xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 5 ตอนจบ (11/01/56)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 5 ตอนจบ
 
  3. การเคลื่อนย้ายของอำนาจทั้งในรูปแบบของ Smart Power.และ Hard Power.
หลังจากที่ประเทศจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO มีผลทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียง 10 ปี สามารถก้าวขึ้นสู่ขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกสร้างความวิตกกังวลกับประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจและมหาอำนาจทางการทหาร  จากการเจริญเติบโตและการขยายอิทธิพลเข้าสู่ประเทศต่างแบบมิตรที่ดีทางการค้าและความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกัน และการขยายความร่วมมือต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจยังภูมิภาคต่างเช่น ยุโรป,แอฟริกา และอเมริกาใต้ เห็นได้จากการเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆแบบความร่วมมือในการพัฒนา เช่น การร่วมมือกับกลุ่มประเทศในยุโรปในการสร้างเส้นทางรถไฟ ที่เป็นทางรถไฟความเร็วสูงโดยเริ่มต้นจาก ปักกิ่ง ปลายทาง ลอนดอน โดยประมาณการเวลาเดินทางเพียง 2 วัน เส้นทางเดินทางนี้เรียกว่าเป็นเส้นทางสายไหม เส้นทางใหม่เพราะนอกจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแล้ว ยังมีเส้นทางรถไฟขนส่ง คู่ขนานด้วยท่อส่งแก็สและน้ำมัน ที่ผ่านประเทศคาซัคสถาน ซึ่งมีแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ เพื่อขนส่งน้ำมันเข้ามาสู่แหล่งอุสาหกรรมทางภาคตะวันออก
การร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆอีกเช่น การร่วมมือทางการแลกเปลี่ยนทางการเงิน ก่อนหน้านี้เงินสกุลต่างๆจะแลกเปลี่ยนกันจะต้องเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์แล้วถึงจะเปลี่ยนเป็นสกุลอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากข้อตกลงระหว่าง จีนกับรัสเซีย ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกันโดยไม่มีเงินดอลลาร์เป็นตัวกลาง การแลกเงินหยวนโดยตรงนั้นก็กระจายออกไปยังประเทศต่างในแถบอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บางประเทศในตะวันออกกลาง และที่สำคัญ เงินหยวน กำลังเป็นทุนสำรองของธนาคารกลางในหลายๆประเทศร่วมทั้งประเทศไทยด้วย ประเทศสิงคโปร์ก็กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางกลางการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนผ่านธนาคารแบงก์ ออฟ ไชน่า สาขาสิงคโปร์
จึงมีผลทำให้ความสำคัญของเงินดอลลาร์เริ่มลดความสำคัญลงในหลายส่วนของโลก และจากการที่ประเทศต่างๆได้ปรับท่าทีทางเศรษฐกิจและเริ่มมีการสร้างเขตการค้าต่างๆขึ้นโดยไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมอยู่ในกลุ่ม  ซึ่งสร้างความสั่นคลอนในอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นและมองเห็นจุดอ่อนของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนคือ ประเทศจีนไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง จึงร่วมมือกับอุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นผู้สนับสนุนใหญ่ของพรรคการเมืองที่มีอำนาจขณะนั้นคือ พรรครีพับลิกัน ปั่นราคาน้ำมันขึ้นมาจาก ราคา 18-20 เหรียญต่อบาร์เรล ขึ้นไปถึงระดับราคา 140 เหรียญ  แต่ผลกระทบที่ร้ายแรงกับตกอยู่กับสหรัฐอเมริกาเองในวิกฤติการณ์ทางการเงินปี 2008
แต่เนื่องจากการที่ภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก เป็นเขตเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตสูงที่สุด มีการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงที่สุด มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ จึงทำให้สหรัฐอเมริกามีความต้องการเข้ามามีอิทธิพลทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงได้มีการประกาศเพิ่มกำลังทหารเข้ามาในภูมิภาค และส่งกองทัพเรือขนาดใหญ่มาประจำยังน่านน้ำสำคัญเช่น เวียดนาม อ่าวไทย ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น
และให้การทูตอยู่เบื้องหลังการสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อแทรกตัวเข้าไปได้ผลประโยชน์จากความขัดแย้งนั้น เช่นกรณีการพิพาทในหมู่เกาะสแปรรี่ ระหว่าง จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน การขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเรื่องหมู่เกาะ เตียวหยู  ความขัดแย้งของไทย กับกัมพูชา โดยมีผลประโยชน์ทางพลังงานอยู่เบื้องหลัง
ร่วมไปถึงการเจรจาผลโยชน์ทางทรัพยากรและการค้าของกลุ่มทุน มาสู่นักการเมืองให้ออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์หรือละเว้นกฎหมายบางข้อ ติดสินบนผู้นำกองทัพให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากว่าผลประโยชน์ของประเทศ  ซึ่งจะใช้ไม่ได้ในหลายประเทศที่ประชาชนในประเทศตระหนักถึงความเป็นชนชาติ แต่ใช้ได้กับประเทศที่ประชาชนไร้ซิ่งจิตสำนึกและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

โดยสรุปได้ว่า การเคลื่อนย้ายของทุนจะมีการเคลื่อนย้ายที่เป็นระบบประสานสอดคล้องในการเดินเกม เราเองจึงต้องมีองค์ความรู้ที่มากพอเพื่อที่จะรับมือกระแสทุนและผลประโยชน์มหาศาลจากทรัพยากรที่เป็นที่ต้องการอย่างไม่มีวันสิ้นนี้ให้ได้และอย่างไรในการรับมือในอนาคต
 
 
T.Thammasak.
กำลังโหลดความคิดเห็น