กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการญี่ปุ่นกำลังพิจาณาเปลี่ยนแปลงกลยุทธการลงทุนจากท่าทีที่ระมัดระวังเป็นพิเศษไปเป็นการลงทุน ในหุ้นมากขึ้นจากกองทุนทั้งหมด 8 หมื่นล้านดอลลาร์ และลงทุนน้อยลงใน พันธบัตรรัฐบาล
ทั้งนี้ การดำเนินการของสหพันธ์ Federation of National Public Service Personnel Mutual Aid Associations ซึ่งครอบคลุมข้าราชการปัจจุบันและเกษียณอายุจำนวน 1.24 ล้านคนนั้น เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงกลยุทธการลงทุนของกองทุน Government Pension Investment Fund (GPIF) ของญี่ปุ่นไปสู่การลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดย GPIF เป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีสินทรัพย์ 1.2 ล้านดอลลาร์
นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี กำลังผลักดันให้กองทุนสาธารณะเพิ่มผลตอบแทนอันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย กลยุทธการขยายตัวของเขาจะเป็นการลงทุนด้วยเงินออมสาธารณะจำนวน มากของญี่ปุ่น อาทิ GPIF และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
การตัดสินใจของสหพันธ์ข้าราชการซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นราวฤดูใบไม้ร่วงยังแสดงถึงอิทธิพลของ GPIF แม้กองทุน GPIF เพียงแค่ปรับกลยุทธการลงทุน แต่อำนาจทางการเงินระดับสูงบ่งชี้ถึงแนวโน้มการชะลอตัวลงครั้งใหญ่ของการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุน ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมากอันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุก
"คาดว่าสหพันธ์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบพอร์ตลงทุนซึ่งมีการลงทุนอย่างมากในพันธบัตรญี่ปุ่น" แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยกับรอยเตอร์ "ทางสหพันธ์กำลังพิจารณาปรับกลยุทธการลงทุนไปสู่การลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งหลังการเปลี่ยนแปลงของ GPIF"
เจ้าหน้าที่กองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า สหพันธ์ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง จะทำการทบทวนพอร์ตการลงทุนทุกๆปี
เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า กองทุนสาธารณะดังกล่าวจะพิจารณาการปรับตัวของตลาดที่สำคัญนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาเมื่อทำการทบทวนพอร์ตการลงทุน แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียด เนื่องจากเนื้อหาของการทบทวนอาจอ่อนไหวต่อตลาดการเงิน
แหล่งข่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า กองทุนข้าราชการได้เริ่มร่วมงานกับบริษัทที่ปรึกษากองทุนบำเหน็จบำนาญเอกชนในเดือนมิ.ย.เพื่อทบทวนรูปแบบพอร์ตการลงทุน
การทบทวนจะพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นภายในประเทศและการร่วงลงของค่าเงินเยนที่เกิดจากนโยบายเงินเฟ้อ"อาเบะโนมิกส์" และอาจนำไปสู่การปรับลดน้ำหนักการลงทุนเกือบ 80% ในพันธบัตรรัฐบาล และเพิ่มการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นจากระดับ 5%
ตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวขึ้น 65% และเยนร่วงลง 20% เมื่อเทียบกับดอลลาร์นับตั้งแต่กลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาเมื่อนายอาเบะมีแนวโน้มได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแสดงความมุ่งมั่นที่จะดึงญี่ปุ่นออกจาก ภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมา 15 ปี รวมถึงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา
GPIF ซึ่งมีสินทรัพย์ 1.2 ล้าน้ลานดอลลาร์นั้นได้เพิ่มการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นขึ้นสู่ 12% ของพอร์ตในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาจากระดับ 11% ขณะที่ลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลงสู่ 60% จาก 67% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงกลยุทธพอร์ทการลงทุนครั้งสำคัญที่สุดนับตั้งแต่กองทุนจัดตั้งขึ้นในปี 2001
ณ สิ้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สหพันธ์ลงทุน 78.8% ของพอร์ทการลงทุนมูลค่า 7.8 ล้านล้านเยน (7.912 หมื่นล้านดอลลาร์) ในพันธบัตรญี่ปุ่น,ลงทุน 6.8% ในหุ้นญี่ปุ่น, 1.2% ในพันธบัตรต่างประเทศ, 5.3% ในหุ้นต่างประเทศ, 2.7% ในสินทรัพย์ระยะสั้น, 2.2% ในอสังหาริมทรัพย์และ 3.0% ในเงินกู้
รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นในเดือนที่ผ่านมาเพื่อทบทวนกลยุทธการลงทุนของกองทุนสาธารณะซึ่งถือครองสินทรัพย์รวมกันมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์
คณะกรรมการดังกล่าวซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 7 คนกำลังพิจารณาแนวทางที่จะปรับปรุงการกำกับดูแลกองทุนสาธารณะและพิจารณาการปรับปรุงผลตอบแทนการลงทุนด้วยการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้นและสินทรัพย์ต่างประเทศ ขณะที่อายุการทำงานและการใช้จ่ายของประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
คณะกรรมการมีกำหนดที่จะได้ข้อสรุปในฤดูใบไม้ร่วงและตั้งเป้าที่จะ ดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวภายในเดือนเม.ย. 2015 ตามกลยุทธการขยายตัวของนายอาเบะ
