xs
xsm
sm
md
lg

Good Morning News 28/03/56

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



  • ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนย่ำแย่ลงในเดือนมี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน โดยได้รับผลกระทบจากมุมมองเชิงลบเพิ่มขึ้นมากจากกลุ่มผู้ผลิต ซึ่งเคยช่วยให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวผ่านการส่งออก  อีกทั้ง โรงงานต่างๆ ยังได้ปรับลดการประเมินผลการดำเนินงานในอดีต และยอดสั่งซื้อสินค้าลงอย่างเห็นได้ชัด

  • ชาวไซปรัสหลายพันคนได้ออกมาประท้วงตามท้องถนนในกรุงนิโกเซียเพื่อต่อต้านมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เนื่องจากกังวลว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจไซปรัสตกต่ำ และทำให้ชาวไซปรัสหลายคนต้องตกงาน  ทางด้านผู้นำยุโรปกล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในครั้งนี้ช่วยสกัดกั้นการล้มละลายของประเทศชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจส่งผลให้ไซปรัสต้องถอนตัวออกจากยูโรโซน

  • ธนาคารกลางสเปนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสเปนจะหดตัวอีก 1.5% ในปีนี้ อันเป็นผลจากความต้องการภายในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากค่าแรงที่ลดลง อัตราว่างงาน และราคาสินค้าที่สูงขึ้น

  • IMF แถลงว่า ภาคธนาคารของอิตาลีมีการดำรงเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง แต่ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนาน และจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี

  • ผลสำรวจความคิดเห็นชาวอเมริกันโดยแกลลัพ พบว่า ความกังวลสูงสุดในปีนี้ยังคงเป็นเรื่องเศรษฐกิจ (68%) ซึ่งติดอันดับมาตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่ ความวิตกที่รองลงมาได้แก่ การใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง/การขาดดุล (61%) สุขอนามัย (59%) และราคาเชื้อเพลิง (55%)

  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ในเดือนก.พ. หดตัวลง 0.4% จากเดือนม.ค. แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งสัญญาณว่าผู้มีศักยภาพในการซื้อบ้านมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาสู่ตลาดที่อยู่อาศัยอีกครั้ง และยอดขายบ้านมือสองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนจากนี้

  • สัดส่วนหนี้เสียของธนาคารรายใหญ่ของจีนปรับตัวลดลงในปี 2555 ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างเชื่องช้าที่สุดในรอบ 13 ปี โดยสัดส่วนหนี้เสียของอากริคัลเจอรัล แบงก์ ออฟ ไชน่า ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่สุดอันดับ 3 ของจีน ปรับตัวลดง 1.33% จากปี 2554 ที่ระดับ 1.55% ขณะที่สัดส่วนหนี้เสียของแบงก์ ออฟ ไชน่า ธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของจีน ลดลงมาอยู่ที่ 0.95% จากระดับ 1%

  • สถาบันวิจัยฮุนไดเปิดเผยว่า เกาหลีใต้ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 11 ล้านล้านวอน (1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.5% ในปีนี้ ขณะที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ (BOK) ได้กำหนดเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 2.8%

  • ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ก่อนที่คณะบริหารของรัฐบาลชุดใหม่ของประธานาธิบดี ปัก กึน-ฮเย จะดำเนินมาตรการกระตุ้นด้านการคลัง

  • Fitch rating ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลิปปินส์ขึ้นสู่สถานะที่ลงทุนได้ “BBB-“ จาก BB+ และให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ

  • รัฐบาลพม่าอนุญาตให้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันใหม่เพิ่มอีก 8 ฉบับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ทำให้พม่ามีหนังสือพิมพ์รายวันใหม่รวมทั้งสิ้น 16 ฉบับ ปิดฉาก 50 ปีแห่งการผูกขาดหนังสือพิมพ์รายวันโดยภาครัฐ

  • นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุว่า รัฐบาลมีความพอใจกับภาวะตลาดหุ้นไทย และเงินบาทในขณะนี้ ซึ่งกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากมีความผันผวนมากในช่วงที่ผ่านมา พร้อมระบุด้วยว่า รัฐบาลต้องการจะเห็นตลาดหุ้นไทย และเงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ

