สำหรับคนที่เดินมาตามเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกชีวิต มาถึงตอนนี้น่าจะเริ่มอุ่นใจว่า เมื่อถึงเวลาที่แก่เฒ่า คงไม่ต้องกลัวเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว เพราะได้มีการเตรียมความพร้อมเอาไว้ในระดับหนึ่ง
หลายคนเริ่มเห็นความสำคัญของการออมและการลงทุน และปฏิบัติตามแผนเพื่อสร้างความมั่นคงสำหรับชีวิตในบั้นปลายที่จะมาถึง
แต่สิ่งที่น่าวิตกก็คือจากตัวเลขประชากรวัยทำงานในปัจจุบันกว่า 40 ล้านคน มีเพียง 14 ล้านคนเท่านั้น ที่มีหลักประกันรายได้ยามชราภาพ ผ่านกลไกการออมภาคบังคับของรัฐ และ กึ่งบังคับของภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ กบข. กองทุนประกันสังคม หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ขณะเดียวกัน คนเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้มากพอสมควร ก็ยังสามารถจะออมผ่านการประกันชีวิต หรือ การลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF หรือ กองทุนหุ้นระยะยาว LTF ซึ่งรัฐบาลพยายามจะส่งเสริมและจูงใจโดยการให้สิทธิลดหย่อนด้านภาษี
คำถามก็คือ สำหรับคนที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน หรือผู้มีอาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม 26 ล้านคน จะทำอย่างไรไม่ให้ตกอยู่ในสภาพของคนไข้อนาถาที่ต้องนอนโดดเดี่ยวเดียวดายตามลำพังบนเตียงคนไข้โรงพยาบาลของรัฐ หรือในบ้านพักคนชรา
หากกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับการดูแล คนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยชราและจะกลายเป็นภาระของรัฐในที่สุด
อย่างที่เคยบอก ทุกวันนี้สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ โดยก้าวไปสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ในอีก 10 ปีข้างหน้า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนสูงถึงประมาณ 15% หรือประมาณ 10.5 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศราว 70 ล้านคน
แต่ยังไม่ต้องมองไปไกลถึงอีก 10 ข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะจากสภาพปัจจุบันที่ดำรงอยู่จริง มีจำนวน ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี สูงถึง 11.36%ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 7,639,000 คน ในจำนวนนี้เป็น ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คือโดยแยกเป็น หญิง 4,162,000 คน และ ชาย 3,477,000 คน
บรรดาผู้สูงวัย หรือ ส.ว.เหล่านี้มีถึงประมาณ 65% ที่มีรายได้ต่ำ เพียงประมาณเดือนละ 800 บาท และครึ่งหนึ่งมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว โดยในจำนวนนี้ ¼ มีภาวะทุพพลภาพระยะยาว ที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดำรงชีวิต โดย 5% อยู่ตัวคนเดียว และ อีก 18% ใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังสองตายาย โดยไม่มีลูกหลานคอยดูแล
เรื่องนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิดจริงไหมครับ เพราะถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดในใจว่า ถ้าต้องอยู่ในสภาพแบบนั้น ก็ไม่อยากอยู่จนแก่ให้ลำบากลำบน หรือเป็นภาระลูกหลาน แต่ไม่ว่าคุณจะอยากอยู่ต่อไปหรือไม่ ความจริงที่น่าตระหนกก็คือ อายุเฉลี่ยของคนไทยในปัจจุบันได้เขยิบขึ้นไปที่อายุประมาณ 75 ปีแล้ว
หากรัฐบาลไม่ดำเนินการอะไรเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ที่กำลังจะมาถึง ในอนาคตอันใกล้ รัฐบาลจะต้องมีภาระด้านงบประมาณอย่างมหาศาลในการดูแลสวัสดิการความช่วยเหลือและเยียวยาคนชราที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะพึ่งพาตัวเองได้ยามเมื่อแก่เฒ่า นอกเหนือจากภาระในการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราคนละ 500 บาทต่อเดือน
