General News
Equity Market
Fix income market
แต่เมื่อใดที่อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติ (QE) Yield จะสูงขึ้น ผู้ถือพันธบัตรจะขาดทุนและ FED เองก็จะมีรายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ค่อยๆ ลดลงเหลือศูนย์ โดยจะขาดทุนทาง บัญชี (Unrealized loss) จากพันธบัตรที่ถือไว้ถึง 3 แสนล้านเหรียญภายใน 3 ปี (เมื่อ Yield พันธบัตร สูงขึ้น คนที่ถือพันธบัตรอายุยาวๆ จะยิ่งขาดทุน) ส่งผลให้ไม่มีรายได้ส่งคลัง ดังนั้น ความเสี่ยงที่ Fedกำลังกังวลต่อการจบมาตรการ QE คือ ความเสี่ยงต่อรายได้ของ ก.คลัง ของที่จะลดลงนั่นเอง
- เยอรมนีขายตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปีโดยมีอัตราผลตอบแทนเป็นบวกที่ 0.06% โดยเฉลี่ย ได้ครั้งแรกนับตั้งแต่ มิ.ย. 2555 หลังจากนักลงทุนเริ่มคลายกังวลเกี่ยวกับปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของยูโรโซนและหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอิตาลีเดือน ม.ค.อยู่ที่ 84.6 ต่ำสุดในรอบ 17 ปี จากความกังวลของประชาชนก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปลายเดือน ก.พ. ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังคงถดถอย
- คริสตีน ลาการ์ด ผู้อำนวยการ IMF เตือนว่า สหรัฐอาจสูญเสียความเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก หากนักการเมืองไม่เร่งยุติความขัดแย้งและหันมาผลักดันแผนระยะยาวเพื่อรับมือปัญหาการคลังอย่างจริงจังเพราะความเชื่อมั่นของคนทั่วโลกที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐกำลังถูกทำลายลงไปทีละน้อย
- ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐเดือน ธ.ค. 2555 เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือน พ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง ในขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนซึ่งถือเป็นสัญญาณของการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 0.2%
- ผลกำไรภาคอุตสาหกรรมของจีนในปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียง 5.3% เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่ขยายตัว 25.4%โดยกำไรของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้ากับอาหารขยายตัวสูงสุด
- รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2556 (เม.ย. -มี.ค.) มาอยู่ที่ 2.5%โดยหวังว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ครั้งล่าสุด ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน สู่ 102 ทำให้มีหวังว่าการบริโภคภาคเอกชนจะช่วยชดเชยภาคการส่งออกและการลงทุนที่ชะลอตัวลงได้
- การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของสิงคโปร์ในปีก่อนเพิ่มขึ้น 17% สู่ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ นำโดยการลงทุนของภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ แสดงว่าเอเชียยังคงเป็นแหล่งลงทุนที่น่าดึงดูดใจของบรรดาบริษัททั้งภายในและภายนอกภูมิภาค
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ของไทยเดือน ธ.ค. 2555 เพิ่มขึ้น 23.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 98.8 เนื่องจากอุตสาหกรรมที่ประสบภัยพิบัติในช่วงปี 2554 ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ รถยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เร่งการผลิตเพิ่มขึ้น อนึ่ง ในปีนี้ สนง.เศรษฐกิจอุตสาหกรรมคาดว่าดัชนีจะขยายตัว 3.5-4%จากการเร่งผลิตของโรงงานประกอบรถยนต์เพื่อรีบส่งมอบให้กับลูกค้าที่จองรถตามนโยบายรถคันแรก
Equity Market
- SET Index ปิดตลาดที่ 1,472.05 จุด เพิ่มขึ้น 10.64 จุด หรือ +0.73% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 59,042.3 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 777.47 ล้านบาท ทั้งนี้ ดัชนีปรับตัวเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ โดยที่นักลงทุนเชื่อมั่นในการลงทุนมากขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาดี ประกอบกับญี่ปุ่นออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุม FOMC ระหว่างวันที่ 29 - 30 ม.ค.
- โตโยต้า กลับมาครองตำแหน่งผู้ผลิตรถยนต์ขายดีที่สุดในโลกประจำปี 2555 โดยมียอดขายสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 9.75 ล้านคันหรือเพิ่มขึ้น 22.6% จากปีก่อนหน้า หลังจากที่ต้องเสียตำแหน่งให้เจเนอรัล มอเตอร์ส ในปี 2554 เนื่องด้วยผลกระทบเชิงลบจากการเรียกคืนรถยนต์ในสหรัฐ และผลกระทบด้านอุปทานที่ชะงักงันหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นและน้ำท่วมในไทย
Fix income market
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.01% ในตราสารระยะสั้นและกลาง สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท. 1 เดือน / 3 เดือน / 6 เดือน 78,000 ล้านบาท
- ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าในช่วงนี้เป็นเพียงการปรับตัวของตลาดหลังจากที่ตัวเลขการส่งออกของไทยออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และยืนยันว่ายังไม่มีสัญญาณการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่ผิดปกติ สมาคมตลาดตราสารหนี้ (ThaiBMA) แสดงความไม่เห็นด้วยหาก ธปท. จะออกมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน เนื่องจากจะทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุน เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการมาควบคุมเมื่อใด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในระยะยาวได้
- Bruce Krasting อดีต ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund วิเคราะห์ว่า ที่ผ่านมาการใช้นโยบาย QE ของ FED ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวและขายพันธบัตรระยะสั้นเพื่อกดดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง ทำให้ FED มีกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยประมาณ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized Gain) จากพันธบัตรที่ลงทุนอีกประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์ (เมื่อ Yield ถูกกดให้ต่ำลงตลอด พันธบัตรที่ถือจึงมีกำไรทางบัญชีจากการ Mark to market) FED จึงนำส่งรายได้เข้าคลังได้สูงขึ้นตลอด โดยคาดว่ารายได้ที่ส่งเข้าคลังในปีก่อนมีมูลค่าเกือบ 9 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 10% ของยอดขาดดุลงบประมาณทั้งปี
แต่เมื่อใดที่อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติ (QE) Yield จะสูงขึ้น ผู้ถือพันธบัตรจะขาดทุนและ FED เองก็จะมีรายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ค่อยๆ ลดลงเหลือศูนย์ โดยจะขาดทุนทาง บัญชี (Unrealized loss) จากพันธบัตรที่ถือไว้ถึง 3 แสนล้านเหรียญภายใน 3 ปี (เมื่อ Yield พันธบัตร สูงขึ้น คนที่ถือพันธบัตรอายุยาวๆ จะยิ่งขาดทุน) ส่งผลให้ไม่มีรายได้ส่งคลัง ดังนั้น ความเสี่ยงที่ Fedกำลังกังวลต่อการจบมาตรการ QE คือ ความเสี่ยงต่อรายได้ของ ก.คลัง ของที่จะลดลงนั่นเอง