- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโคคและภาคธุรกิจยูโรโซนเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นมาอยู่ 89.2 จุด สูงสุดนับ ตั้งแต่ มิ.ย.ปีก่อน จากความเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกดีขึ้นและวิกฤตหนี้ยุโรปน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
- ยอดขาดดุลของภาครัฐบาลสเปนในปีก่อนิยู่ที่ 7.3% ของ GDP สูงกว่าระดับ 6.3% ที่ EU กำหนดไว้ แต่คาดว่ายอดขาดดุลในปีนี้จะอยู่ที่ 5.6% ของ GDP
- จำนวนผู้ว่างงานของเยอรมนีเดือน ม.ค. ลดลงสู่ 6.8% จาก 6.9% ในเดือน ธ.ค. โดยขณะนี้มีผู้ว่างงานรวม 2.92 ล้านคน ทั้งนี้ การที่จำนวนผู้ว่างงานลดลง 2 เดือนติดกันเป็นสัญญาณบวกสำหรับตลาดแรงงานและทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือน ม.ค.ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบปี (เคยต่ำสุดเมื่อ ต.ค 11) ถึงแม้จะคาดว่าตลาดหุ้นจะเป็นบวกและตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว แต่คนส่วนใหญ่ยังกังวลในความมั่นคงของรายได้เนื่องจากอัตราว่างงานยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงกังวลเรื่องมาตรการทางภาษี
- GDP สหรัฐลดลง 0.1% ในไตรมาส 4 ปีก่อน เป็นผลจากการลดลงของงบใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงงบประมาณกองทัพโดยการถอนกองกำลังออกจากพื้นที่สู้รบโดยลดลงถึง 4 หมื่นล้านดออลลาร์ ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ สต๊อกสินค้าคงคลังในภาคธุรกิจก็ลดลงด้วย
- งบใช้จ่ายและงบลงทุนของรัฐบาลกลาง ลดลง 15% (เพิ่มขึ้น 9.5% ในไตรมาส 3)
- งบที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ ลดลง 22.2% (เพิ่มขึ้น 12.9% ในไตรมาส 3)
- งบที่ไม่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ เพิ่มขึ้น 1.4% (เพิ่มขึ้น 3% ในไตรมาส 3)
- งบใช้จ่ายและลงทุนของรัฐบาลท้องถิ่น ลดลง 0.7% (เพิ่มขึ้น 0.3% ในไตรมาส 3)
- ธนาคารกลางนิวซีแลนด์คงอัตรดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% โดยธนาคารกลางได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวมาตั้งแต่ มี.ค.2555
- ดัชนีการปล่อยกู้ของธนาคารในกลุ่มตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นสู่ 50.5 ใน Q4/55 หลังจากที่ดัชนีเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ไตรมาส บ่งชี้ว่าภาวะด้านการปล่อยกู้ของธนาคารเริ่มฟื้นตัว ขณะที่ความต้องการเงินกู้ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอลง
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า อาจเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายตอบสนองนโยบายเชิงรุก โดยจะติดตามสถานการณ์ศรษฐกิจและระดับราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งการส่งสัญญาณครั้งนี้เป็นความพยามยามที่ BOJ จะหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากฝ่ายการเมือง
- เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัว 6.6% ในปีก่อน ซึ่งสูงกว่าคาด จากการที่ภาครัฐและภาคครัวเรือนใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรวมถึภาคบริการที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และแม้ว่าที่ผ่านมาจะได้พึ่งพาการบริโภคภาย ใน แต่ปีนี้การลงทุนจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี
- ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ เตรียมศึกษาแนวทางชะลอเงินไหลเข้า เพื่อปกป้องเสถียรภาพในภาคการเงินและเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้ เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์ ได้ส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการชะลอเงินทุนไหลเข้า เพื่อป้องกับการผันผวนของค่าเงิน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจีนใน Q4/55 เพิ่มขึ้นสู่ 108 จาก 106 ใน Q3/55 เป็นผลจากเศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะขยายตัวดีในอัตราคงที่ ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายทางการเงินของรัฐบาล (ดัชนีที่เคลื่อนไหวสูงกว่า 100 แสดงถึงทัศนคติเชิงบวก) ซึ่งผู้บริโภคในเขตชนบทมีมุมมองบวกมากขึ้น ส่วนผู้บริโภคที่อาศัยในเมืองใหญ่มีความมั่นใจลดน้อยลง
- อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ใน Q4/12 ลดลงสู่ 1.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากเดิม 1.9% ในไตรมาส 3 หลังจากที่รัฐบาลใช้นโยบายจำกัดการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือน ธ.ค. 55 เพิ่มขึ้นสู่ .63% จาก 2.74% ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีราคาสูงขึ้นรวดเร็ว ขณะที่ราคาพลังงานเร่งขึ้นเล็กน้อยตามราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
- SET Index ปิดตลาดที่ 1,474.20 จุด ลดลง 16.62 จุด หรือ -1.11% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 57,798.09 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,726.87 ล้านบาท ทั้งนี้ การปิดในแดนลบเป็นผลจากตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปที่ปรับตัวลดลงในวันก่อนหน้าเพราะผิดหวังใน GDP ไตรมาส 4 ของสหรัฐ ส่วนตลาดหุ้นไทยยังคงมีความกังวลในเรื่อง Fund Flow ที่กำลังชะลอตัว จากเมื่อวานที่ต่างชาติขายสุทธิค่อนข้างมาก จึงเริ่มมีแรงขายทำกำไรเพิ่มดัชนีเริ่มเข้าใกล้ 1,500 จุด
- ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เปิดเผยว่า แม้ตลาดหุ้นของไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาแต่เบื้องต้นยังไม่พบสัญญาณฟองสบู่ในตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากปัจจุบันระดับ P/E ยังไม่สูงเกิน 15 เท่า และที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดแนวรถไฟฟ้าก็ยังเป็นที่ต้องการ แต่เริ่มพบสัญญาณฟองสบู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ เพราะมีการก่อสร้างจำนวนมากแต่มีผู้ใช้บริการน้อย
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างทรงตัว เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง -0.03% ถึง +0.00% สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท อายุ 14 วัน วงเงิน 30,000 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติขายทำกำไรพันธบัตรรัฐบาลไทยวานนี้ (Net Sell) 7,875 ล้านบาท หลังจากซื้อสะสมต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
- Marc Faber
“ผู้เล่นในตลาดหุ้นขณะนี้กำลังไม่มีเหตุผลแล้ว ในปีก่อนดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนถึง 16% ส่วนเดือนแรกปีนี้ขึ้นมา 5.7% ผมเชื่อว่าเมื่อใดตลาดเพิ่มขึ้นจนใครๆ ก็ตื่นเต้นและอยากเข้าไปซื้อตลาดก็จะปรับลง ผมคิดว่าภาวะแบบนี้อาจจะจบลงในเดือน ก.พ.และกลับมาเพิ่มขึ้นอย่าง จริงจังอีกครั้งหลังจากปีนี้ผ่านพ้นไป ขณะนี้มีการคาดการณ์กำไรสุทธิของบริษัทต่างๆ สูงเกินไปเมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน เพราะการเติบโตของรายได้อาจไม่เป็นไปเช่นนั้น ผมเลยขายหุ้นในพอร์ตออกไป และแนะนำให้ลงทุนในทองคำ”
- Manoj Pradhan (Morgan Stanley)
“ที่ผ่านมานี้ สงครามค่าเงินที่แท้จริงยังไม่เคยเกิด เนื่องจาก QE ของสหรัฐมีเป้าหมายเพื่อจัดการภาวะเงินฝืดและทำให้มูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่จะทำให้ดอลล่าร์อ่อนค่าลง แต่มันกำลังจะเกิดเพราะญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลงจะได้กระตุ้นการส่งออก ประเด็นสำคัญคือเศรษฐกิจญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกสูง การอ่อนค่าของเงินเยนจึงมีความสำคัญมาก กว่าที่ค่าเงินดอลล่าร์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งนโยบายของญี่ปุ่นกำลังทำให้เยอรมนีเริ่มท้วงติง เพราะที่ผ่านมานี้ ยูโรแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยที่ ECB ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เยอรมนีและประเทศที่ใช้เงินยูโรจึงเสียเปรียบญี่ปุ่นในการแข่งขันด้านส่งออก”