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ การดำเนินการของสหพันธ์ Federation of National Public Service Personnel Mutual Aid Associations ซึ่งครอบคลุมข้าราชการปัจจุบันและเกษียณอายุจำนวน 1.24 ล้านคนนั้น เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงกลยุทธการลงทุนของกองทุน Government Pension Investment Fund (GPIF) ของญี่ปุ่นไปสู่การลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดย GPIF เป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีสินทรัพย์ 1.2 ล้านดอลลาร์
นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี กำลังผลักดันให้กองทุนสาธารณะเพิ่มผลตอบแทนอันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย กลยุทธการขยายตัวของเขาจะเป็นการลงทุนด้วยเงินออมสาธารณะจำนวน มากของญี่ปุ่น อาทิ GPIF และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
การตัดสินใจของสหพันธ์ข้าราชการซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นราวฤดูใบไม้ร่วงยังแสดงถึงอิทธิพลของ GPIF แม้กองทุน GPIF เพียงแค่ปรับกลยุทธการลงทุน แต่อำนาจทางการเงินระดับสูงบ่งชี้ถึงแนวโน้มการชะลอตัวลงครั้งใหญ่ของการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุน ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมากอันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุก
"คาดว่าสหพันธ์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบพอร์ตลงทุนซึ่งมีการลงทุนอย่างมากในพันธบัตรญี่ปุ่น" แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยกับรอยเตอร์ "ทางสหพันธ์กำลังพิจารณาปรับกลยุทธการลงทุนไปสู่การลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งหลังการเปลี่ยนแปลงของ GPIF"
เจ้าหน้าที่กองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า สหพันธ์ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง จะทำการทบทวนพอร์ตการลงทุนทุกๆปี
เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า กองทุนสาธารณะดังกล่าวจะพิจารณาการปรับตัวของตลาดที่สำคัญนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาเมื่อทำการทบทวนพอร์ตการลงทุน แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียด เนื่องจากเนื้อหาของการทบทวนอาจอ่อนไหวต่อตลาดการเงิน
แหล่งข่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า กองทุนข้าราชการได้เริ่มร่วมงานกับบริษัทที่ปรึกษากองทุนบำเหน็จบำนาญเอกชนในเดือนมิ.ย.เพื่อทบทวนรูปแบบพอร์ตการลงทุน
การทบทวนจะพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นภายในประเทศและการร่วงลงของค่าเงินเยนที่เกิดจากนโยบายเงินเฟ้อ"อาเบะโนมิกส์" และอาจนำไปสู่การปรับลดน้ำหนักการลงทุนเกือบ 80% ในพันธบัตรรัฐบาล และเพิ่มการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นจากระดับ 5%
ตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวขึ้น 65% และเยนร่วงลง 20% เมื่อเทียบกับดอลลาร์นับตั้งแต่กลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาเมื่อนายอาเบะมีแนวโน้มได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแสดงความมุ่งมั่นที่จะดึงญี่ปุ่นออกจาก ภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมา 15 ปี รวมถึงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา
GPIF ซึ่งมีสินทรัพย์ 1.2 ล้าน้ลานดอลลาร์นั้นได้เพิ่มการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นขึ้นสู่ 12% ของพอร์ตในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาจากระดับ 11% ขณะที่ลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลงสู่ 60% จาก 67% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงกลยุทธพอร์ทการลงทุนครั้งสำคัญที่สุดนับตั้งแต่กองทุนจัดตั้งขึ้นในปี 2001
ณ สิ้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สหพันธ์ลงทุน 78.8% ของพอร์ทการลงทุนมูลค่า 7.8 ล้านล้านเยน (7.912 หมื่นล้านดอลลาร์) ในพันธบัตรญี่ปุ่น,ลงทุน 6.8% ในหุ้นญี่ปุ่น, 1.2% ในพันธบัตรต่างประเทศ, 5.3% ในหุ้นต่างประเทศ, 2.7% ในสินทรัพย์ระยะสั้น, 2.2% ในอสังหาริมทรัพย์และ 3.0% ในเงินกู้
รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นในเดือนที่ผ่านมาเพื่อทบทวนกลยุทธการลงทุนของกองทุนสาธารณะซึ่งถือครองสินทรัพย์รวมกันมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์
คณะกรรมการดังกล่าวซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 7 คนกำลังพิจารณาแนวทางที่จะปรับปรุงการกำกับดูแลกองทุนสาธารณะและพิจารณาการปรับปรุงผลตอบแทนการลงทุนด้วยการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้นและสินทรัพย์ต่างประเทศ ขณะที่อายุการทำงานและการใช้จ่ายของประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
คณะกรรมการมีกำหนดที่จะได้ข้อสรุปในฤดูใบไม้ร่วงและตั้งเป้าที่จะ ดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวภายในเดือนเม.ย. 2015 ตามกลยุทธการขยายตัวของนายอาเบะ
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak