นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 20 พ.ค.นี้จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการบรรเทาผลกระทบผู้มีรายได้น้อยจากการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนที่มี ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานโดยจะหารือถึงรูปแบบมาตรการบรรเทาผลกระทบผู้มีรายได้ต่ำภายหลังจากที่ได้ว่างจ้างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดทำสำมะโนหาบเร่ แผงลอยเพื่อนำผลมาประมวลเป็นฐานข้อมูล เสร็จสิ้นแล้ว
นายณัฐพล แย้มฉิม. รองประธานธานดำเนินงาน สวนดุสิตโพลล์ กล่าวว่า ผลการเจัดทำสำรวจสำมะโนร้านค้าหาบเร่ แผงลอยและครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนว่าขณะนี้ได้สรุปข้อมูล%จากการลงพื้นที่สำรวจ77จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้ลงพื้นที่ทำการสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 198,467 ราย แยกเป็นจำนวนหาบเร่แผงลอย 169,328 ราย ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช่้ 462 ราย. ครัวเรือนที่ใช้ฟืนในการประกอบอาหาร 14,063ราย และผู้ที่ไม่ยินดีให้ข้อมูล14,614 ราย ซึ่งได้นำข้อมูลดังกล่าวรายงานไปยังกระทรวงพลังงานแล้ว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจี กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับขึ้นราคาแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนจริงจากปัจจุบันตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)ซึ่งจะสิ้นสุดถึง 31 พ.ค.นั้นแต่ขณะนี้รูปแบบมาตรการชดเชยเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำยังไม่ชัดเจนและการสำรวจผู้ใช้ก็ยังไม่ทั่วถึงนักรัฐบาลจึงควรจะเลื่อนการปรับขึ้นราคาออกไปก่อนจนกว่าจะชัดเจนถึงแนวทางดังกล่าวเพราะขณะนี้ลูกค้าบางส่วนได้ร้องเรียนกับร้านจำหน่ายแอลพีจีว่าตกสำรวจ
“รูปแบบการชดเชยเงินให้กับผู้มีรายได้น้อยจะโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารก็ยังไม่ชัดเจนว่าค่าธรรมเนียมใครจะจ่ายจะดิวกับธนาคารใด ผมคิดว่าขั้นตอนเหล่านี้น่าจะใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ซึ่งการสำรวจเพิ่มเติมผมคิดว่าร้านค้าจะช่วยได้มาก” นายชิษณุพงศ์กล่าว
สำหรับการขึ้นแอลพีจีมีจากที่หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเร็วๆ นี้ทางร้านค้าได้ให้ความร่วมมือที่เดือนแรกจะต้องขึ้น 50 สตางค์ต่อกก.จากราคา 18.13 บาทต่อกก.ไปอยู่ที่ 18.63 บาทต่อกก.กรณีถัง 15 กก.ขณะนี้เฉลี่ยที่ 295 บาทต่อถัง.(รวมค่าขนส่งในระยะไม่เกินรัศมีจากร้านค้า 5 กิโลเมตร) ก็จะต้องปรับอีก 7.50 บาทต่อถังแต่กระทรวงพาณิชย์ขอให้ราคาตัวเลขกลมๆ ไม่เกิน 300 บาทต่อถัง 15 กก.หรือปรับขึ้นเพียง 5 บาทต่อถังโดยร้านค้าจะช่วยรับภาระ 2.50 บาทต่อถังโดยหวังว่าในอนาคตรัฐเองจะช่วยพิจารณาปรับค่าขนส่งให้ร้านค้าเพิ่มขึ้นด้วย .
นายณัฐพล แย้มฉิม. รองประธานธานดำเนินงาน สวนดุสิตโพลล์ กล่าวว่า ผลการเจัดทำสำรวจสำมะโนร้านค้าหาบเร่ แผงลอยและครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนว่าขณะนี้ได้สรุปข้อมูล%จากการลงพื้นที่สำรวจ77จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้ลงพื้นที่ทำการสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 198,467 ราย แยกเป็นจำนวนหาบเร่แผงลอย 169,328 ราย ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช่้ 462 ราย. ครัวเรือนที่ใช้ฟืนในการประกอบอาหาร 14,063ราย และผู้ที่ไม่ยินดีให้ข้อมูล14,614 ราย ซึ่งได้นำข้อมูลดังกล่าวรายงานไปยังกระทรวงพลังงานแล้ว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจี กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับขึ้นราคาแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนจริงจากปัจจุบันตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)ซึ่งจะสิ้นสุดถึง 31 พ.ค.นั้นแต่ขณะนี้รูปแบบมาตรการชดเชยเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำยังไม่ชัดเจนและการสำรวจผู้ใช้ก็ยังไม่ทั่วถึงนักรัฐบาลจึงควรจะเลื่อนการปรับขึ้นราคาออกไปก่อนจนกว่าจะชัดเจนถึงแนวทางดังกล่าวเพราะขณะนี้ลูกค้าบางส่วนได้ร้องเรียนกับร้านจำหน่ายแอลพีจีว่าตกสำรวจ
“รูปแบบการชดเชยเงินให้กับผู้มีรายได้น้อยจะโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารก็ยังไม่ชัดเจนว่าค่าธรรมเนียมใครจะจ่ายจะดิวกับธนาคารใด ผมคิดว่าขั้นตอนเหล่านี้น่าจะใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ซึ่งการสำรวจเพิ่มเติมผมคิดว่าร้านค้าจะช่วยได้มาก” นายชิษณุพงศ์กล่าว
สำหรับการขึ้นแอลพีจีมีจากที่หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเร็วๆ นี้ทางร้านค้าได้ให้ความร่วมมือที่เดือนแรกจะต้องขึ้น 50 สตางค์ต่อกก.จากราคา 18.13 บาทต่อกก.ไปอยู่ที่ 18.63 บาทต่อกก.กรณีถัง 15 กก.ขณะนี้เฉลี่ยที่ 295 บาทต่อถัง.(รวมค่าขนส่งในระยะไม่เกินรัศมีจากร้านค้า 5 กิโลเมตร) ก็จะต้องปรับอีก 7.50 บาทต่อถังแต่กระทรวงพาณิชย์ขอให้ราคาตัวเลขกลมๆ ไม่เกิน 300 บาทต่อถัง 15 กก.หรือปรับขึ้นเพียง 5 บาทต่อถังโดยร้านค้าจะช่วยรับภาระ 2.50 บาทต่อถังโดยหวังว่าในอนาคตรัฐเองจะช่วยพิจารณาปรับค่าขนส่งให้ร้านค้าเพิ่มขึ้นด้วย .