กรมโรงงานฯ ส่งสัญญาณสัปดาห์หน้าควง DSI ไล่จับผู้ลักลอบทิ้งกากอันตราย เล็งเป้าที่จังหวัดสมุทรปราการบริเวณถนนเอกชัย อึ้งกากอันตรายมีถึง 2.8 ล้านตันแต่มีการส่งใบกำกับขนย้ายเพียง 1 ล้านตัน เท่ากับกากหายไปไหนล้านกว่าตัน
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้ากรมฯ จะร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ดำเนินการต่อผู้ลักลอบขนกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย เช่น ตะกรันที่เกิดจากการหลอมอะลูมิเนียมที่ขณะนี้มีการลักลอบทิ้งมากบริเวณ ต.บ้านพระ จ.สมุทรปราการ โดยพบมากที่ถนนเอกชัยที่มีถึง 64 แห่ง ปัจจุบันประเทศไทยมีกากของเสียอุตสาหกรรมในภาพรวมปีละกว่า 44.8 ล้านตัน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย 42 ล้านตัน และกากอุตสาหกรรมอันตราย 2.8 ล้านตัน
“จำนวนกากดังกล่าวพบว่ามีการส่งใบกำกับการขนย้ายกากของเสียออกจากโรงงานมายังกรมโรงงานไม่ครบถ้วน โดยกากอุตสาหกรรมไม่เป็นอันตรายแจ้งเพียง 12 ล้านตัน ส่วนกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายแจ้งเพียง 1 ล้านตัน โดยเฉพาะกากอันตรายหายไปกว่าล้านตัน สะท้อนว่ายังมีการลักลอบทิ้งตามที่ต่างๆ ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภาคตะวันออกมากสุด” นายณัฐพลกล่าว
นอกจากนี้ กรอ.ยังได้ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ศึกษาตั้งเตาเผากากของเสียอันตรายเพิ่มอีก 4 แห่งทั่วประเทศ สามารถรองรับกากอุตสาหกรรมอันตรายวันละ 100 ตันต่อโรง จากปัจจุบันมีเพียง 1 เตาของบริษัทอัคคีปราการเท่านั้น โดยได้รับงบประมาณศึกษา 23 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการลงทุน 4 เตาจะไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้โรงงานนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ผ่านโครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์กากของเสีย ปีงบประมาณ 2556 ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 3 ปี โครงการนี้ช่วยลดการทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมได้อีกทางหนึ่ง โดยนำระบบ 3Rs เข้ามาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้ากรมฯ จะร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ดำเนินการต่อผู้ลักลอบขนกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย เช่น ตะกรันที่เกิดจากการหลอมอะลูมิเนียมที่ขณะนี้มีการลักลอบทิ้งมากบริเวณ ต.บ้านพระ จ.สมุทรปราการ โดยพบมากที่ถนนเอกชัยที่มีถึง 64 แห่ง ปัจจุบันประเทศไทยมีกากของเสียอุตสาหกรรมในภาพรวมปีละกว่า 44.8 ล้านตัน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย 42 ล้านตัน และกากอุตสาหกรรมอันตราย 2.8 ล้านตัน
“จำนวนกากดังกล่าวพบว่ามีการส่งใบกำกับการขนย้ายกากของเสียออกจากโรงงานมายังกรมโรงงานไม่ครบถ้วน โดยกากอุตสาหกรรมไม่เป็นอันตรายแจ้งเพียง 12 ล้านตัน ส่วนกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายแจ้งเพียง 1 ล้านตัน โดยเฉพาะกากอันตรายหายไปกว่าล้านตัน สะท้อนว่ายังมีการลักลอบทิ้งตามที่ต่างๆ ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภาคตะวันออกมากสุด” นายณัฐพลกล่าว
นอกจากนี้ กรอ.ยังได้ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ศึกษาตั้งเตาเผากากของเสียอันตรายเพิ่มอีก 4 แห่งทั่วประเทศ สามารถรองรับกากอุตสาหกรรมอันตรายวันละ 100 ตันต่อโรง จากปัจจุบันมีเพียง 1 เตาของบริษัทอัคคีปราการเท่านั้น โดยได้รับงบประมาณศึกษา 23 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการลงทุน 4 เตาจะไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้โรงงานนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ผ่านโครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์กากของเสีย ปีงบประมาณ 2556 ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 3 ปี โครงการนี้ช่วยลดการทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมได้อีกทางหนึ่ง โดยนำระบบ 3Rs เข้ามาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม