รัฐสภาอิตาลีลงคะแนนเสียงท่วมท้นให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเอ็นริโก เลตตา หลังจากเขาให้สัญญาว่าจะผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในสหภาพยุโรป (อียู) โดยต้องการให้อียูหันเหความสนใจออกจากมาตรการรัดเข็มขัด และมุ่งความสำคัญไปยังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน
ทั้งนี้ รัฐบาลผสมฝ่ายขวา-ซ้ายของนายเลตตาผ่านการลงคะแนนเสียง ไว้วางใจในครั้งนี้ตามความคาดหมาย โดยรัฐบาลได้คะแนนเสียงไว้วางใจ 453 ต่อ 153 เสียงในสภาผู้แทนราษฎร
นายเลตตากล่าวว่า อิตาลีไม่สามารถมุ่งความสนใจไปยังการปรับลด หนี้สาธารณะขนาดใหญ่ได้เพียงอย่างเดียว โดยจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ออกจากภาวะถดถอยด้วย
นายเลตตาได้รับการสนับสนุนจากพรรคเดโมแครต (PD) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ซ้ายของเขา รวมทั้งจากพรรคพีเพิล ออฟ ฟรีดอม (PDL) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ขวาของนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี และจากกลุ่มการเมืองฝ่ายกลางของนายมาริโอ มอนติ อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี โดยรัฐบาลใหม่ของอิตาลีจะมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ หลังจากผ่านการลงคะแนนรอบสองในวุฒิสภาในวันนี้
อย่างไรก็ดี สำนักงาน EMG ได้เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนครั้งแรกหลังจากมีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งผลสำรวจระบุว่า นาย เลตตาได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเพียง 41 % เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวอิตาลีจำนวนมากยังคงไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลผสมชุดนี้ ซึ่งรวมอดีตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าด้วยกัน
ชาวอิตาลีเพียง 13 % ระบุว่า ตนต้องการให้นายเลตตาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสิ่งนี้บ่งชี้ว่านายเลตตาอาจประสบความยากลำบากในการดำเนินงานช่วงแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับรัฐบาลชุดก่อนๆ โดยในช่วงที่นายมอนติเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น คะแนนสนับสนุนตัวเขาอยู่ที่ ระดับสูงถึง 70 %
นายเลตตากล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรว่า "การปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณเพียงอย่างเดียวทำให้เราตายได้ และนโยบายส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจรอได้อีกต่อไป" นอกจากนี้ เขายังกล่าว เสริมว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลียังคงอยู่ในภาวะ "ร้ายแรง" หลังจากเศรษฐกิจตกอยูในภาวะชะงักงันมานานกว่า 10 ปี
ตลาดการเงินแสดงปฏิกิริยาในทางบวกต่อการแต่งตั้งนายเลตตา และต่อการยุติภาวะทางตันทางการเมืองที่ดำเนินมานานราว 2 เดือนในอิตาลี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีร่วงลง และตลาดหุ้นอิตาลีปิดพุ่งขึ้น 2.2 % เมื่อวานนี้
ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีร่วงลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2010 ในการเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและระยะยาว
นายเลตตาให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตามภาระผูกพันด้านงบประมาณที่รัฐบาลอิตาลีมีต่อประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป (อียู) และประกาศว่าเขาจะเดินทางเยือนกรุงบรัสเซลส์, ปารีส และเบอร์ลินในสัปดาห์นี้ โดยนายเลตตา ซึ่งมีอายุ 46 ปี และมีแนวคิดสายกลาง มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับบุคคลสำคัญในต่างประเทศ
นักการเมืองยุโรปจำนวนมากยิ่งขึ้นหันมากล่าวโจมตีนโยบายรัดเข็มขัดในระยะนี้ ซึ่งรวมถึงนายเลตตาด้วย อย่างไรก็ดี นายเลตตาไม่ได้ประกาศ ข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอิตาลี หลังจากเศรษฐกิจหดตัว จนมีขนาดต่ำกว่าในปี 2001
นายเลตตากล่าวว่า "เราทุกคนมีความรู้สึกที่ชัดเจนและแรงกล้าว่า โชคชะตาของเราจะเป็นโชคชะตาที่เราต้องการก็ต่อเมื่อ ยุโรปเลือกในสิ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยเลือกในช่วงก่อนหน้านี้"
นายสเตฟาโน ฟาสซินา โฆษกด้านเศรษฐกิจของพรรค PD กล่าวว่า นายเลตตาควรที่จะเจรจาต่อรองเพื่อปรับเป้าหมายงบประมาณของอิตาลี เพื่อให้รัฐบาลอิตาลีมีโอกาสทำสิ่งต่างๆได้มากยิ่งขึ้น โดยนายฟาสซินากล่าวว่า
"ประเทศอื่นๆได้เจรจาต่อรองไปแล้วเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรทำบ้าง"
นายเลตตาจำเป็นต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับนายเบอร์ลุสโคนี หลังจาก พรรค PD ไม่สามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาในการเลือกตั้งในเดือน ก.พ. ซึ่งไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากได้อย่างเด็ดขาด
นายเบอร์ลุสโคนีกำลังเผชิญคดีความทางกฎหมายในข้อหาโกงภาษี และจ่ายเงินเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์ โดยเขาจะไม่เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ แต่จะเป็นผู้กุมอำนาจอยู่เบื้องหลัง ในขณะที่นักการเมืองฝ่ายซ้ายหลาย
คนไม่ต้องการร่วมงานกับเขา
นายเลตตาได้กลาวอภิปรายถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งรวมถึงเรื่องภาษี, การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ, การท่องเทียว, เรือนจำ และทหารเรืออิตาลี 2 คนที่กำลังกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอิตาลีกับอินเดีย อย่างไรก็ดี นายเลตตาได้หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงประเด็นที่เป็นปัญหาขัดแย้ง ระหว่างสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลของเขา
นายเลตตาไม่ได้กล่าวถึงกฎหมายแก้ไขการทับซ้อนของผลประโยชน์ ถึงแม้พรรค PD ของเขาเคยให้สัญญาในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งว่าจะออกกฎหมายดังกล่าว ขณะที่คาดว่านายเบอร์ลุสโคนีจะไม่สามารถยอมรับกฎหมายฉบับนี้ได้ นอกจากนี้ นายเบอร์ลุสโคนียังประกาศว่า เขาควรได้ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพิเศษที่ตรวจสอบการปฏิรูปสถาบันด้วย
นายเลตตาได้ตอบรับต่อเสียงเรียกร้องของฝ่ายกลาง-ขวาที่ต้องการให้มีการยกเลิกภาษีที่อยู่อาศัย โดยเขากล่าวว่าจะมีการระงับการชำระเงิน ในเดือนมิ.ย. แต่เขาไมได้ให้สัญญาว่าจะยกเลิกภาษีนี้ตามที่นายเบอร์ลุสโคนีเรียกร้องมา
อิตาลีมีแผนที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 21 % สู่ 22 % ในเดือน ก.ค. แต่นายเลตตาหวังว่า จะมีการเลื่อนเวลาในการปรับขึ้นภาษีดังกล่าว ออกไป นอกจากนี้ เขายังกล่าวว่า ควรจะมีการลดภาษีเงินเดือนลงด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้ภาคเอกชนไม่ต้องการจ้างพนักงานใหม่
นายเลตตาไม่ได้ระบุว่า เขาจะใช้วิธีการใดในการหาเงินมาชดเชย มาตรการปรับเปลี่ยนภาษี ขณะที่มาตรการดังกล่าว และมาตรการขยาย ความคุ้มครองคนตกงานมีวงเงินรวมกันราว 1 หมื่นล้านยูโร (1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) ในปี 2013
นายเลตตากล่าวว่า จะมีการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งฉบับปัจจุบันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป หลังจากกฎหมายดังกล่าวมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดภาวะทางตันทางการเมืองในเดือนก.พ. นอกจากนี้ เขายังเสนอ ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องการปฏิรูปการเมืองและรัฐธรรมนูญด้วย
ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2010 ในการประมูลพันธบัตรเมื่อวานนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า นักลงทุนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิตาลี ซึ่งถือเป็นการยุติภาวะทางตันทางการเมือง ที่ดำเนินมานาน 2 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอิตาลีจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปีได้ทั้งหมดในวงเงิน 3 พันล้านยูโร (3.9 พันล้านดอลลาร์) ด้วยอัตราผลตอบแทน 3.94 % ซึ่งต่ำกว่าระดับ 4.66 % ที่ทางกระทรวงต้องจ่ายในการประมูลพันธบัตรประเภทเดียวกันเมื่อหนึ่งเดือนก่อน
กระทรวงการคลังยังจำหน่ายพันธบัตรประเภทอายุ 5 ปีในวงเงิน 3 พันล้านยูโรเมื่อวานนี้ด้วย โดยมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับเพียง 2.84 % โดยลดลง 0.82 % จากระดับในเดือนมี.ค.
