สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “ทีเส็บ” พร้อมด้วย 8 หน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมผนึกกำลังระดมสมองในกิจกรรมเชียงใหม่ไมซ์ซัมมิต (Chiang Mai MICE Summit) ประกาศเจตนารมณ์ และความร่วมมือวางกรอบ “แผนแม่บท” การทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการ ต่อยอดสู่การเป็น “นครแห่งไมซ์” ระดับโลก สนองนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้ปี 2556 เป็น “ปีแห่งไมซ์จังหวัดเชียงใหม่”
กิจกรรมเชียงใหม่ไมซ์ซัมมิต (Chiang Mai MICE Summit) ในครั้งนี้ บูรณาการความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ พร้อมด้วย 8 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำเชียงใหม่ เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ หรือ Chiang Mai Creative City (CMCC) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในนามผู้แทนมหาวิทยาลัยภาคเหนือ 8 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปแนวทางในการวางกรอบแผนแม่บทการทำงานเพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการของประเทศและภูมิภาคอาเซียนในระยะเวลา 5 ปี
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทั้งในภาคเหนือและสามารถเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพ แม้ว่าเชียงใหม่จะเป็นเมืองที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจมาก แต่คนส่วนใหญ่รู้จักเชียงใหม่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นกับฤดูท่องเที่ยวเป็นหลัก และขาดการส่งเสริมธุรกิจในภาพรวม การกำหนดแผนแม่บทและวางยุทธศาสตร์ให้เชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางของการจัดงานไมซ์ (MICE Destination) จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาในทุกด้าน รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในเชียงใหม่อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ความร่วมมือระหว่าง 9 องค์กรในวันนี้ถือเป็นมิติใหม่ในการกำหนดอนาคตของเมืองเชียงใหม่”
นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “การพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะในกรอบของอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) หรือกรอบความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศในอ่าวเบงกอล หรือ BIMSTEC จะทำให้ความต้องการด้านการจัดประชุมและนิทรรศการเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การจัดประชุมและนิทรรศการจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดธุรกิจ สร้างโอกาสในเชิงเศรษฐกิจและความร่วมมือในด้านต่างๆ เชียงใหม่ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และมีศักยภาพอยู่แล้วจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับโอกาสเหล่านี้ ซึ่งในท้ายที่สุดจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศไทยโดยรวมได้เป็นอย่างดี”
สำหรับศักยภาพด้านสาธารณูปโภคของจังหวัดเชียงใหม่ในการผลักดันให้ก้าวสู่การเป็น “นครแห่งไมซ์” คือ การมีจำนวนโรงแรมและห้องพักภายในจังหวัดรวมกว่า 33,000 ห้อง สนามบินนานาชาติใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ตามลำดับ โดยมีการบินภายในประเทศสัปดาห์ละ 401 เที่ยว และการบินระหว่างประเทศสัปดาห์ละ 76 เที่ยว ปัจจุบันสนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่รองรับผู้โดยสารได้ 8 ล้านคนต่อปี และรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ปีละ 30,000ตัน มีเที่ยวบินขึ้นลงรวม 12,377 เที่ยวบิน และในช่วงฤดูท่องเที่ยวมีสายการบินอีก 7 สายการบินขอเพิ่มเที่ยวบินและเปิดเส้นทางบินตรงสู่จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ สายการบินแอร์บากัน สายการบินไชน่าอีสเทิร์น สายการบินโคเรียนแอร์ สายการบินซิลค์แอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไชน่าแอร์ไลน์ สายการบินแอร์เอเชีย
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า “ความร่วมมือในการกำหนดกรอบการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการจัดงานไมซ์เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะนักเดินทางกลุ่มไมซ์ใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปถึง 2-3 เท่า และจะช่วยสร้างธุรกิจตลอดทั้งปี การประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ความสำเร็จของหลายๆ เมืองทั่วโลกที่เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการจัดงานไมซ์ก็ต้องให้เมืองนั้นและหน่วยงานในพื้นที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาโดยมีส่วนกลางเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งทางทีเส็บก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเมืองเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ โดยผลักดันให้พัฒนาเชียงใหม่ไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งให้เชียงใหม่และประเทศโดยรวม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การยกระดับมาตรฐานบริการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่จัดประชุม สถานที่ท่องเที่ยว และอื่นๆ ตลอดจนกระตุ้นการค้า การลงทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป”