ระดับความรุนแรงของปัญหาจะมากขนาดไหน หากไม่เร่งแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้ มีบางคนกล่าวอย่างประชดประชันว่า บางทีเราอาจจะเห็น “เรียลลิตี้“ ชีวิตจริงอันแสนทุกข์ระทมของผู้คนเหล่านี้ที่จะถูกนำเสนอกันในจอโทรทัศน์เพื่อเรียกน้ำตาคนดูได้ทุกๆวันโดยไม่ซ้ำ
ถึงแม้ จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลชุดนี้ดูจะตระหนักและมีวิสัยทัศน์ในการมองภาพในระยะยาว และเริ่มพยายามวางรากฐานเพื่อทำให้คนกลุ่มนี้สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น โดยมีการปรับนโยบายที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของรัฐสวัสดิการมากขึ้น
ไม่เพียงแต่ในเรื่องของการศึกษา (โครงการเรียนฟรี 15 ปี) เรื่องของสุขภาพ(กองทุนหลักประกันสุขภาพ) การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ และ การปรับโครงสร้างหนี้สินของครู และเกษตรกร รัฐบาลยังมีการดูแลผู้สูงอายุผ่านการจ่ายเบี้ยยังชีพผ้สูงอายุเดือนละ 500 บาท
นโยบายที่สำคัญอีกเรื่องที่อยู่ภายใต้แนวคิดของการปฏิรูประบบสวัสดิการของประเทศก็คือ โครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่ต้องการจะช่วยสร้างหลักประกันในยามชราภาพให้กับบรรดากลุ่มคนที่อยู่นอกระบบในปัจจุบัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้ลดลง
รูปแบบของกองทุนดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปัจจุบัน คือเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้าโครงการโดยสมัครใจ สามารถออมเป็นรายเดือนหรือรายงวดเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มอาชีพ
ผู้ออม หรือสมาชิก สามารรถจะจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเดือนละ100-1,000 บาท โดยอาจะจะชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส ทุกๆครึ่งปี หรือรายปีก็ได้
ในวเลาเดียวกันรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้ตามช่วงอายุของผู้ออม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกเริ่มออมตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยรัฐจะออกเงินสมทบให้ตามช่วงอายุ เช่นอายุตั้งแต่ 20-30 ปี ได้รับการสมทบ 50 บาท อายุ 30-50 ปี ได้รับสมทบ 80 บาท และ อายุตั้งแต่ 50-60 ปี ได้รับสมทบ 100 บาท
สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ตามจำนวนเงินในบัญชีของแต่ละคน ซึ่งจะเป็นยอดรวมของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาล บวกด้วยผลตอบแทนจากการออม ซึ่งน่าจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำปี และอัตราเงินเฟ้อ
ผลประโยชน์ดังกล่าวจะได้รับในรูปของเงินบำนาญตลอดชีพ ซึ่งมีการประมาณการขั้นต้นว่า หากออมเดือนละ 100 บาท ตั้งแต่อายุ 20 ปี จะได้รับเงินบำนาญสูงสุดประมาณ เดือนละ 1,710 บาท
นอกจากนี้ ยังอาจจะสามารถนำไปผูกโยงกับผลประโยชน์กับการประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต หรือ หากกองทุนมีขนาดใหญ่มากพอ อาจจะสามารถทำหน้าที่ในการปล่อยกู้ให้กับสมาชิกได้อีกด้วย
โครงการนี้ ผ่านมติคณะรัฐมนตรีมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2552 แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังระหว่างการปรับปรุงในรายละเอียดต่างๆ แต่ก็หวังกันว่า น่าจะสามารถผลักดันออกมาบังคับใช้ได้ภายในปี 2553 นี้
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่หลายๆคนก็ยังอดปรารภไม่ได้ว่า “แก้วันนี้ก็ยังอาจจะสายเกินไปหน่อย” แต่อย่างน้อยก็คงพอจะจุดประกายความหวังให้กับ คนทำงานอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีความรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้งให้เผชิญชะตากรรมอย่างโดดเดี่ยว
สำหรับหลายๆคน หากไม่หวังจะพึ่งพารัฐบาล หวังโชคลาภ หรือ ลาภลอยที่เลื่อนลอย ก็ลงมือสร้างด้วยตัวเองก็ได้ครับ เพราะถึงอย่างไรทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้จุดเริ่มต้นก็ต้องมาจากความสามารถและพลังความมุ่งมั่นของตัวคุณเองเท่านั้น
หลายคนเริ่มเห็นความสำคัญของการออมและการลงทุน และปฏิบัติตามแผนเพื่อสร้างความมั่นคงสำหรับชีวิตในบั้นปลายที่จะมาถึง
แต่สิ่งที่น่าวิตกก็คือจากตัวเลขประชากรวัยทำงานในปัจจุบันกว่า 40 ล้านคน มีเพียง 14 ล้านคนเท่านั้น ที่มีหลักประกันรายได้ยามชราภาพ ผ่านกลไกการออมภาคบังคับของรัฐ และ กึ่งบังคับของภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ กบข. กองทุนประกันสังคม หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ขณะเดียวกัน คนเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้มากพอสมควร ก็ยังสามารถจะออมผ่านการประกันชีวิต หรือ การลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF หรือ กองทุนหุ้นระยะยาว LTF ซึ่งรัฐบาลพยายามจะส่งเสริมและจูงใจโดยการให้สิทธิลดหย่อนด้านภาษี
คำถามก็คือ สำหรับคนที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน หรือผู้มีอาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม 26 ล้านคน จะทำอย่างไรไม่ให้ตกอยู่ในสภาพของคนไข้อนาถาที่ต้องนอนโดดเดี่ยวเดียวดายตามลำพังบนเตียงคนไข้โรงพยาบาลของรัฐ หรือในบ้านพักคนชรา
หากกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับการดูแล คนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยชราและจะกลายเป็นภาระของรัฐในที่สุด
อย่างที่เคยบอก ทุกวันนี้สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ โดยก้าวไปสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ในอีก 10 ปีข้างหน้า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนสูงถึงประมาณ 15% หรือประมาณ 10.5 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศราว 70 ล้านคน
แต่ยังไม่ต้องมองไปไกลถึงอีก 10 ข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะจากสภาพปัจจุบันที่ดำรงอยู่จริง มีจำนวน ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี สูงถึง 11.36%ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 7,639,000 คน ในจำนวนนี้เป็น ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คือโดยแยกเป็น หญิง 4,162,000 คน และ ชาย 3,477,000 คน
บรรดาผู้สูงวัย หรือ ส.ว.เหล่านี้มีถึงประมาณ 65% ที่มีรายได้ต่ำ เพียงประมาณเดือนละ 800 บาท และครึ่งหนึ่งมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว โดยในจำนวนนี้ ¼ มีภาวะทุพพลภาพระยะยาว ที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดำรงชีวิต โดย 5% อยู่ตัวคนเดียว และ อีก 18% ใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังสองตายาย โดยไม่มีลูกหลานคอยดูแล
เรื่องนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิดจริงไหมครับ เพราะถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดในใจว่า ถ้าต้องอยู่ในสภาพแบบนั้น ก็ไม่อยากอยู่จนแก่ให้ลำบากลำบน หรือเป็นภาระลูกหลาน แต่ไม่ว่าคุณจะอยากอยู่ต่อไปหรือไม่ ความจริงที่น่าตระหนกก็คือ อายุเฉลี่ยของคนไทยในปัจจุบันได้เขยิบขึ้นไปที่อายุประมาณ 75 ปีแล้ว
หากรัฐบาลไม่ดำเนินการอะไรเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ที่กำลังจะมาถึง ในอนาคตอันใกล้ รัฐบาลจะต้องมีภาระด้านงบประมาณอย่างมหาศาลในการดูแลสวัสดิการความช่วยเหลือและเยียวยาคนชราที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะพึ่งพาตัวเองได้ยามเมื่อแก่เฒ่า นอกเหนือจากภาระในการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราคนละ 500 บาทต่อเดือน
ระดับความรุนแรงของปัญหาจะมากขนาดไหน หากไม่เร่งแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้ มีบางคนกล่าวอย่างประชดประชันว่า บางทีเราอาจจะเห็น “เรียลลิตี้“ ชีวิตจริงอันแสนทุกข์ระทมของผู้คนเหล่านี้ที่จะถูกนำเสนอกันในจอโทรทัศน์เพื่อเรียกน้ำตาคนดูได้ทุกๆวันโดยไม่ซ้ำ
ถึงแม้ จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลชุดนี้ดูจะตระหนักและมีวิสัยทัศน์ในการมองภาพในระยะยาว และเริ่มพยายามวางรากฐานเพื่อทำให้คนกลุ่มนี้สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น โดยมีการปรับนโยบายที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของรัฐสวัสดิการมากขึ้น
ไม่เพียงแต่ในเรื่องของการศึกษา (โครงการเรียนฟรี 15 ปี) เรื่องของสุขภาพ(กองทุนหลักประกันสุขภาพ) การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ และ การปรับโครงสร้างหนี้สินของครู และเกษตรกร รัฐบาลยังมีการดูแลผู้สูงอายุผ่านการจ่ายเบี้ยยังชีพผ้สูงอายุเดือนละ 500 บาท
นโยบายที่สำคัญอีกเรื่องที่อยู่ภายใต้แนวคิดของการปฏิรูประบบสวัสดิการของประเทศก็คือ โครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่ต้องการจะช่วยสร้างหลักประกันในยามชราภาพให้กับบรรดากลุ่มคนที่อยู่นอกระบบในปัจจุบัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้ลดลง
รูปแบบของกองทุนดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปัจจุบัน คือเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้าโครงการโดยสมัครใจ สามารถออมเป็นรายเดือนหรือรายงวดเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มอาชีพ
ผู้ออม หรือสมาชิก สามารรถจะจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเดือนละ100-1,000 บาท โดยอาจะจะชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส ทุกๆครึ่งปี หรือรายปีก็ได้
ในวเลาเดียวกันรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้ตามช่วงอายุของผู้ออม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกเริ่มออมตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยรัฐจะออกเงินสมทบให้ตามช่วงอายุ เช่นอายุตั้งแต่ 20-30 ปี ได้รับการสมทบ 50 บาท อายุ 30-50 ปี ได้รับสมทบ 80 บาท และ อายุตั้งแต่ 50-60 ปี ได้รับสมทบ 100 บาท
สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ตามจำนวนเงินในบัญชีของแต่ละคน ซึ่งจะเป็นยอดรวมของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาล บวกด้วยผลตอบแทนจากการออม ซึ่งน่าจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำปี และอัตราเงินเฟ้อ
ผลประโยชน์ดังกล่าวจะได้รับในรูปของเงินบำนาญตลอดชีพ ซึ่งมีการประมาณการขั้นต้นว่า หากออมเดือนละ 100 บาท ตั้งแต่อายุ 20 ปี จะได้รับเงินบำนาญสูงสุดประมาณ เดือนละ 1,710 บาท
นอกจากนี้ ยังอาจจะสามารถนำไปผูกโยงกับผลประโยชน์กับการประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต หรือ หากกองทุนมีขนาดใหญ่มากพอ อาจจะสามารถทำหน้าที่ในการปล่อยกู้ให้กับสมาชิกได้อีกด้วย
โครงการนี้ ผ่านมติคณะรัฐมนตรีมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2552 แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังระหว่างการปรับปรุงในรายละเอียดต่างๆ แต่ก็หวังกันว่า น่าจะสามารถผลักดันออกมาบังคับใช้ได้ภายในปี 2553 นี้
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่หลายๆคนก็ยังอดปรารภไม่ได้ว่า “แก้วันนี้ก็ยังอาจจะสายเกินไปหน่อย” แต่อย่างน้อยก็คงพอจะจุดประกายความหวังให้กับ คนทำงานอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีความรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้งให้เผชิญชะตากรรมอย่างโดดเดี่ยว
สำหรับหลายๆคน หากไม่หวังจะพึ่งพารัฐบาล หวังโชคลาภ หรือ ลาภลอยที่เลื่อนลอย ก็ลงมือสร้างด้วยตัวเองก็ได้ครับ เพราะถึงอย่างไรทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้จุดเริ่มต้นก็ต้องมาจากความสามารถและพลังความมุ่งมั่นของตัวคุณเองเท่านั้น