นายลูกา คาสซูลานี นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารยูนิเครดิต กล่าวว่า "การประมูลพันธบัตรดำเนินไปได้ด้วยดี ทั้งในส่วนของอุปสงค์ และโดยเฉพาะในส่วนของอัตราผลตอบแทน"
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า คำสั่งซื้อพันธบัตรอิตาลีอย่างแข็งแกร่ง เมื่อวานนี้ ยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดทางการเมืองที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้สะท้อนวิกฤติเศรษฐกิจในอิตาลี ขณะที่มูดี้ส์ ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศเตือนว่า วิกฤติเศรษฐกิจอาจส่งผลให้อิตาลีต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศในอนาคต
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammsak
ทั้งนี้ รัฐบาลผสมฝ่ายขวา-ซ้ายของนายเลตตาผ่านการลงคะแนนเสียง ไว้วางใจในครั้งนี้ตามความคาดหมาย โดยรัฐบาลได้คะแนนเสียงไว้วางใจ 453 ต่อ 153 เสียงในสภาผู้แทนราษฎร
นายเลตตากล่าวว่า อิตาลีไม่สามารถมุ่งความสนใจไปยังการปรับลด หนี้สาธารณะขนาดใหญ่ได้เพียงอย่างเดียว โดยจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ออกจากภาวะถดถอยด้วย
นายเลตตาได้รับการสนับสนุนจากพรรคเดโมแครต (PD) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ซ้ายของเขา รวมทั้งจากพรรคพีเพิล ออฟ ฟรีดอม (PDL) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ขวาของนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี และจากกลุ่มการเมืองฝ่ายกลางของนายมาริโอ มอนติ อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี โดยรัฐบาลใหม่ของอิตาลีจะมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ หลังจากผ่านการลงคะแนนรอบสองในวุฒิสภาในวันนี้
อย่างไรก็ดี สำนักงาน EMG ได้เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนครั้งแรกหลังจากมีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งผลสำรวจระบุว่า นาย เลตตาได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเพียง 41 % เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวอิตาลีจำนวนมากยังคงไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลผสมชุดนี้ ซึ่งรวมอดีตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าด้วยกัน
ชาวอิตาลีเพียง 13 % ระบุว่า ตนต้องการให้นายเลตตาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสิ่งนี้บ่งชี้ว่านายเลตตาอาจประสบความยากลำบากในการดำเนินงานช่วงแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับรัฐบาลชุดก่อนๆ โดยในช่วงที่นายมอนติเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น คะแนนสนับสนุนตัวเขาอยู่ที่ ระดับสูงถึง 70 %
นายเลตตากล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรว่า "การปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณเพียงอย่างเดียวทำให้เราตายได้ และนโยบายส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจรอได้อีกต่อไป" นอกจากนี้ เขายังกล่าว เสริมว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลียังคงอยู่ในภาวะ "ร้ายแรง" หลังจากเศรษฐกิจตกอยูในภาวะชะงักงันมานานกว่า 10 ปี
ตลาดการเงินแสดงปฏิกิริยาในทางบวกต่อการแต่งตั้งนายเลตตา และต่อการยุติภาวะทางตันทางการเมืองที่ดำเนินมานานราว 2 เดือนในอิตาลี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีร่วงลง และตลาดหุ้นอิตาลีปิดพุ่งขึ้น 2.2 % เมื่อวานนี้
ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีร่วงลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2010 ในการเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและระยะยาว
นายเลตตาให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตามภาระผูกพันด้านงบประมาณที่รัฐบาลอิตาลีมีต่อประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป (อียู) และประกาศว่าเขาจะเดินทางเยือนกรุงบรัสเซลส์, ปารีส และเบอร์ลินในสัปดาห์นี้ โดยนายเลตตา ซึ่งมีอายุ 46 ปี และมีแนวคิดสายกลาง มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับบุคคลสำคัญในต่างประเทศ
นักการเมืองยุโรปจำนวนมากยิ่งขึ้นหันมากล่าวโจมตีนโยบายรัดเข็มขัดในระยะนี้ ซึ่งรวมถึงนายเลตตาด้วย อย่างไรก็ดี นายเลตตาไม่ได้ประกาศ ข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอิตาลี หลังจากเศรษฐกิจหดตัว จนมีขนาดต่ำกว่าในปี 2001
นายเลตตากล่าวว่า "เราทุกคนมีความรู้สึกที่ชัดเจนและแรงกล้าว่า โชคชะตาของเราจะเป็นโชคชะตาที่เราต้องการก็ต่อเมื่อ ยุโรปเลือกในสิ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยเลือกในช่วงก่อนหน้านี้"
นายสเตฟาโน ฟาสซินา โฆษกด้านเศรษฐกิจของพรรค PD กล่าวว่า นายเลตตาควรที่จะเจรจาต่อรองเพื่อปรับเป้าหมายงบประมาณของอิตาลี เพื่อให้รัฐบาลอิตาลีมีโอกาสทำสิ่งต่างๆได้มากยิ่งขึ้น โดยนายฟาสซินากล่าวว่า
"ประเทศอื่นๆได้เจรจาต่อรองไปแล้วเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรทำบ้าง"
นายเลตตาจำเป็นต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับนายเบอร์ลุสโคนี หลังจาก พรรค PD ไม่สามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาในการเลือกตั้งในเดือน ก.พ. ซึ่งไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากได้อย่างเด็ดขาด
นายเบอร์ลุสโคนีกำลังเผชิญคดีความทางกฎหมายในข้อหาโกงภาษี และจ่ายเงินเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์ โดยเขาจะไม่เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ แต่จะเป็นผู้กุมอำนาจอยู่เบื้องหลัง ในขณะที่นักการเมืองฝ่ายซ้ายหลาย
คนไม่ต้องการร่วมงานกับเขา
นายเลตตาได้กลาวอภิปรายถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งรวมถึงเรื่องภาษี, การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ, การท่องเทียว, เรือนจำ และทหารเรืออิตาลี 2 คนที่กำลังกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอิตาลีกับอินเดีย อย่างไรก็ดี นายเลตตาได้หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงประเด็นที่เป็นปัญหาขัดแย้ง ระหว่างสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลของเขา
นายเลตตาไม่ได้กล่าวถึงกฎหมายแก้ไขการทับซ้อนของผลประโยชน์ ถึงแม้พรรค PD ของเขาเคยให้สัญญาในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งว่าจะออกกฎหมายดังกล่าว ขณะที่คาดว่านายเบอร์ลุสโคนีจะไม่สามารถยอมรับกฎหมายฉบับนี้ได้ นอกจากนี้ นายเบอร์ลุสโคนียังประกาศว่า เขาควรได้ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพิเศษที่ตรวจสอบการปฏิรูปสถาบันด้วย
นายเลตตาได้ตอบรับต่อเสียงเรียกร้องของฝ่ายกลาง-ขวาที่ต้องการให้มีการยกเลิกภาษีที่อยู่อาศัย โดยเขากล่าวว่าจะมีการระงับการชำระเงิน ในเดือนมิ.ย. แต่เขาไมได้ให้สัญญาว่าจะยกเลิกภาษีนี้ตามที่นายเบอร์ลุสโคนีเรียกร้องมา
อิตาลีมีแผนที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 21 % สู่ 22 % ในเดือน ก.ค. แต่นายเลตตาหวังว่า จะมีการเลื่อนเวลาในการปรับขึ้นภาษีดังกล่าว ออกไป นอกจากนี้ เขายังกล่าวว่า ควรจะมีการลดภาษีเงินเดือนลงด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้ภาคเอกชนไม่ต้องการจ้างพนักงานใหม่
นายเลตตาไม่ได้ระบุว่า เขาจะใช้วิธีการใดในการหาเงินมาชดเชย มาตรการปรับเปลี่ยนภาษี ขณะที่มาตรการดังกล่าว และมาตรการขยาย ความคุ้มครองคนตกงานมีวงเงินรวมกันราว 1 หมื่นล้านยูโร (1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) ในปี 2013
นายเลตตากล่าวว่า จะมีการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งฉบับปัจจุบันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป หลังจากกฎหมายดังกล่าวมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดภาวะทางตันทางการเมืองในเดือนก.พ. นอกจากนี้ เขายังเสนอ ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องการปฏิรูปการเมืองและรัฐธรรมนูญด้วย
ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2010 ในการประมูลพันธบัตรเมื่อวานนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า นักลงทุนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิตาลี ซึ่งถือเป็นการยุติภาวะทางตันทางการเมือง ที่ดำเนินมานาน 2 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอิตาลีจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปีได้ทั้งหมดในวงเงิน 3 พันล้านยูโร (3.9 พันล้านดอลลาร์) ด้วยอัตราผลตอบแทน 3.94 % ซึ่งต่ำกว่าระดับ 4.66 % ที่ทางกระทรวงต้องจ่ายในการประมูลพันธบัตรประเภทเดียวกันเมื่อหนึ่งเดือนก่อน
กระทรวงการคลังยังจำหน่ายพันธบัตรประเภทอายุ 5 ปีในวงเงิน 3 พันล้านยูโรเมื่อวานนี้ด้วย โดยมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับเพียง 2.84 % โดยลดลง 0.82 % จากระดับในเดือนมี.ค.
นายลูกา คาสซูลานี นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารยูนิเครดิต กล่าวว่า "การประมูลพันธบัตรดำเนินไปได้ด้วยดี ทั้งในส่วนของอุปสงค์ และโดยเฉพาะในส่วนของอัตราผลตอบแทน"
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า คำสั่งซื้อพันธบัตรอิตาลีอย่างแข็งแกร่ง เมื่อวานนี้ ยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดทางการเมืองที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้สะท้อนวิกฤติเศรษฐกิจในอิตาลี ขณะที่มูดี้ส์ ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศเตือนว่า วิกฤติเศรษฐกิจอาจส่งผลให้อิตาลีต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศในอนาคต
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammsak