เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก. ตอนที่ 2(4 มกราคม 2556)
การเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิกครั้งนี้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเป็นระบบที่แบ่งได้ 3 ลักษณะคือ
1.การเคลื่อนย้ายของทุนจากฝั่งตะวันตก
2.การเคลื่อนย้ายของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผูกขาดด้วย ระบบ,กฎหมาย และนวัตกรรม
3.การเคลื่อนย้ายของอำนาจทั้งในรูปแบบของ Smart Power.และ Hard Power.
1. การเคลื่อนย้ายของทุนจากฝั่งตะวันตก
การเคลื่อนย้ายของทุนในปัจจุบันนี้แตกต่างจากอดีตที่การเคลื่อนย้ายมี”ช่วงระยะเวลา”เข้ามาเกี่ยวข้อง(เช่นการโอนเงินไปยังต่างประเทศเช่น อเมริกาอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์)
แต่ในปัจจุบันนี้ช่วง”ระยะเวลา”กลายเป็น “ศูนย์”จากการเชื่อมต่อที่ไร้พรมแดนทำให้ทุนสามารถเคลื่อนย้ายหรือไหลเวียนไปมาทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง(Money never sleep.)
ภายใต้ข้อตกลงที่ชื่อว่า ฉันทามติ วอชิงตัน (Washington Consensus) ที่บังคับให้ทุกประเทศต้องเปิดเสรีทางการเงิน จึงมีผลทำให้การไหลเข้า-ออกของทุนในแต่ละประเทศกำลัง
จะเป็นไปอย่างเสรี โดยมีศูนย์กลางทางการเงินอยู่ที่ นิวยอร์ก-ลอนดอน-ซูริก-สิงคโปร์-ฮ่องกง ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิงคโปร์และฮ่องกงคือศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายของทุนเข้าสู่ประเทศต่างๆ
ในแต่ละภูมิภาคเช่น สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายเข้าออกในแทบภูมิภาคอาเซียน ทุนที่เคลื่อนย้ายมีความเป็นอิสระที่จะเข้าซื้อ-ขายใน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดเงินหรือ
อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดอนุพันธ์หรือตราสารอ้างอิง ตลาดสินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งการลงทุนคือการเข้ามาเก็งกำไรในแต่ละตลาด ที่ไม่เหมือนในอดีตที่การลงทุนคือการเข้า
มาเปิดกิจการและเปิดโรงงานการผลิต
การเคลื่อนย้ายในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร จนต้องบีบให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมีความจำเป็นต้อง
ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเช่นใน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไทย อินเดีย เกาหลีใต้ และที่สำคัญคือประเทศจีน ที่ในปีที่ผ่านมามีการลดถึง2ครั้งในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่นาน จนเป็นผลการกระ
ตุ้นที่ดีของเขตเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และเพียง 2 วันทำการหลังปีใหม่กระแสการไหลยิ่งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเงิน แปโซแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี
การที่ทุนไหลเข้าประเทศจีนโดยตรงนั้นยังค่อนข้างมีกฎเกณฑ์ข้อจำกัดที่ค่อนข้างมาก แต่ก็ยังมีช่องโว่คือ การซื้อตราสารอ้างอิง ADR ในตลาดหุ้นนิวยอร์กผ่านการซื้อโดยตรงหรือ
ซื้อผ่านกองทุน ETF หรือ การไหลเข้าตลาดหุ้นจีน(ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้) ผ่าน กองทุน ETF ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงเช่น กองทุน ETF -X ISHARES A 50 .etc. ที่ช่วงปลายปีที่
ผ่านมามีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางของฮ่องกง ต้องออกมาสู่กับการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนหลายครั้งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา
และการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง และสิงคโปร์ ปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 200% ในรอบ 3 ปีนั้น ก็เป็นการเข้าเก็งกำไรในนวัตกรรมทางการเงินที่เรียกว่า “กองทุน
อสังหาริมทรัพย์”(Property Fund) กองที่มีความโดดเด่นเช่น Link Reit.เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นในตลาดหุ้นฮ่องกง ปรับราคาจาก 26 HKD สู่ระดับสู่สุดที่ 43 HKD ใน
ช่วงเวลา1 ปีที่ผ่านมา หรือจากระดับราคา 18 HKD สู่ระดับสู่สุดที่ 43 HKD ในช่วงเวลา3 ปี ยังไม่รวมผลตอบแทนจากเงินปันผล.
