นักลงทุนต่างชาติเทขายหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. และขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในเดือนมิ.ย. ในระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
กระทรวงการคลังสหรัฐรายงานว่า นักลงทุนต่างชาติเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 4.08 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. หลังจากเข้าซื้อ 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
นายไมเคิล วูลโฟล์ค นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารแบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอน กล่าวว่า ปริมาณการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในเดือนมิ.ย.ปีนี้ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กระทรวงการคลัง สหรัฐเริ่มจัดทำตัวเลขนี้ในปี 1977 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ มีแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐออกมาเป็นจำนวนมาก หลังจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันที่ 22 พ.ค.ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยนักลงทุนคาดว่าเฟดจะเริ่มปรับลด QE ในเดือนก.ย.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเคลื่อนตัวในระดับต่ำกว่า 2.0 % ในเดือนเม.ย. และเคลื่อนตัวในกรอบ 1.6140-2.2350 % ในเดือนพ.ค. แต่อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในเดือนมิ.ย.ที่ 2.6670 %
นายวูลโฟล์คกล่าวว่า "แรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับถ้อยแถลงของนายเบอร์นันเก้เรื่องการปรับลด QE" และเขากล่าวเสริมว่า "นายเบอร์นันเก้กล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งในเดือน มิ.ย. และถ้อยแถลงของเขาก็สร้างความปั่นป่วนในตลาด"
กระทรวงการคลังสหรัฐรายงานว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐจำนวน 6.69 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. โดยตัวเลขนี้ครอบคลุมพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วย ทั้งนี้ ปริมาณเม็ดเงินไหลออก 6.69 หมื่นล้านดอลลาร์นี้ ถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2007 เป็นต้นมา หรือนับตั้งแต่เกิดวิกฤติหนี้ซับไพร์มในสหรัฐในปี 2007
เมื่อนำตัวเลขสินทรัพย์ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลังสหรัฐ มาคำนวณด้วยแล้ว นักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิสินทรัพย์สหรัฐ 1.9 หมื่ืนล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. หลังจากเข้าซื้อสุทธิ 5.66 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
จีน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ปรับลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงสู่ 1.2758 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. ส่วนญี่ปุ่นลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงสู่ 1.0834 ล้านล้านดอลลาร์ โดยถือเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันสำหรับญี่ปุ่น
จีนและญี่ปุ่นขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นจำนวนรวมกัน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย.
นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนในหุ้นสหรัฐด้วยเช่นกัน โดยได้ถอนเงินลงทุน 2.6841 หมื่นล้านดอลลาร์ออกจากหุ้นสหรัฐในเดือน มิ.ย. หลังจากขายหุ้นสหรัฐ 8.62 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
นักลงทุนต่างชาติขายตราสารหนี้ของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ (agency) เป็นจำนวน 5.2 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. หลังจากขายไปแล้ว 1.03 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ ยังได้ขายหุ้นกู้เอกชนของสหรัฐ 4.98 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนมิ.ย. หลังจากเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชนสหรัฐ 7.6 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนพ.ค
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
กระทรวงการคลังสหรัฐรายงานว่า นักลงทุนต่างชาติเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 4.08 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. หลังจากเข้าซื้อ 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
นายไมเคิล วูลโฟล์ค นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารแบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอน กล่าวว่า ปริมาณการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในเดือนมิ.ย.ปีนี้ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กระทรวงการคลัง สหรัฐเริ่มจัดทำตัวเลขนี้ในปี 1977 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ มีแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐออกมาเป็นจำนวนมาก หลังจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันที่ 22 พ.ค.ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยนักลงทุนคาดว่าเฟดจะเริ่มปรับลด QE ในเดือนก.ย.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเคลื่อนตัวในระดับต่ำกว่า 2.0 % ในเดือนเม.ย. และเคลื่อนตัวในกรอบ 1.6140-2.2350 % ในเดือนพ.ค. แต่อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในเดือนมิ.ย.ที่ 2.6670 %
นายวูลโฟล์คกล่าวว่า "แรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับถ้อยแถลงของนายเบอร์นันเก้เรื่องการปรับลด QE" และเขากล่าวเสริมว่า "นายเบอร์นันเก้กล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งในเดือน มิ.ย. และถ้อยแถลงของเขาก็สร้างความปั่นป่วนในตลาด"
กระทรวงการคลังสหรัฐรายงานว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐจำนวน 6.69 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. โดยตัวเลขนี้ครอบคลุมพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วย ทั้งนี้ ปริมาณเม็ดเงินไหลออก 6.69 หมื่นล้านดอลลาร์นี้ ถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2007 เป็นต้นมา หรือนับตั้งแต่เกิดวิกฤติหนี้ซับไพร์มในสหรัฐในปี 2007
เมื่อนำตัวเลขสินทรัพย์ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลังสหรัฐ มาคำนวณด้วยแล้ว นักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิสินทรัพย์สหรัฐ 1.9 หมื่ืนล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. หลังจากเข้าซื้อสุทธิ 5.66 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
จีน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ปรับลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงสู่ 1.2758 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. ส่วนญี่ปุ่นลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงสู่ 1.0834 ล้านล้านดอลลาร์ โดยถือเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันสำหรับญี่ปุ่น
จีนและญี่ปุ่นขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นจำนวนรวมกัน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย.
นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนในหุ้นสหรัฐด้วยเช่นกัน โดยได้ถอนเงินลงทุน 2.6841 หมื่นล้านดอลลาร์ออกจากหุ้นสหรัฐในเดือน มิ.ย. หลังจากขายหุ้นสหรัฐ 8.62 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
นักลงทุนต่างชาติขายตราสารหนี้ของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ (agency) เป็นจำนวน 5.2 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. หลังจากขายไปแล้ว 1.03 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ ยังได้ขายหุ้นกู้เอกชนของสหรัฐ 4.98 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนมิ.ย. หลังจากเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชนสหรัฐ 7.6 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนพ.ค
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak