- “BOI”ปรับกฏส่งเสริมการลงทุนใหม่
นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นชื่อครองแชมป์การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)สูงสุดต่อเนื่องมานานหลายปีเริ่มนั่งก้นไม่ติดที่เดินสายสอบถามกระทรวงอุตสาหกรรมช่วงก่อนสิ้นปีเป็นระลอก ด้วยเหตุที่ปี 2556 “บีโอไอ”จะทำการปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่โดยจะยกเลิกเป็นเขตที่ปัจจุบันแบ่งเป็นเขต 1-2และ 3 แต่จะเน้นให้เป็นรายอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายแทน
ทั้งนี้บีโอไอจะเปิดประชาพิจารณ์กฏ ระเบียบใหม่ดังกล่าวในวันที่ 14 ม.ค. 56 เพื่อที่จะรับฟังความเห็นจากนักลงทุนทั้งไทยและเทศก่อนหลังจากนั้นจึงจะนำความเห็นจากส่วนต่างๆ มาประกอบเพื่อที่จะเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบและประกาศใช้ต่อไป คาดกันว่ากิจการจะเหลือส่งเสริมต่ำกว่า 100กิจการจากปัจจุบัน 243 กิจการ โดยกิจการเป้าหมายเช่น อุตฯความคิดสร้างสรรค อุตฯสีเขียวพลังงานทดแทน ท่องเที่ยวสุขภาพ ลอจิสติกส์ ฯลฯ
พร้อมกันนี้ยังจะมีการพิจารณาแนวทางการส่งเสริมกิจการไทยไปลงทุนยังต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ปี 2558 ……ถ้าระเบียบใหม่เดินหน้าได้จริงงานนี้เปลี่ยนโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจไทยแน่
- 6นิคมฯวัดใจรัฐจ่ายเงิน2ใน3สร้างเขื่อนถาวร
หลังจากต้องเผชิญวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ตลอดปี 2555 ผู้พัฒนานิคมและเขตประกอบการ 6 แห่งที่ประสบภาวะน้ำท่วมได้แก่ 1.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2. นิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) 3. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี 4. นิคมฯ บางปะอิน 5. เขตส่งเสริมอุตฯนวนคร และ 6.นิคมฯ สหรัตนนคร ต่างก็ตั้งหน้าตั้งตาลุยก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรเพื่อให้ทันกับฤดูฝนของปีที่แล้วซึ่งหากน้ำท่วมซ้ำรอยอีกครั้งวิกฤตเชื่อมั่นของไทยหมดลงทันที ซึ่งที่สุดแต่ละรายก็ทำสำเร็จเว้นสหรัตนนครที่การก่อสร้างล่าช้าเพราะติดปัญหาแผนฟื้นฟูกิจการ
ทั้งนี้ การก่อสร้าง ครม.ยิ่งลักษณ์ได้เห็นชอบหลักการสนับสนุนเงินให้เปล่า 2 ใน 3 ของค่าก่อสร้างหรือ 3.2 พันล้านบาทตั้งแต่มิ.ย. 55 และที่เหลือยังให้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารออมสิน โดย เงินดังกล่าวจะส่งต่อมายังกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่ออนุมัติจ่ายเอกชนต่อไป แต่เวลาล่วงผ่านมาจนถึงสิ้นปีก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทำให้เอกชนอึดอัดใจถึงขั้นมาหารือนายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรมส่งท้ายปีเก่า
กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันว่าจะหารือกันในวันที่ 11 ม.ค. 56 เพื่อดูระเบียบการเบิกจ่ายให้ชัดเจนอีกครั้งเพื่อไม่ให้มีปัญหา… เอกชนทั้งหมดก็คงจะต้องเฝ้าติดตามใกล้ชิด ว่ากันว่างานนี้ไม่คืบหน้าอีกละก็มีหวังเรื่องนี้ถึง”ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแน่”
- ประเด็นร้อนส.อ.ท.ขอบอกยังไม่จบ!
ความแตกร้าวของภาคธุรกิจในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ช่วงปี 2555 ที่ผ่านมานับเป็นภาพลักษณ์ที่ฉุดความน่าเชื่อถือของส.อ.ท.ลงไปให้ตกต่ำ เมื่อสภาฯแตกออกเป็น 2 ฝ่ายระหว่างกลุ่มหนุนนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล และกลุ่มที่คัดค้านและแยกตัวออกมาหนุนนายสันติ วิลาสศักดานนท์ จนที่สุดนายสันติต้องล่าถอยออกไปเพื่อเปิดทางให้เกิดการประนีประนอมหลังใบสั่งจากบิ๊กสหพัฒน์
เมื่อส.อ.ท.ไม่ต่างจากเขมร 2 ฝ่ายที่มีการปกครองแยกออกเป็น 2 ขั้วซึ่งฝ่ายที่ต้องการปลดนายพยุงศักดิ์ระบุว่าเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ไม่พอใจกับการดำเนินงานของนายพยุงศักดิ์ที่ไม่ดูแลเอสเอ็มอีจากผลกระทบการขึ้นค่าแรง 300บาทต่อวัน ขณะที่นายพยุงศักดิ์ มุ่งประเด็นไปที่ปัญหาการทุจริตงบประมาณเยียวยาน้ำท่วมของอีกกลุ่มที่ตนเข้าไปตรวจสอบจึงทำให้เกิดความขัดแย้ง จะด้วยเหตุผลใดก็ตามปี 2556 นี้ส.อ.ท.คงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในองค์กรที่ไม่อาจรวม 2 ฝ่ายไว้ด้วยกันได้
กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะกำกับดูแลพ.ร.บ.ส.อ.ท.ก็กำลังมีแนวคิดที่จะปรับกฏระเบียบส.อ.ท.ใหม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ปลด แต่งตั้งให้ชัดเพื่อไม่ให้ตีความเช่นปัจจุบันจนสร้างปัญหา …..งานนี้ต้องจับตาว่ากระทรวงอุตฯจะกล้าหรือไม่
- ธุรกิจแห่ซบเพื่อนบ้านหนีค่าแรงขยับ
นโยบายการยกระดับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศมีผล 1 ม.ค. 56 ประกอบกับไทยกำลังก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ปี 2558 นั้นทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้เป็นที่หมายตาในการเข้ามาลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะพม่า แต่ด้วยศักยภาพความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดีของไทยทำให้นักลงทุนจำนวนมากมองไทยในการเป็นฐานการผลิตเพื่อทำตลาดในอาเซียนแทน
ปัจจัยค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและประกอบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานของไทยมีสูงขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมที่ต้องเน้นใช้แรงงานเป็นหลักเริ่มขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านแทนบ้างแล้วโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นในปี 2556 หากรัฐบาลประกาศนโยบายส่งเสริมกิจการไทยไปลงทุนต่างประเทศชัดเจนขึ้น
ปี 2556 นี้เราคงจะได้เห็นธุรกิจจำนวนมากทยอยไปลงทุนยังเพื่อนบ้านเพื่อพึ่งพิงแรงงานราคาถูก รวมไปถึงการแสวงหาตลาดและโอกาสใหม่ๆ แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจเอสเอ็มอีไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้มีศักยภาพเพียงพอที่จะย้ายไปไหนหากรับภาระต้นทุนไม่ได้…ปิดกิจการคือคำตอบ
- ”เฮียเพ้ง”มุ่งหน้าปรับราคาLPG-NGV
”พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล” รมว.พลังงานประกาศชัดเจนในการเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ปี 2558 โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ซึ่งแต่ละส่วน”เฮียเพ้ง”มีเงื่อนไขคือ แอลพีจีครัวเรือนจะต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเคาะราคา ขณะที่ NGV
มอบบมจ.ปตท.ให้ไปทำแผนที่ผุดปั๊มให้ทั่วทุกจังหวัดไม่งั้นก็ไม่ขึ้นให้
ปัจจุบันLPGภาคครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ภาคขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกก.โดยLPGครัวเรือนและขนส่งมีเป้าหมายที่จะปรับไปอยู่ที่ 24.82 เท่ากันในปี 2556และเป็นการทยอยขึ้นเดือนละ 50 สต./กก.และภาคอุตสาหกรรมราคาจะไม่เกิน 30.13 บาทต่อกก.โดยขึ้นลงตามราคาโลก
ราคาLPG และ NGV จะเดินหน้าปรับขึ้นราคาได้ตามเป้าหมายรัฐบาลหรือไม่ในปี 2556 คงต้องเกาะติดใกล้ชิดเพราะฝ่ายต่อต้านก็เริ่มส่งสัญญาณก่อหวอดตั้งแต่ปลายปีแล้ว
- เปิดประมูลไอพีพีคึกเงินสะพัดแสนล.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ เรกูเลเตอร์ได้ออกประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ (IPP) โดยกำหนดให้เปิดลงทะเบียนและซื้อเอกสารตั้งแต่ 20 ธ.ค. 55 ถึง 21 มกราคม 2556 นั้น ปรากฏว่า วันแรกของการเปิดขายเอกสาร มีบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงบริษัทผู้รับเหมาพัฒนาโรงไฟฟ้า (EPC) สนใจมาลงทะเบียนซื้อเอกสารแล้ว 13 ราย
ทั้งนี้คาดว่าในระยะเวลา 1 เดือนจะมีสนใจมาลงทะเบียนกว่า 60 ราย โดยการรับซื้อไฟจาก IPP มีทั้งสิ้น 5,400 เม กะวัตต์หรือคิดเป็น 6 โรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 วันที่ 29 เม.ย. 56 จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา และประกาศผู้ได้รับคัดเลือกได้เดือน มิ.ย. 56 ว่ากัน ว่างานนี้เงินลงทุนสะพัดนับแสนล้านบาท…แต่ชาวบ้านทำใจงานนี้ค่าไฟเพิ่มเพราะทิศทางราคาก๊าซฯยังสูง
- ลุ้นรัฐเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่
การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จะสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ในปี 2556 คงจะต้องรอวัดฝีมือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ล่าสุดรมว.พลังงาน(พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) มอบนโยบายให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนหรือทำนองเปิดประชาพิจารณ์ให้เกิดการยอมรับกันเสียก่อนหลังจากที่ผ่านมาต้องเลื่อนออกไปเพราะถูกคัดค้านโดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แหล่งชุมชน
ทั้งนี้กรมเชื้อเพลิงได้ชี้ให้เห็นว่าก๊าซฯในอ่าวไทยก็ทะยอยหมดลงใน 10 ปีข้างหน้าและสัมปทานที่ไทยมีอยู่กว่าจะลงมือสำรวจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ก็ใช้เวลาถึง 10 ปี ขณะที่การนำเข้าราคาแพงและความมั่นคงยังต่ำหากเป็นไปได้มีเองก็น่าจะดีกว่า ถ้าไทยไม่มีแหล่งผลิตเองไว้ใช้ในประเทศบ้างอะไรบ้าง…งานนี้ปตท.รับเละ ผุดคลังแอลเอ็นจีนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มเตรียมใช้ของแพงกันได้เลย
- ค่าน้ำมัน- ค่าไฟหนี้ที่รอวันสะสาง
ตลอดปี 2555 รัฐบาลได้ทำนโยบายประชานิยมด้วยการตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรไว้โดยใช้กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหาร ควบคู่ไปกับการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงไปถึงลิตรละ 5 บาท ส่งผลให้ปี 2556 นี้มีโอกาสที่คลังจะทยอยเรียกคืนเงินสรรพสามิตในช่วงน้ำมันโลกลดราคาโดยคาดว่าจะใช้กลไกกองทุนฯเรียกเก็บเงินดีเซล
สำหรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ก็ไม่ต่างกันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ เรกูเลเตอร์เริ่มส่งสัญญาณแล้วว่าเอฟทีงวดม.ค.-เม.ย. 56 หากพิจารณาเม็ดเงินที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แบกรับภาระไว้ 7,000 ล้านบาท ผสมกับราคาก๊าซธรรมชาติที่ยังอยู่ระดับสูง 300 บาทต่อล้านบีทียูค่าเอฟทีคงหนีไม่พ้นปรับขึ้น 10 สตางค์ต่อหน่วย
ดังนั้นภาพรวมปี 2556 ทั้งราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าคนไทยต้องเตรียมทำใจใช้ของแพงอีกปี เพราะหนี้เก่าที่ค้างไว้รอวันสะสางเรียกกลับคืน เพราะของฟรีไม่มีในโลก
- ไทยศูนย์กลางพลังงานภูมิภาค
“รัฐบาลปู” ได้วางยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศด้วยการกำหนดให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานภูมิภาคในการรองรับการเข้าสู่ AEC โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระบบสายส่ง ท่อก๊าซฯเข้ากับเพื่อนบ้าน รวมถึงการยกระดับพลังงานทดแทนขึ้นเป็นฮับในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะเอทานอลที่ไทยมีการผลิตเรียกว่าเกินกว่าความต้องการและยังเป็นการยกระดับพืชเกษตรของไทยทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง
ไม่เพียงเท่านั้นรัฐกำลังโหมการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานครบวงจร(หญ้าเนเปียร์) ที่จะเป็นการส่งเสริมเกษตรปลูกญ้าเนเปียร์โดยรูปแบบจะเป็นการลงทุนระหว่างเอกชนกับชุมชนอย่างละ 50% หรือเอกชนลงทุนทั้งหมดแต่ต้องรับซื้อหญ้าจากเกษตรกรในราคา 300 บาทต่อตัน และค่าไฟที่รับซื้อที่ 4.50 บาทต่อหน่วย
ขณะเดียวกันยังมี บิ๊กโปรเจกต์การสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์เป็น 90 วันที่กระทรวงพลังงานกำลังศึกษารูปแบบโดยคาดว่าจะต้องลงทุนนับแสนล้านบาท ฯลฯ…. ต้องรอวัดฝีมือรัฐบาลต่อไป
- ฝากความหวังธรรมชาติปี’56 ไทยไร้ภัยพิบัติ
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยภาพรวมปี 2556 ยังต้องเชผิญกับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ซึ่งดูเหมือนว่าภาคการส่งออกจะยังคงชะลอตัว แต่มีปัจจัยหนึ่งที่ไม่ว่าใครก็คงจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมาเมื่อไรนั่นคือภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว สารพัดที่เริ่มมีความรุนแรงขึ้น
ปัจจัยดังกล่าวทำให้ภาคธุรกิจนำมาเป็นปัจจัยเสี่ยงและเตรียมแผนรับมือมากขึ้นจากอดีตที่แทบจะไม่มีผลต่อการจัดทำแผนดำเนินงานแต่อย่างใด
ภัยธรรมชาติทำลายชีวิตและทรัพย์สินส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหากชาติใดต้องเผชิญก็ถือเป็นฝันร้ายซึ่งไทยเองเพิ่งเจอมาเมื่อปลายปี 2554 แต่เหนือสิ่งอื่นใดการบริหารจัดการก็มีส่วนสำคัญที่จะลดผลกระทบให้น้อยลง
หวังว่าบทเรียนที่ไทยเผชิญน้ำท่วมใหญ่และแม้ว่าเราจะผ่านพ้นไม่เกิดวิกฤตซ้ำในรอบ 2 ซึ่งบางคนมองตรงข้ามว่าเผลอๆ เราอาจเผชิญภัยแล้งแทนก็เป็นไปได้ในปี 2556 ….แต่ธรรมชาติยากที่จะคาดเดา เราคนไทยควรตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท และขอให้ผ่านพ้นไปได้ตลอดไป
นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นชื่อครองแชมป์การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)สูงสุดต่อเนื่องมานานหลายปีเริ่มนั่งก้นไม่ติดที่เดินสายสอบถามกระทรวงอุตสาหกรรมช่วงก่อนสิ้นปีเป็นระลอก ด้วยเหตุที่ปี 2556 “บีโอไอ”จะทำการปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่โดยจะยกเลิกเป็นเขตที่ปัจจุบันแบ่งเป็นเขต 1-2และ 3 แต่จะเน้นให้เป็นรายอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายแทน
