แมงเม้าท์เล่าอินไซด์มาแล้วจร้า สัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นไทยก็ยังขึ้นแบบหฤหรรษ และยังคงยืนเหนือ 1620 จุดได้สำเร็จ แม้ว่าจะมีการตบลงมาบ้าง แต่ระดับ 1610 จุด ก็พยายามช้อนซื้อตลอด เรียกได้ว่าค่อนข้างที่แกร่ง จนกระทั้งปิดปลายสัปดาห์ที่ระดับ
1,627.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.34% จากสัปดาห์ก่อน คราวนี้ก็อยู่ที่ว่า 1,630 จุด จะปิดยืนอย่างแกร่งๆ ได้เมื่อไหร่เท่านั้น
ทว่าหากมาดูตลาดหุ้นต่างประเทศปรากฎว่ายังคงสดใสอย่างต่อเนื่อง ดาวโจนส์ปิดทะยานนิวไฮไม่หยุดมาแตะที่ 15,354.40 จุด S&P 500 ปิดแตะที่ 1,667.47 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดแตะที่ 3,498.97 จุด เรียกได้ว่า วิ่งไม่หยุด จากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า
ชาวอเมริกันมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินในช่วงต้นเดือนพ.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี ขณะที่ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย.สู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5
ปี จนดันให้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ของสหรัฐพุ่งขึ้นมาแตะ 1.96% ซึ่งการที่พันธบัตรพุ่งขึ้นมาเร็วเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า เม็ดเงินไหลออกจากพันธบัตรมาสู่หุ้นนั้นเองแหละ แต่ก็ถึงจุดที่ต้องส่องให้ดีเพราะแนวต้านของอัตราผลตอบ
แทนพันธบัตรอยู่ที่ 2%
ส่วนญี่ปุ่นก็ยังให้ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโสะ อาเบะ ก็ออกมากล่าวแถลงยุทธศาสตร์กระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยมุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการลงทุนมากขึ้น สนับสนุนให้มีการ
ส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มและสินค้าประเภทโครงสร้างพื้นฐานเช่น รถไฟความเร็วสูงและระบบการผลิตไฟฟ้า ซึ่งแถลงการณ์ระบุชัดว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะตั้งเป้าการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศประจำปีที่ 70 ล้านล้านเยน (ราว 19.8 ล้านล้าน
บาท) หรือมากกว่าตัวเลขการลงทุนในปัจจุบันถึง 10% และเร่งฟื้นฟูการลงทุนในประเทศให้อยู่ในระดับเทียบเท่าหรือเหนือกว่าก่อนเกิดวิกฤตการเงินในปี 2551
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ อย่างที่บอกมาตลอดว่านี่คือ "เทรนขาขึ้น" แต่ถ้ายังไม่สามารถยืนเหนือ 1630 จุดได้แข็งแกร่ง ก็อย่าเพิ่งไปโลภให้มาก รอให้ดัชนีอ่อนตัวแล้วสะสมก็ได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมิน ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้น โดยต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ บันทึกการประชุมเฟด เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,600 และ 1,587 ขณะที่แนวต้าน
คาดว่า จะอยู่ที่ 1,635 และ 1,670 จุดตามลำดับ
ขณะที่ คุณเกียรติก้อง เดโช นักกลยุทธ์ บล.ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) คาดว่า ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้จะมีความผันผวน และระดับในการปรับตัวขึ้น (upside) มีไม่มาก เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้นตลาด โดย ปัจจัยจากต่างประเทศ จะมี
น้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทย โดยคาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทิศทางคงจะชะลอตัวลง และยังต้องติดตามประเด็นว่า เฟดจะลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรหรือไม่ เพราะ ประธานเฟดระดับภูมิภาค 3 ราย ได้เรียกร้องให้เฟดยุติการ เข้า
ซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง(MBS) ในการ ดำเนินมาตรการ QE โดยให้เหตุผลว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐกำลัง ปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้ ซึ่งการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะลดโครงการซื้อสินทรัพย์ในปีนี้ ได้หนุน ดอลลาร์แข็งค่า
ขึ้นเมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
ด้าน คุณสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า ทิศทางตลาดยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก แต่ในระหว่างสัปดาห์ ดัชนีอาจจะพักตัวได้ หลังตลาดปรับขึ้นมามาก ซึ่งในสัปดาห์หน้ายังไม่มีปัจจัยที่โดดเด่นและมีผลต่อ
ภาวะ การซื้อขายมากนัก อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ของสหรัฐและยุโรปว่าออกมาเป็นไปในทิศทางใด โดยแนวรับอยู่ที่ 1,620 จุด บวกลบเล็กน้อย ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,640 จุด
ส่วนเรื่องที่ต้องจับตามากๆ ก็คือ การแถลงตัวเลขตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/56 ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ และอย่าลืมไปพบกับผู้บริหารในงานพบนักลงทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ วันที่ 20 พ.ค. พบ
