สหรัฐฯ ประกาศเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ CVD กุ้งไทย พ่วงอีก 6 ประเทศ “พาณิชย์” ไม่หวั่นจับมือผู้ส่งออกหาทางต่อสู้เพื่อให้มีผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทยน้อยที่สุด
นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเปิดการไต่สวนการอุดหนุน (CVD) สินค้ากุ้งแช่แข็งจากประเทศต่างๆ รวม 7 ประเทศ คือ ไทย จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และเอกวาดอร์ เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา โดยจากนี้ไปสหรัฐฯ จะไต่สวนด้านความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับการไต่สวนการอุดหนุนอุตสาหกรรมกุ้งของไทยว่ามีส่วนทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งตามขั้นตอนปกติ สหรัฐฯ จะใช้เวลาประมาณ 45 และ 85 วัน ในการไต่สวนเพื่อประกาศผลขั้นต้นด้านความเสียหายและการอุดหนุนตามลำดับ
ทั้งนี้ การประกาศเปิดการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ CVD สินค้ากุ้งแช่แข็งของสหรัฐฯ อาจส่งผลให้เกิดการชะงักงันต่อการส่งออกกุ้งของไทย ซึ่งกรมฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่ถูกกล่าวหาและผู้ส่งออกกุ้งเพื่อต่อสู้ให้ไทยหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาดังกล่าว หรือหากไม่ก็จะพยายามให้มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมส่งออกกุ้งของไทยน้อยที่สุด
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) กับกุ้งไทยมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ตลอดระยะเวลาการใช้มาตรการดังกล่าว ภาครัฐและผู้ส่งออกไทยได้ร่วมต่อสู้กันทำให้อัตราอากร AD กุ้งไทยลดลงจนอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ สหรัฐฯ จึงยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย โดยเป็นตลาดส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งอันดับ 1 ปีละมากกว่า 45,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของปริมาณการส่งออกรวม ในขณะที่จากสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ไทยเป็นแหล่งนำเข้ากุ้งอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง
นายผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า สหรัฐฯ อ้างว่ารัฐบาลไทยให้การอุดหนุนอุตสาหกรรมกุ้ง โดยพิจารณาจากทุกโครงการของทุกหน่วยงานรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมกุ้ง เช่น โครงการยกระดับราคากุ้ง การให้เงินทุนหมุนเวียน การให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ สิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น จึงได้ประกาศเปิดไต่สวน CVD สินค้ากุ้งจากไทย ซึ่งรัฐบาลไทยต้องให้ข้อมูลในการต่อสู้ แต่เชื่อว่าสหรัฐฯ คงเรียกเก็บอากรตอบโต้แน่นอน ไม่เช่นนั้นคงไม่เปิดไต่สวน
นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเปิดการไต่สวนการอุดหนุน (CVD) สินค้ากุ้งแช่แข็งจากประเทศต่างๆ รวม 7 ประเทศ คือ ไทย จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และเอกวาดอร์ เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา โดยจากนี้ไปสหรัฐฯ จะไต่สวนด้านความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับการไต่สวนการอุดหนุนอุตสาหกรรมกุ้งของไทยว่ามีส่วนทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งตามขั้นตอนปกติ สหรัฐฯ จะใช้เวลาประมาณ 45 และ 85 วัน ในการไต่สวนเพื่อประกาศผลขั้นต้นด้านความเสียหายและการอุดหนุนตามลำดับ
ทั้งนี้ การประกาศเปิดการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ CVD สินค้ากุ้งแช่แข็งของสหรัฐฯ อาจส่งผลให้เกิดการชะงักงันต่อการส่งออกกุ้งของไทย ซึ่งกรมฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่ถูกกล่าวหาและผู้ส่งออกกุ้งเพื่อต่อสู้ให้ไทยหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาดังกล่าว หรือหากไม่ก็จะพยายามให้มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมส่งออกกุ้งของไทยน้อยที่สุด
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) กับกุ้งไทยมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ตลอดระยะเวลาการใช้มาตรการดังกล่าว ภาครัฐและผู้ส่งออกไทยได้ร่วมต่อสู้กันทำให้อัตราอากร AD กุ้งไทยลดลงจนอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ สหรัฐฯ จึงยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย โดยเป็นตลาดส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งอันดับ 1 ปีละมากกว่า 45,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของปริมาณการส่งออกรวม ในขณะที่จากสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ไทยเป็นแหล่งนำเข้ากุ้งอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง
นายผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า สหรัฐฯ อ้างว่ารัฐบาลไทยให้การอุดหนุนอุตสาหกรรมกุ้ง โดยพิจารณาจากทุกโครงการของทุกหน่วยงานรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมกุ้ง เช่น โครงการยกระดับราคากุ้ง การให้เงินทุนหมุนเวียน การให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ สิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น จึงได้ประกาศเปิดไต่สวน CVD สินค้ากุ้งจากไทย ซึ่งรัฐบาลไทยต้องให้ข้อมูลในการต่อสู้ แต่เชื่อว่าสหรัฐฯ คงเรียกเก็บอากรตอบโต้แน่นอน ไม่เช่นนั้นคงไม่เปิดไต่สวน