ที่ประชุมหาแนวทางลดผลกระทบการปรับขึ้นราคาแอลพีจีสำหรับผู้มีรายได้น้อยยังไร้ข้อสรุปที่ชัดเจน ดังนั้นการขึ้นราคาแอลพีจีที่จะสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาสิ้นพ.ค.นี้ต้องให้”พงษ์ศักดิ์”ตัดสินใจ
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ.เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางลดผลกระทบให้กับผู้มีรายได้น้อย จากการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจี ซึ่งมีนายณอคุณ สิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานว่า ที่ประชุมหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทยอยปรับขึ้นราคาแอลพีจี ภาคครัวเรือนจากที่ตรึงไว้ 18.13 บาทต่อกิโลกรัมจนถึงสิ้นพ.ค.นี้โดยยังไม่มีข้อสรุปถึงวิธีการจ่ายเงินและจำนวนผู้มีรายได้น้อยชัดเจนนักโดยเฉพาะกลุ่มหาบเร่แผงลอย ดังนั้นราคาแอลพีจีครัวเรือนจะปรับขึ้นในเดือนมิ.ย.นี้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานจะตัดสินใจ
สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้ที่จะช่วยเหลือ ยังเป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมีประมาณ 7.2 ล้านครัวเรือน และกลุ่มเห่แผงลอย ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีตัวเลขเท่าใด หลังจากกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่า มีไม่ตำกว่า 5 แสนราย ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตล่าสุดจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นได้ 1.9 แสนราย โดยการขยับขึ้นราคาแอลพีจี ครัวเรือน ตามแนวทางเดิม จะทยอยขยับขึ้นกิโลกรัมละ 50 สตางค์ต่อเดือน และปรับเป็น24.82 บาท/กก.ในสิ้นปีนี้. จากการตรึงราค่ที่18.13 บาท/กก.ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ควรลดขั้นตอนการจ่ายเงินช่วยเหลือ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาดูแล เพื่อป้องกันการรั่วไหลซึ่งได้มอบหมายให้บมจ.ปตท.ไปจัดทำรายละเอียด ขณะเดียวกัน สนพ. ได้ถอนเรื่องที่ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความว่าจะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปอุดหนุนผู้มีรายได้น้อยโดยตรงได้หรือไม่ เบื้องต้น วิธีการอุดหนุนจะใช้รูปแบบเดิม คือจ่ายผ่านผู้ค้ามาตรา 7 เช่นเดิม แต่จะกำหนดวิธีการให้ถึงรายย่อยอย่างโปร่งใส
"การขยับขึ้นราคาแอลพีจี เป็นการลดเงินอุดหนุนคนรวยจากเดิมอุดหนุน 22 ล้านครัวเรือน ก็ลดลง เหลือ เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เท่านั้น แบะไม่กระทบต่อราคาข้าวแกง เพราะกลุ่ทหาบเร่แผงลอยยังได้ก๊าซราครเดิมที่18.13 บาท/กก.". ผอ.สนพ.กล่าว