สื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากกว่าครึ่ง แม้สุดท้าย ณ จุดขายยังมีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด “ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส” ผุดหน่วยงาน SHOPPER SCIENCES ลุยงานวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค หวังสร้างแกร่งสู่ความเป็นผู้ให้บริการการสร้างแบรนด์แบบครบวงจร มองตลาดโฆษณาปีนี้สดใสต่อเนื่อง โตอีกไม่ต่ำกว่า 8-10%
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหาร บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา มีเดีย เอเยนซี เปิดเผยว่า ปีนี้ทางบริษัทได้วางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการเพิ่มหน่วยงานขึ้นมา 2 ด้าน คือ กลุ่ม Strategy & Innovation และ Shopper Sciences พร้อมบุคลากรใหม่เพิ่มเติม
สำหรับการให้บริการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมรอบด้าน เช่น การโฆษณา การบอกต่อ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ การจัดวางผลิตภัณฑ์ ราคา เป็นต้น ในการนำมาวิเคราะห์เจาะลึกถึงเหตุผล แรงจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญของนักวางแผนโฆษณาในการนำเสนอข้อมูลของผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภคได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ยังจะช่วยให้ไอพีจีฯ จากเดิมที่มีโพสิชันเป็นมีเดียเอเยนซีเพียงอย่างเดียว ได้ก้าวสู่ความเป็นผู้ให้บริการในการสร้างแบรนด์แบบครบวงจร มีบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ที่สำคัญช่วยให้ลูกค้าลดต้นทุนการใช้เงินเพื่อการโฆษณาได้ด้วย
ทั้งนี้ มองว่าในแง่ของรายได้รวมปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่าภาพรวมของตลาดโฆษณาที่มองว่าจะโตได้ราว 8-10% ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนที่อั้นการใช้เงิน ดันยอดขายได้มากขึ้น จึงพร้อมใช้เงินมากขึ้น และมองว่ากลุ่มสื่อดิจิตอลจะโตอีก 20% จาก 1,500-1,600 ล้านบาท (มาจากการเสิร์ชและโซเชียลมีเดียเป็นหลัก) ขณะที่รายได้รวมปี 2555 ที่ผ่านมา บริษัทมีการเติบโต 30%
นายสร เกียรติคณารัตน์ กรรมการผู้จัดการ แผนก Strategy & Innovation บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด กล่าวต่อว่า สำหรับหน่วยงานใหม่นี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจเลือกใช้บริการบ้างแล้ว ล่าสุด บริษัทได้จัดสัมมนาในหัวข้อ Shopper Sciences เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมานำเสนอโดยพบว่าแพลตฟอร์มดิจิตอลถือเป็นปัจจัยสำคัญมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากกว่า 50% ของปัจจัยรวมทั้งหมด กล่าวคือ
จากผลของงานวิจัยในงานสัมมนาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มผู้หญิงจากเดิมที่มองว่าเข้าถึงเทคโนโลยีน้อยนั้น ในความเป็นจริงสำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในปัจจุบัน มีการหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เช่น ดูจาก Online Review 54%, เว็บไซต์ศูนย์การค้า และรีเทลต่างๆ 44%, Online Search 43% และเว็บไซต์ของแบรนด์สินค้านั้นอีก 38% ทั้งนี้เมื่อแยกตามผู้บริโภคทั้งชายและหญิงตามอายุแล้ว ยังพบว่าในช่วงเวลาท้ายสุดของการตัดสินใจซื้อ กลุ่มอายุ 15-24 ปี จะใช้สื่อในช่องทางออนไลน์กว่า 6 แบบ เพื่อช่วยในการซื้อสินค้า ได้แก่ 1. Online Review 41% 2. Online Search 40% 3. Online VDO 37% 4. Brand www.35% 5. Mobile Seach 35% และ6. Retail www. 32%
ส่วนกลุ่มผู้บริโภคอายุ 25-34 ปี พบว่า มีการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยตัดสินใจซื้อในช่วงเวลาท้ายสุด 5 แบบ คือ 1. Online Review 53% 2. Online Search 48% 3. Brand www. 46% 4. Retail www. 40% และ 5. Mobile Seach 31% โดยกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปนั้น พบว่า ใช้ช่องทางออนไลน์หาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจซื้อในช่วงเวลาสุดท้ายที่ 5 แบบ เช่นกัน คือ 1. Online Review และ Mobile Seach ที่54% 2. Retail www. 50% 3. Brand www.48% และ4. Online Search 46% เมื่อรวมกับอันดับที่ 1 ที่มีเท่ากัน 2 แบบ ทำให้มีการเข้าถึงช่องทางออนไลน์รวมเป็น 5 แบบ
จากผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้รีเทลต้องมีการปรับตัวรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโมเดลรูปแบบของรีเทลที่ต้องเข้าถึงผู้บริโภคได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในแง่ของขนาดพื้นที่ ทำเล เป็นต้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ได้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว รวมถึงช่องทางการชอปปิ้งออนไลน์ ที่ทางรีเทลหลายแบรนด์ได้มีการปรับตัวรับกับสถาการณ์กับสื่อดิจิตอลที่กำลังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหาร บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา มีเดีย เอเยนซี เปิดเผยว่า ปีนี้ทางบริษัทได้วางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการเพิ่มหน่วยงานขึ้นมา 2 ด้าน คือ กลุ่ม Strategy & Innovation และ Shopper Sciences พร้อมบุคลากรใหม่เพิ่มเติม
สำหรับการให้บริการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมรอบด้าน เช่น การโฆษณา การบอกต่อ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ การจัดวางผลิตภัณฑ์ ราคา เป็นต้น ในการนำมาวิเคราะห์เจาะลึกถึงเหตุผล แรงจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญของนักวางแผนโฆษณาในการนำเสนอข้อมูลของผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภคได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ยังจะช่วยให้ไอพีจีฯ จากเดิมที่มีโพสิชันเป็นมีเดียเอเยนซีเพียงอย่างเดียว ได้ก้าวสู่ความเป็นผู้ให้บริการในการสร้างแบรนด์แบบครบวงจร มีบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ที่สำคัญช่วยให้ลูกค้าลดต้นทุนการใช้เงินเพื่อการโฆษณาได้ด้วย
ทั้งนี้ มองว่าในแง่ของรายได้รวมปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่าภาพรวมของตลาดโฆษณาที่มองว่าจะโตได้ราว 8-10% ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนที่อั้นการใช้เงิน ดันยอดขายได้มากขึ้น จึงพร้อมใช้เงินมากขึ้น และมองว่ากลุ่มสื่อดิจิตอลจะโตอีก 20% จาก 1,500-1,600 ล้านบาท (มาจากการเสิร์ชและโซเชียลมีเดียเป็นหลัก) ขณะที่รายได้รวมปี 2555 ที่ผ่านมา บริษัทมีการเติบโต 30%
นายสร เกียรติคณารัตน์ กรรมการผู้จัดการ แผนก Strategy & Innovation บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด กล่าวต่อว่า สำหรับหน่วยงานใหม่นี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจเลือกใช้บริการบ้างแล้ว ล่าสุด บริษัทได้จัดสัมมนาในหัวข้อ Shopper Sciences เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมานำเสนอโดยพบว่าแพลตฟอร์มดิจิตอลถือเป็นปัจจัยสำคัญมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากกว่า 50% ของปัจจัยรวมทั้งหมด กล่าวคือ
จากผลของงานวิจัยในงานสัมมนาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มผู้หญิงจากเดิมที่มองว่าเข้าถึงเทคโนโลยีน้อยนั้น ในความเป็นจริงสำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในปัจจุบัน มีการหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เช่น ดูจาก Online Review 54%, เว็บไซต์ศูนย์การค้า และรีเทลต่างๆ 44%, Online Search 43% และเว็บไซต์ของแบรนด์สินค้านั้นอีก 38% ทั้งนี้เมื่อแยกตามผู้บริโภคทั้งชายและหญิงตามอายุแล้ว ยังพบว่าในช่วงเวลาท้ายสุดของการตัดสินใจซื้อ กลุ่มอายุ 15-24 ปี จะใช้สื่อในช่องทางออนไลน์กว่า 6 แบบ เพื่อช่วยในการซื้อสินค้า ได้แก่ 1. Online Review 41% 2. Online Search 40% 3. Online VDO 37% 4. Brand www.35% 5. Mobile Seach 35% และ6. Retail www. 32%
ส่วนกลุ่มผู้บริโภคอายุ 25-34 ปี พบว่า มีการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยตัดสินใจซื้อในช่วงเวลาท้ายสุด 5 แบบ คือ 1. Online Review 53% 2. Online Search 48% 3. Brand www. 46% 4. Retail www. 40% และ 5. Mobile Seach 31% โดยกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปนั้น พบว่า ใช้ช่องทางออนไลน์หาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจซื้อในช่วงเวลาสุดท้ายที่ 5 แบบ เช่นกัน คือ 1. Online Review และ Mobile Seach ที่54% 2. Retail www. 50% 3. Brand www.48% และ4. Online Search 46% เมื่อรวมกับอันดับที่ 1 ที่มีเท่ากัน 2 แบบ ทำให้มีการเข้าถึงช่องทางออนไลน์รวมเป็น 5 แบบ
จากผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้รีเทลต้องมีการปรับตัวรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโมเดลรูปแบบของรีเทลที่ต้องเข้าถึงผู้บริโภคได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในแง่ของขนาดพื้นที่ ทำเล เป็นต้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ได้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว รวมถึงช่องทางการชอปปิ้งออนไลน์ ที่ทางรีเทลหลายแบรนด์ได้มีการปรับตัวรับกับสถาการณ์กับสื่อดิจิตอลที่กำลังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น