“ชัชชาติ” สั่งการรถไฟฯ ยุติการให้เช่าพื้นที่ในเขตทางเดินรถทั้งหมด หลังประชุม ครม.สัญจรที่อุตรดิตถ์พบมีการให้เช่าที่ดินเขตทางสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ถึง 50 ห้อง หวั่นเกิดปัญหาตอนสร้างรถไฟความเร็วสูง เพราะต้องใช้พื้นที่เขตทางทั้งหมดรัศมี 15 เมตร พร้อมสั่งผู้รับผิดชอบเคลียผู้เช่าขอคืนพื้นที่ “คมนาคม” เตรียมเปิดสำนักพัฒนาระบบราง เม.ย.นี้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยุติการให้เช่าที่ดินในเขตทางรถไฟทั้งหมด หลังจากตรวจเส้นทางรถไฟในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา แล้วพบว่าการอนุมัติให้เช่าพื้นที่ในเขตทางรถไฟ (รัศมี 15 เมตรจากรางรถไฟ)บริเวณใกล้เคียงกับสถานีอุตรดิตถ์ ซึ่งมีการก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 50 ห้องได้ส่งผลกระทบต่อการเดินรถและการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในอนาคต ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ได้ทำสัญญาไปแล้วก็ให้เจรจาหาทางเพื่อขอคืนพื้นที่
โดยที่ผ่านมาพบว่ามีการอนุมัติให้เช่าพื้นที่ในเขตทางรถไฟจุดอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการทำสัญญาที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องนำเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณา แต่อยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการฝ่ายทรัพย์สินที่สามารถอนุมัติได้ จึงต้องสั่งการให้ ร.ฟ.ท.ไปเจรจากับผู้เช่ารายเดิมเพื่อขอคืนพื้นที่ และยุติการทำสัญญาใหม่ทั้งหมด
“ไปตรวจที่อุตรดิตถ์พบว่ามีตึกแถว 50 ห้องสร้างอยู่ในพื้นที่เขตทางของ ร.ฟ.ท.ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะจะกระทบกับการเดินรถและความปลอดภัย ที่สำคัญคือเวลาเราสร้างรถไฟความเร็วสูงจะกลายเป็นมีงานเพิ่มขึ้นมาเพราะต้องจ่ายค่าเวนคืนไล่รื้อสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้ เนื่องจากเราต้องใช้พื้นที่เขตทางทั้งหมดเพราะสถานีมีขนาดใหญ่ การเดินรถมีความเร็ว ถ้ามีสิ่งปลูกสร้างอยู่ใกล้ทางรถไฟมากก็จะไม่ปลอดภัย ผมได้สั่งให้ ร.ฟ.ท.ยุติการให้เช่าพื้นที่ในเขตทางทั้งหมด ส่วนสัญญาเดิมก็ให้ไปเจรจาว่าจะจัดการอย่างไรได้บ้างเพื่อขอคืนพื้นที่” นายชัชชาติกล่าว
ด้าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในเดือนเมษายนนี้จะสามารถจัดตั้งสำนักพัฒนาระบบรางซึ่งเป็นสำนักงานที่กระทรวงคมนาคม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และจะเริ่มปฏิบัติงานได้ โดยจะทำหน้าที่กำกับดูแลงานก่อสร้างระบบรางไม่ให้ล่าช้า และเตรียมพัฒนาเป็นกรมขนส่งระบบรางต่อไป ซึ่งขณะนี้ตนกำลังพิจารณาจัดเตรียมบุคลากรมาปฏิบัติงานในกรมขนส่งระบบรางไม่ต่ำกว่า 100 คน โดย 1 ใน 3 คือผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ซึ่งจะคัดสรรทั้งจากบุคคลภายนอกและบุคคลภายในหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม และอีก 1 ส่วนคือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ขณะที่บุคลากรส่วนที่เหลือจะเป็นงานด้านบริหารจัดการ
อย่างไรก็ตาม ได้รายงานแผนการจัดตั้งกรมขนส่งระบบรางให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ 2556 โดยกรมฯ ดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องโครงการก่อสร้างพื้นฐานระบบรางทั้งหมดของกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งภาระหนี้สินที่จะเกิดจากการก่อสร้าง ส่วนหน่วยงานที่กำกับดูแลงานด้านระบบรางปัจจุบัน เช่น ร.ฟ.ท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะทำหน้าที่บริหารการเดินรถอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้หน่วยงานเหล่านี้ลดภาระด้านการกู้เงินเพื่อมาลงทุนก่อสร้าง และทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่มได้มากขึ้น
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยุติการให้เช่าที่ดินในเขตทางรถไฟทั้งหมด หลังจากตรวจเส้นทางรถไฟในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา แล้วพบว่าการอนุมัติให้เช่าพื้นที่ในเขตทางรถไฟ (รัศมี 15 เมตรจากรางรถไฟ)บริเวณใกล้เคียงกับสถานีอุตรดิตถ์ ซึ่งมีการก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 50 ห้องได้ส่งผลกระทบต่อการเดินรถและการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในอนาคต ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ได้ทำสัญญาไปแล้วก็ให้เจรจาหาทางเพื่อขอคืนพื้นที่
โดยที่ผ่านมาพบว่ามีการอนุมัติให้เช่าพื้นที่ในเขตทางรถไฟจุดอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการทำสัญญาที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องนำเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณา แต่อยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการฝ่ายทรัพย์สินที่สามารถอนุมัติได้ จึงต้องสั่งการให้ ร.ฟ.ท.ไปเจรจากับผู้เช่ารายเดิมเพื่อขอคืนพื้นที่ และยุติการทำสัญญาใหม่ทั้งหมด
“ไปตรวจที่อุตรดิตถ์พบว่ามีตึกแถว 50 ห้องสร้างอยู่ในพื้นที่เขตทางของ ร.ฟ.ท.ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะจะกระทบกับการเดินรถและความปลอดภัย ที่สำคัญคือเวลาเราสร้างรถไฟความเร็วสูงจะกลายเป็นมีงานเพิ่มขึ้นมาเพราะต้องจ่ายค่าเวนคืนไล่รื้อสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้ เนื่องจากเราต้องใช้พื้นที่เขตทางทั้งหมดเพราะสถานีมีขนาดใหญ่ การเดินรถมีความเร็ว ถ้ามีสิ่งปลูกสร้างอยู่ใกล้ทางรถไฟมากก็จะไม่ปลอดภัย ผมได้สั่งให้ ร.ฟ.ท.ยุติการให้เช่าพื้นที่ในเขตทางทั้งหมด ส่วนสัญญาเดิมก็ให้ไปเจรจาว่าจะจัดการอย่างไรได้บ้างเพื่อขอคืนพื้นที่” นายชัชชาติกล่าว
ด้าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในเดือนเมษายนนี้จะสามารถจัดตั้งสำนักพัฒนาระบบรางซึ่งเป็นสำนักงานที่กระทรวงคมนาคม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และจะเริ่มปฏิบัติงานได้ โดยจะทำหน้าที่กำกับดูแลงานก่อสร้างระบบรางไม่ให้ล่าช้า และเตรียมพัฒนาเป็นกรมขนส่งระบบรางต่อไป ซึ่งขณะนี้ตนกำลังพิจารณาจัดเตรียมบุคลากรมาปฏิบัติงานในกรมขนส่งระบบรางไม่ต่ำกว่า 100 คน โดย 1 ใน 3 คือผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ซึ่งจะคัดสรรทั้งจากบุคคลภายนอกและบุคคลภายในหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม และอีก 1 ส่วนคือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ขณะที่บุคลากรส่วนที่เหลือจะเป็นงานด้านบริหารจัดการ
อย่างไรก็ตาม ได้รายงานแผนการจัดตั้งกรมขนส่งระบบรางให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ 2556 โดยกรมฯ ดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องโครงการก่อสร้างพื้นฐานระบบรางทั้งหมดของกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งภาระหนี้สินที่จะเกิดจากการก่อสร้าง ส่วนหน่วยงานที่กำกับดูแลงานด้านระบบรางปัจจุบัน เช่น ร.ฟ.ท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะทำหน้าที่บริหารการเดินรถอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้หน่วยงานเหล่านี้ลดภาระด้านการกู้เงินเพื่อมาลงทุนก่อสร้าง และทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่มได้มากขึ้น