ERW , STA และ BANPU วันที่ 21 พ.ค.ถึง คิว AI , DTAC , VGI , GRAMMY และ SYMC วันที่ 22 พ.ค. ตระกูลเซ็นทรัล CENTEL , CPN ต่อด้วย TK , AS และ PAE ส่วน วันที่ 23 พ.ค. กลุ่มแนชั่นมาเจอนักลงทุนทั้งแผง NMG , NBC , NINE และยังมี TRT , KBS
1,627.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.34% จากสัปดาห์ก่อน คราวนี้ก็อยู่ที่ว่า 1,630 จุด จะปิดยืนอย่างแกร่งๆ ได้เมื่อไหร่เท่านั้น
ทว่าหากมาดูตลาดหุ้นต่างประเทศปรากฎว่ายังคงสดใสอย่างต่อเนื่อง ดาวโจนส์ปิดทะยานนิวไฮไม่หยุดมาแตะที่ 15,354.40 จุด S&P 500 ปิดแตะที่ 1,667.47 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดแตะที่ 3,498.97 จุด เรียกได้ว่า วิ่งไม่หยุด จากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า
ชาวอเมริกันมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินในช่วงต้นเดือนพ.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี ขณะที่ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย.สู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5
ปี จนดันให้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ของสหรัฐพุ่งขึ้นมาแตะ 1.96% ซึ่งการที่พันธบัตรพุ่งขึ้นมาเร็วเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า เม็ดเงินไหลออกจากพันธบัตรมาสู่หุ้นนั้นเองแหละ แต่ก็ถึงจุดที่ต้องส่องให้ดีเพราะแนวต้านของอัตราผลตอบ
แทนพันธบัตรอยู่ที่ 2%
ส่วนญี่ปุ่นก็ยังให้ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโสะ อาเบะ ก็ออกมากล่าวแถลงยุทธศาสตร์กระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยมุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการลงทุนมากขึ้น สนับสนุนให้มีการ
ส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มและสินค้าประเภทโครงสร้างพื้นฐานเช่น รถไฟความเร็วสูงและระบบการผลิตไฟฟ้า ซึ่งแถลงการณ์ระบุชัดว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะตั้งเป้าการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศประจำปีที่ 70 ล้านล้านเยน (ราว 19.8 ล้านล้าน
บาท) หรือมากกว่าตัวเลขการลงทุนในปัจจุบันถึง 10% และเร่งฟื้นฟูการลงทุนในประเทศให้อยู่ในระดับเทียบเท่าหรือเหนือกว่าก่อนเกิดวิกฤตการเงินในปี 2551
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ อย่างที่บอกมาตลอดว่านี่คือ "เทรนขาขึ้น" แต่ถ้ายังไม่สามารถยืนเหนือ 1630 จุดได้แข็งแกร่ง ก็อย่าเพิ่งไปโลภให้มาก รอให้ดัชนีอ่อนตัวแล้วสะสมก็ได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมิน ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้น โดยต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ บันทึกการประชุมเฟด เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,600 และ 1,587 ขณะที่แนวต้าน
คาดว่า จะอยู่ที่ 1,635 และ 1,670 จุดตามลำดับ
ขณะที่ คุณเกียรติก้อง เดโช นักกลยุทธ์ บล.ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) คาดว่า ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้จะมีความผันผวน และระดับในการปรับตัวขึ้น (upside) มีไม่มาก เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้นตลาด โดย ปัจจัยจากต่างประเทศ จะมี
น้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทย โดยคาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทิศทางคงจะชะลอตัวลง และยังต้องติดตามประเด็นว่า เฟดจะลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรหรือไม่ เพราะ ประธานเฟดระดับภูมิภาค 3 ราย ได้เรียกร้องให้เฟดยุติการ เข้า
ซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง(MBS) ในการ ดำเนินมาตรการ QE โดยให้เหตุผลว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐกำลัง ปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้ ซึ่งการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะลดโครงการซื้อสินทรัพย์ในปีนี้ ได้หนุน ดอลลาร์แข็งค่า
ขึ้นเมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
ด้าน คุณสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า ทิศทางตลาดยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก แต่ในระหว่างสัปดาห์ ดัชนีอาจจะพักตัวได้ หลังตลาดปรับขึ้นมามาก ซึ่งในสัปดาห์หน้ายังไม่มีปัจจัยที่โดดเด่นและมีผลต่อ
ภาวะ การซื้อขายมากนัก อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ของสหรัฐและยุโรปว่าออกมาเป็นไปในทิศทางใด โดยแนวรับอยู่ที่ 1,620 จุด บวกลบเล็กน้อย ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,640 จุด
ส่วนเรื่องที่ต้องจับตามากๆ ก็คือ การแถลงตัวเลขตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/56 ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ และอย่าลืมไปพบกับผู้บริหารในงานพบนักลงทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ วันที่ 20 พ.ค. พบ
ERW , STA และ BANPU วันที่ 21 พ.ค.ถึง คิว AI , DTAC , VGI , GRAMMY และ SYMC วันที่ 22 พ.ค. ตระกูลเซ็นทรัล CENTEL , CPN ต่อด้วย TK , AS และ PAE ส่วน วันที่ 23 พ.ค. กลุ่มแนชั่นมาเจอนักลงทุนทั้งแผง NMG , NBC , NINE และยังมี TRT , KBS