ตามกรอบแนวทางจัดทำแผนแม่บทการทำงานเพื่อพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์-นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง แผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ในระยะแรก ปี 2556 จะเน้นการทำตลาดในประเทศและวางรากฐานอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งในด้านการกำหนดเป้าหมายให้เชียงใหม่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ไมซ์ การรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งส่งเสริมการจัดประชุมของตลาดในประเทศ ส่วนในระยะที่ 2 ระหว่างปี 2557-2558 จะขยายการส่งเสริมออกไปในระดับภูมิภาค ผ่านกรอบความร่วมมือ GMS, BIMSTEC, และเมืองพี่เมืองน้องของจังหวัด การขยายตลาดร่วมกัน โดยยังคงเน้นการสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจกับวัฒนธรรม และในระยะที่ 3 ระหว่างปี 2559-2560 คือการเร่งพัฒนาและประกาศความพร้อมในการเป็น “นครแห่งไมซ์” ระดับโลก (Global MICE City) ส่งเสริมการจัดงานระดับใหญ่ (Mega Event) หรือการประชุมสัมมนาในระดับโลกต่อไป และหลังจากนี้จังหวัดเชียงใหม่และทีเส็บจะได้นำกรอบแนวทางจัดทำแผนแม่บทการทำงานเพื่อพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์-นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ไปนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบต่อไป
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่มีมูลค่ารวมในอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศคิดเป็นจำนวน 3,355.9 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นนักเดินทางกลุ่มไมซ์ในประเทศจำนวน 19,261 คน คิดเป็นมูลค่า 82.19 ล้านบาท และนักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวต่างชาติจำนวน 40,718 คน สร้างรายได้กว่า 3,273.7 ล้านบาท และมีอัตราการจัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดทั้งสิ้นรวม 427 ครั้งต่อปี
กิจกรรมเชียงใหม่ไมซ์ซัมมิต (Chiang Mai MICE Summit) ในครั้งนี้ บูรณาการความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ พร้อมด้วย 8 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำเชียงใหม่ เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ หรือ Chiang Mai Creative City (CMCC) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในนามผู้แทนมหาวิทยาลัยภาคเหนือ 8 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปแนวทางในการวางกรอบแผนแม่บทการทำงานเพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการของประเทศและภูมิภาคอาเซียนในระยะเวลา 5 ปี
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทั้งในภาคเหนือและสามารถเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพ แม้ว่าเชียงใหม่จะเป็นเมืองที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจมาก แต่คนส่วนใหญ่รู้จักเชียงใหม่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นกับฤดูท่องเที่ยวเป็นหลัก และขาดการส่งเสริมธุรกิจในภาพรวม การกำหนดแผนแม่บทและวางยุทธศาสตร์ให้เชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางของการจัดงานไมซ์ (MICE Destination) จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาในทุกด้าน รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในเชียงใหม่อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ความร่วมมือระหว่าง 9 องค์กรในวันนี้ถือเป็นมิติใหม่ในการกำหนดอนาคตของเมืองเชียงใหม่”
นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “การพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะในกรอบของอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) หรือกรอบความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศในอ่าวเบงกอล หรือ BIMSTEC จะทำให้ความต้องการด้านการจัดประชุมและนิทรรศการเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การจัดประชุมและนิทรรศการจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดธุรกิจ สร้างโอกาสในเชิงเศรษฐกิจและความร่วมมือในด้านต่างๆ เชียงใหม่ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และมีศักยภาพอยู่แล้วจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับโอกาสเหล่านี้ ซึ่งในท้ายที่สุดจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศไทยโดยรวมได้เป็นอย่างดี”
สำหรับศักยภาพด้านสาธารณูปโภคของจังหวัดเชียงใหม่ในการผลักดันให้ก้าวสู่การเป็น “นครแห่งไมซ์” คือ การมีจำนวนโรงแรมและห้องพักภายในจังหวัดรวมกว่า 33,000 ห้อง สนามบินนานาชาติใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ตามลำดับ โดยมีการบินภายในประเทศสัปดาห์ละ 401 เที่ยว และการบินระหว่างประเทศสัปดาห์ละ 76 เที่ยว ปัจจุบันสนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่รองรับผู้โดยสารได้ 8 ล้านคนต่อปี และรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ปีละ 30,000ตัน มีเที่ยวบินขึ้นลงรวม 12,377 เที่ยวบิน และในช่วงฤดูท่องเที่ยวมีสายการบินอีก 7 สายการบินขอเพิ่มเที่ยวบินและเปิดเส้นทางบินตรงสู่จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ สายการบินแอร์บากัน สายการบินไชน่าอีสเทิร์น สายการบินโคเรียนแอร์ สายการบินซิลค์แอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไชน่าแอร์ไลน์ สายการบินแอร์เอเชีย
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า “ความร่วมมือในการกำหนดกรอบการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการจัดงานไมซ์เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะนักเดินทางกลุ่มไมซ์ใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปถึง 2-3 เท่า และจะช่วยสร้างธุรกิจตลอดทั้งปี การประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ความสำเร็จของหลายๆ เมืองทั่วโลกที่เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการจัดงานไมซ์ก็ต้องให้เมืองนั้นและหน่วยงานในพื้นที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาโดยมีส่วนกลางเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งทางทีเส็บก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเมืองเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ โดยผลักดันให้พัฒนาเชียงใหม่ไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งให้เชียงใหม่และประเทศโดยรวม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การยกระดับมาตรฐานบริการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่จัดประชุม สถานที่ท่องเที่ยว และอื่นๆ ตลอดจนกระตุ้นการค้า การลงทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป”
ตามกรอบแนวทางจัดทำแผนแม่บทการทำงานเพื่อพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์-นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง แผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ในระยะแรก ปี 2556 จะเน้นการทำตลาดในประเทศและวางรากฐานอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งในด้านการกำหนดเป้าหมายให้เชียงใหม่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ไมซ์ การรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งส่งเสริมการจัดประชุมของตลาดในประเทศ ส่วนในระยะที่ 2 ระหว่างปี 2557-2558 จะขยายการส่งเสริมออกไปในระดับภูมิภาค ผ่านกรอบความร่วมมือ GMS, BIMSTEC, และเมืองพี่เมืองน้องของจังหวัด การขยายตลาดร่วมกัน โดยยังคงเน้นการสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจกับวัฒนธรรม และในระยะที่ 3 ระหว่างปี 2559-2560 คือการเร่งพัฒนาและประกาศความพร้อมในการเป็น “นครแห่งไมซ์” ระดับโลก (Global MICE City) ส่งเสริมการจัดงานระดับใหญ่ (Mega Event) หรือการประชุมสัมมนาในระดับโลกต่อไป และหลังจากนี้จังหวัดเชียงใหม่และทีเส็บจะได้นำกรอบแนวทางจัดทำแผนแม่บทการทำงานเพื่อพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์-นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ไปนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบต่อไป
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่มีมูลค่ารวมในอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศคิดเป็นจำนวน 3,355.9 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นนักเดินทางกลุ่มไมซ์ในประเทศจำนวน 19,261 คน คิดเป็นมูลค่า 82.19 ล้านบาท และนักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวต่างชาติจำนวน 40,718 คน สร้างรายได้กว่า 3,273.7 ล้านบาท และมีอัตราการจัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดทั้งสิ้นรวม 427 ครั้งต่อปี