“พาณิชย์” สรุปยอดใช้สิทธิ FTA ปี 55 ทะลุ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.41% อาเซียนนำโด่งใช้สิทธิลดภาษีสูงสุด หลังเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ตามด้วยจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น แนะผู้ประกอบการผลิตสินค้าให้ถูกกฎแหล่งกำเนิดเพื่อใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น
นายสุรศักดิ์ เรืองเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ในปี 2555 ว่า มีมูลค่าการใช้สิทธิสูงถึง 41,704.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.41% จากปี 2554 ที่มีการใช้สิทธิ 39,944.71 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิคิดเป็น 47.32% ของมูลค่าการส่งออกเฉพาะรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิลดภาษี ซึ่งมีการส่งออกรวม 88,138.63 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นกรอบความตกลง FTA ที่มีมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษสูงสุด ซึ่งเป็นไปตามภาพรวมที่ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีความสำคัญอันดับ 1 ของไทย รองลงมาเป็นอาเซียน-จีน ไทย-อินเดีย ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-ญี่ปุ่น
สาเหตุที่ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษ FTA ได้เต็มที่ อาจเป็นเพราะยังไม่สามารถผลิตสินค้าให้เป็นไปตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไทยได้ทำความตกลงไว้กับประเทศคู่ภาคีได้ โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย เนื่องจากต้องนำเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบจากประเทศนอกภาคีความตกลงมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออก ซึ่งแนวทางแก้ไข ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับตัวและใช้วัตถุดิบจากประเทศคู่ค้าที่ทำความตกลง FTA กับไทย เพื่อให้สามารถสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าได้
“การใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA เป็นปัจจัยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่ยังมีข้อจำกัดด้านปัจจัยการผลิต ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ หากต้องเผชิญกับอัตราภาษีปกติ ที่สำคัญสิทธิพิเศษที่ได้จาก FTA ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้จากการส่งออกสินค้าไทย และช่วยขยายโอกาสการประกอบธุรกิจของไทยในต่างประเทศด้วย” นายสุรศักดิ์กล่าว
สำหรับแผนงานในปี 2556 กรมฯ มีกำหนดที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA กรอบต่างๆ เช่น การจัดสัมมนาเพื่อเพิ่มองค์ความรู้และขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคเพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดงานส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ AFTA เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ต่อไป
นายสุรศักดิ์ เรืองเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ในปี 2555 ว่า มีมูลค่าการใช้สิทธิสูงถึง 41,704.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.41% จากปี 2554 ที่มีการใช้สิทธิ 39,944.71 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิคิดเป็น 47.32% ของมูลค่าการส่งออกเฉพาะรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิลดภาษี ซึ่งมีการส่งออกรวม 88,138.63 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นกรอบความตกลง FTA ที่มีมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษสูงสุด ซึ่งเป็นไปตามภาพรวมที่ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีความสำคัญอันดับ 1 ของไทย รองลงมาเป็นอาเซียน-จีน ไทย-อินเดีย ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-ญี่ปุ่น
สาเหตุที่ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษ FTA ได้เต็มที่ อาจเป็นเพราะยังไม่สามารถผลิตสินค้าให้เป็นไปตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไทยได้ทำความตกลงไว้กับประเทศคู่ภาคีได้ โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย เนื่องจากต้องนำเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบจากประเทศนอกภาคีความตกลงมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออก ซึ่งแนวทางแก้ไข ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับตัวและใช้วัตถุดิบจากประเทศคู่ค้าที่ทำความตกลง FTA กับไทย เพื่อให้สามารถสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าได้
“การใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA เป็นปัจจัยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่ยังมีข้อจำกัดด้านปัจจัยการผลิต ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ หากต้องเผชิญกับอัตราภาษีปกติ ที่สำคัญสิทธิพิเศษที่ได้จาก FTA ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้จากการส่งออกสินค้าไทย และช่วยขยายโอกาสการประกอบธุรกิจของไทยในต่างประเทศด้วย” นายสุรศักดิ์กล่าว
สำหรับแผนงานในปี 2556 กรมฯ มีกำหนดที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA กรอบต่างๆ เช่น การจัดสัมมนาเพื่อเพิ่มองค์ความรู้และขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคเพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดงานส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ AFTA เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ต่อไป