T.Thammasak.
การเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิกครั้งนี้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเป็นระบบที่แบ่งได้ 3 ลักษณะคือ
1.การเคลื่อนย้ายของทุนจากฝั่งตะวันตก
2.การเคลื่อนย้ายของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผูกขาดด้วย ระบบ,กฎหมาย และนวัตกรรม
3.การเคลื่อนย้ายของอำนาจทั้งในรูปแบบของ Smart Power.และ Hard Power.
1. การเคลื่อนย้ายของทุนจากฝั่งตะวันตก
การเคลื่อนย้ายของทุนในปัจจุบันนี้แตกต่างจากอดีตที่การเคลื่อนย้ายมี”ช่วงระยะเวลา”เข้ามาเกี่ยวข้อง(เช่นการโอนเงินไปยังต่างประเทศเช่น อเมริกาอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์)
แต่ในปัจจุบันนี้ช่วง”ระยะเวลา”กลายเป็น “ศูนย์”จากการเชื่อมต่อที่ไร้พรมแดนทำให้ทุนสามารถเคลื่อนย้ายหรือไหลเวียนไปมาทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง(Money never sleep.)
ภายใต้ข้อตกลงที่ชื่อว่า ฉันทามติ วอชิงตัน (Washington Consensus) ที่บังคับให้ทุกประเทศต้องเปิดเสรีทางการเงิน จึงมีผลทำให้การไหลเข้า-ออกของทุนในแต่ละประเทศกำลัง
จะเป็นไปอย่างเสรี โดยมีศูนย์กลางทางการเงินอยู่ที่ นิวยอร์ก-ลอนดอน-ซูริก-สิงคโปร์-ฮ่องกง ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิงคโปร์และฮ่องกงคือศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายของทุนเข้าสู่ประเทศต่างๆ
ในแต่ละภูมิภาคเช่น สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายเข้าออกในแทบภูมิภาคอาเซียน ทุนที่เคลื่อนย้ายมีความเป็นอิสระที่จะเข้าซื้อ-ขายใน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดเงินหรือ
อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดอนุพันธ์หรือตราสารอ้างอิง ตลาดสินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งการลงทุนคือการเข้ามาเก็งกำไรในแต่ละตลาด ที่ไม่เหมือนในอดีตที่การลงทุนคือการเข้า
มาเปิดกิจการและเปิดโรงงานการผลิต
การเคลื่อนย้ายในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร จนต้องบีบให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมีความจำเป็นต้อง
ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเช่นใน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไทย อินเดีย เกาหลีใต้ และที่สำคัญคือประเทศจีน ที่ในปีที่ผ่านมามีการลดถึง2ครั้งในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่นาน จนเป็นผลการกระ
ตุ้นที่ดีของเขตเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และเพียง 2 วันทำการหลังปีใหม่กระแสการไหลยิ่งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเงิน แปโซแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี
การที่ทุนไหลเข้าประเทศจีนโดยตรงนั้นยังค่อนข้างมีกฎเกณฑ์ข้อจำกัดที่ค่อนข้างมาก แต่ก็ยังมีช่องโว่คือ การซื้อตราสารอ้างอิง ADR ในตลาดหุ้นนิวยอร์กผ่านการซื้อโดยตรงหรือ
ซื้อผ่านกองทุน ETF หรือ การไหลเข้าตลาดหุ้นจีน(ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้) ผ่าน กองทุน ETF ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงเช่น กองทุน ETF -X ISHARES A 50 .etc. ที่ช่วงปลายปีที่
ผ่านมามีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางของฮ่องกง ต้องออกมาสู่กับการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนหลายครั้งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา
และการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง และสิงคโปร์ ปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 200% ในรอบ 3 ปีนั้น ก็เป็นการเข้าเก็งกำไรในนวัตกรรมทางการเงินที่เรียกว่า “กองทุน
อสังหาริมทรัพย์”(Property Fund) กองที่มีความโดดเด่นเช่น Link Reit.เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นในตลาดหุ้นฮ่องกง ปรับราคาจาก 26 HKD สู่ระดับสู่สุดที่ 43 HKD ใน
ช่วงเวลา1 ปีที่ผ่านมา หรือจากระดับราคา 18 HKD สู่ระดับสู่สุดที่ 43 HKD ในช่วงเวลา3 ปี ยังไม่รวมผลตอบแทนจากเงินปันผล.
T.Thammasak.