ้น  โดยการทำธุรกรรมดังกล่าวมีมูลค่าราว 438 ล้านดอลลาร์  
        อย่างไรก็ดี สไตน์เวย์ได้ยกเลิกการทำข้อตกลงกับโคห์ลเบิร์กในเวลาต่อมา และจ่ายค่าธรรมเนียมในการยกเลิกราว 6.7 ล้านดอลลาร์ให้แก่โคห์ลเบิร์ก  โดยข้อเสนอของพอลสันมีราคาสูงกว่าราคาหุ้นสไตน์เวย์ก่อนที่โคห์ลเบิร์กจะ  ยืนเสนอซื้อราว 31.4 % ราคาหุ้นสไตน์เวย์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 41.60 ดอลลาร์ในวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้่ว่านักลงทุนคาดหวังว่าจะมีการปรับราคาเสนอซื้อให้สูงขึ้นไปอีก 
        นายอาร์โนลด์ อัวร์ซาเนอร์ นักวิเคราะห์ของบล.ซีเจเอส กล่าวว่า สไตน์เวย์ซึ่งมีอายุ 160 ปีผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองรสนิยมของคนรวยและคนดัง และตลาดสินค้าประเภทนี้มักจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ 
        นายอัวร์ซาเนอร์กล่าวว่า "เมื่อคุณพิจารณายี่ห้อสินค้าหรูหราในตลาดโลก มูลค่าของสินค้าประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละคน  โดยผมมองว่าสิ่งนี้ไม่ต่างไปจากงานศิลปะ เพราะบางคนเต็มใจที่จะจ่ายเงิน สำหรับสินทรัพย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้ ซึ่งธุรกิจเปียโนของสไตน์เวย์ ถือว่ามีเพดดิกรีที่ดี และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีการเสนอขายธุรกิจประเภทนี้
        การกู้เงินเพื่อนำมาซื้อหุ้นของสไตน์เวย์ ถือเป็นการทำข้อตกลงแบบ ผิดปกติของนายจอห์น พอลสัน เจ้าของกองทุนพอลสัน แอนด์ โค โดยนายพอลสันเคยมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาในปี 2007 เนื่องจากเขาลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า ตลาดหนี้จำนองซับไพร์มจะตกต่ำลง และหลังจากนั้นตลาดก็ตกต่ำลงจริงตามที่เขาคาดการณ์ นอกจากนี้ เขายังประสบความสำเร็จอีกครั้งในปี 2009 ด้วยการลงทุนตามการคาดการณ์ในทางบวกต่อราคาทอง 
        นายพอลสันระบุในแถลงการณ์ว่า "เรามีความภาคภูมิใจที่จะได้ให้การสนับสนุนสไตน์เวย์ในการสืบทอดชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตเปียโน ชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นชื่อเสียงที่เกิดจากความมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อในการรักษาคุณภาพ และนักเปียโนที่เข้มงวดมากที่สุดด้านคุณภาพเปียโนเกือบทั่วทั้งโลกก็มีความชื่นชมต่อเปียโนสไตน์เวย์" นายพอลสันกล่าวเสริมว่า เขาไม่มีแผนที่จะปิด, โยกย้าย หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานทางการผลิตใดๆของสไตน์เวย์ 
        สไตน์เวย์ระบุว่า พอลสัน แอนด์ โคปรับเพิ่มราคาในข้อเสนอซื้อ 40 ดอลลาร์ต่อหุ้น จากเดิมที่ 38 ดอลลาร์ หลังจากบริษัทซามิค มิวสิคัล อินสตรูเมนท์ส โค ลิมิเต็ดของเกาหลีใต้ยื่นเสนอซื้อสไตน์เวย์ในราคา 39 ดอลลาร์ต่อหุ้น 
         ทางด้านโคห์ลเบิร์ก แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทกองทุนร่วมทุนเอกชน  สละสิทธิในการยื่นข้อเสนอซื้อใหม่ที่มีราคาเท่ากับหรือสูงกว่าข้อเสนอของ พอลสัน  
        สไตน์เวย์ระบุว่า การทำข้อตกลงกับพอลสันในครั้งนี้ไม่เปิดโอกาสให้มี  ช่วงเวลาสำหรับการ "go-shop" หรือช่วงเวลาที่สไตน์เวย์สามารถเรียกร้องให้บริษัทอื่นๆยื่นข้อเสนอซื้อแข่งขันกับพอลสัน อย่างไรก็ดี สไตน์เวย์ ได้รับอนุญาตให้สามารถตกลงยอมรับข้อเสนอที่มีมูลค่าสูงกว่าของพอลสันได้ภายในเวลา 25 วัน หรือจนกว่าข้อเสนอซื้อของพอลสันจะปิดลง 
        สไตน์เวย์จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการยกเลิกข้อตกลงราว 13.4 ล้านดอลลาร์ให้แก่พอลสัน ถ้าหากสไตน์เวย์ยอมรับข้อเสนอซื้อจากผู้อื่น 
        ซามิคครอบครองหุ้นเกือบ 1 ใน 3 ในสไตน์เวย์ในปัจจุบัน  
        ทั้งนี้ ศิลปินชื่อดังในอดีต อย่างเช่นโคล พอร์เตอร์ และเซอร์ไก  ราคมานินอฟ ต่างก็เคยใช้เปียโนของสไตน์เวย์ และศิลปินร่วมสมัยอย่างเช่น Lang Lang ของจีนก็ใช้เปียโนนี้ด้วย 
        ซามิคได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 1958 และทำธุรกิจผลิตเปียโนอยู่แล้วในสหรัฐ โดยซามิคมีกำลังการผลิตกีตาร์กว่า 500,000 เครื่องต่อปีโดยใช้โรงงานในเกาหลีใต้, อินโดนีเซีย, จีน และสหรัฐ 
        สไตน์เวย์ผลิตเครื่องดนตรีหลายแบรนด์ด้วยกัน ซึ่งรวมถึงทรัมเปต แบรนด์บาค สตราดิวาริอุส, แซกโซโฟนแบรนด์เซลเมอร์ ปารีสเฟรนช์ ฮอร์นแบรนด์ซี.จี. คอนน์, แคลริเน็ตแบรนด์เลอบลังก์, ทรอมโบนแบรนด์คิง และกลองแต็กแบรนด์ลุดวิก 
        อย่างไรก็ดี ยอดขายของสไตน์เวย์อยู่ในภาวะซบเซาในช่วงที่ผ่านมา  และสไตน์เวย์ประสบความยากลำบากในการรักษาอัตราผลกำไรให้สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ โดยยอดขายของสไตน์เวย์ขยับขึ้นเพียง 2 % ในปี  2012 
        สไตน์เวย์เคยระบุในเดือนธ..2012 ว่า สไตน์เวย์ตัดสินใจไม่ขายบริษัท หลังจากทบทวนทางเลือกทางยุทธศาสตร์มานาน 17 เดือน 
        สไตน์เวย์เพิ่งเสร็จสิ้นจากการขายสิทธิเช่าในอาคารสไตน์เวย์ ฮอลล์ ในแมนฮัตตันในเดือนมิ.. โดยขายให้แก่ห้างหุ้นส่วนที่นำโดยบริษัท เจดีเอส ดีเวลอปเมนท์ กรุ๊ปในวงเงิน 46.3 ล้านดอลลาร์ นายอัวร์ซาร์เนอร์กล่าวว่า ข้อเสนอซื้อของพอลสันในครั้งนี้มีมูลค่าราว  10-15 เท่าของกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของสไตน์เวย์ในปัจจุบัน
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
 
T.Thammasak
กำลังโหลดความคิดเห็น