  • นิด้า เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ภายใต้ .ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลสามารถใช้แนวทางดึงภาคเอกชนที่มีความพร้อมและศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน โดยอาศัยกลไกตลาดทุน ที่ภาคเอกชนสามารถจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะไม่ให้สูงเกินไป

  • กกต.มีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 ประกาศรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา




  • SET Index บวกแรงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ปิดที่ 1,560.87 จุด เพิ่มขึ้น 16.84 จุด หรือ +1.09% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 67,501 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,219 ล้านบาท โดยการปรับขึ้นในวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดี  ประกอบกับมีแรงซื้อของทริกเกอร์ฟันด์ในช่วงนี้ด้วย

  • ลิปเปอร์รายงานว่า กองทุน ตปท. ที่เน้นการลงทุนในหุ้นไทยดึงดูดเงินลงทุนได้ 550 ล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ.  ถือเป็นปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2550 ขณะที่ในปีนี้  กองทุนต่างชาติที่เน้นลงทุนในหุ้นอินโดนีเซียและมาเลเซียมียอดเงินไหลออก 477 ล้านดอลลาร์ แต่กองทุนหุ้นไทยกลับดึงดูดเงินลงทุนได้ 929 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงเกือบเป็น 3 เท่าของยอดเงินลงทุนไหลเข้าทั้งหมดในปีที่แล้ว




  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงในช่วงระหว่าง -0.03% ถึง -0.01%

  • กระทรวงการคลัง จะเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. 56 รวม 1.45 แสนล้านบาท ซึ่งมีอายุ 4 / 6 / 8 / 10 / 14 / 15 / 19 / 24 / 28 และ 48 ปี เพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ 56 และเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้

  • สศค. วิเคราะห์ว่า ตั้งแต่ต้นปี 56 จนถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อตราสารหนี้สุทธิประมาณ 85,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.6 จากปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของไทยเฉลี่ยสูงกว่าประเทศในอาเซียน ยกเว้นอินโดนีเซียและเวียดนาม สะท้อนได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยอายุ 10 ปีเฉลี่ย 3.5% ขณะที่ของอินโดนีเซียและเวียดนามเฉลี่ย 5.5% และ 9.3% ตามลำดับ




  • Mark Faber


“หนี้ภาครัฐของสหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี 2007 ถึงกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์ และมีงบประมาณขาดดุลในปีนี้ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแม้จะดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในวันนี้เพราะธนาคารกลางสหรัฐคอยพิมพ์แบงค์ออกมาช่วย แต่ในวันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นปัญหาหนักยิ่ง เพราะธนาคารกลางไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ตลอดไป
สิ่งที่ประเทศตะวันตกทำไปคือเพิ่มการบริโภคผ่านหนี้สินภาคครัวเรือนมาตลอด 20 ปี และผ่านหนี้สินภาครัฐในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหนี้ภาคครัวเรือนกับภาครัฐล้วนแล้วแต่เป็นพัฒนาการที่อันตรายยิ่ง เพราะว่าเป็นการดึงเงินในอนาคตมาเพื่อบริโภคในวันนี้ และจะไม่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนในระยะยาว
ถ้าอยากจะทำให้หุ้นและสินทรัพย์มีราคาสูงขึ้น ก็ให้พิมพ์เงินใส่ระบบไปเรื่อยๆ ซึ่งนั่นเป็นเพียงภาพลวงของความมั่งคั่ง  การผลักดันราคาสินทรัพย์อย่างนั้นไม่ใช่วิธีสร้างความมั่งคั่งให้กับชาติ ความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติได้ด้วยการจ้างงาน การผลิต การลงทุนในโรงงาน  ในนวัตกรรมต่างๆ  และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา กับการวิจัยและพัฒนา ความมั่งคังของชาติไม่ได้มาจากการเก็งกำไร และการบริโภค
กำลังโหลดความคิดเห็น