ทั้งนี้บีโอไอจะเปิดประชาพิจารณ์กฏ ระเบียบใหม่ดังกล่าวในวันที่ 14 ม.ค. 56 เพื่อที่จะรับฟังความเห็นจากนักลงทุนทั้งไทยและเทศก่อนหลังจากนั้นจึงจะนำความเห็นจากส่วนต่างๆ มาประกอบเพื่อที่จะเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบและประกาศใช้ต่อไป คาดกันว่ากิจการจะเหลือส่งเสริมต่ำกว่า 100กิจการจากปัจจุบัน 243 กิจการ โดยกิจการเป้าหมายเช่น อุตฯความคิดสร้างสรรค อุตฯสีเขียวพลังงานทดแทน ท่องเที่ยวสุขภาพ ลอจิสติกส์ ฯลฯ
พร้อมกันนี้ยังจะมีการพิจารณาแนวทางการส่งเสริมกิจการไทยไปลงทุนยังต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ปี 2558 ……ถ้าระเบียบใหม่เดินหน้าได้จริงงานนี้เปลี่ยนโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจไทยแน่
- 6นิคมฯวัดใจรัฐจ่ายเงิน2ใน3สร้างเขื่อนถาวร
หลังจากต้องเผชิญวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ตลอดปี 2555 ผู้พัฒนานิคมและเขตประกอบการ 6 แห่งที่ประสบภาวะน้ำท่วมได้แก่ 1.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2. นิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) 3. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี 4. นิคมฯ บางปะอิน 5. เขตส่งเสริมอุตฯนวนคร และ 6.นิคมฯ สหรัตนนคร ต่างก็ตั้งหน้าตั้งตาลุยก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรเพื่อให้ทันกับฤดูฝนของปีที่แล้วซึ่งหากน้ำท่วมซ้ำรอยอีกครั้งวิกฤตเชื่อมั่นของไทยหมดลงทันที ซึ่งที่สุดแต่ละรายก็ทำสำเร็จเว้นสหรัตนนครที่การก่อสร้างล่าช้าเพราะติดปัญหาแผนฟื้นฟูกิจการ
ทั้งนี้ การก่อสร้าง ครม.ยิ่งลักษณ์ได้เห็นชอบหลักการสนับสนุนเงินให้เปล่า 2 ใน 3 ของค่าก่อสร้างหรือ 3.2 พันล้านบาทตั้งแต่มิ.ย. 55 และที่เหลือยังให้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารออมสิน โดย เงินดังกล่าวจะส่งต่อมายังกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่ออนุมัติจ่ายเอกชนต่อไป แต่เวลาล่วงผ่านมาจนถึงสิ้นปีก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทำให้เอกชนอึดอัดใจถึงขั้นมาหารือนายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรมส่งท้ายปีเก่า
กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันว่าจะหารือกันในวันที่ 11 ม.ค. 56 เพื่อดูระเบียบการเบิกจ่ายให้ชัดเจนอีกครั้งเพื่อไม่ให้มีปัญหา… เอกชนทั้งหมดก็คงจะต้องเฝ้าติดตามใกล้ชิด ว่ากันว่างานนี้ไม่คืบหน้าอีกละก็มีหวังเรื่องนี้ถึง”ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแน่”
- ประเด็นร้อนส.อ.ท.ขอบอกยังไม่จบ!
ความแตกร้าวของภาคธุรกิจในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ช่วงปี 2555 ที่ผ่านมานับเป็นภาพลักษณ์ที่ฉุดความน่าเชื่อถือของส.อ.ท.ลงไปให้ตกต่ำ เมื่อสภาฯแตกออกเป็น 2 ฝ่ายระหว่างกลุ่มหนุนนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล และกลุ่มที่คัดค้านและแยกตัวออกมาหนุนนายสันติ วิลาสศักดานนท์ จนที่สุดนายสันติต้องล่าถอยออกไปเพื่อเปิดทางให้เกิดการประนีประนอมหลังใบสั่งจากบิ๊กสหพัฒน์
เมื่อส.อ.ท.ไม่ต่างจากเขมร 2 ฝ่ายที่มีการปกครองแยกออกเป็น 2 ขั้วซึ่งฝ่ายที่ต้องการปลดนายพยุงศักดิ์ระบุว่าเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ไม่พอใจกับการดำเนินงานของนายพยุงศักดิ์ที่ไม่ดูแลเอสเอ็มอีจากผลกระทบการขึ้นค่าแรง 300บาทต่อวัน ขณะที่นายพยุงศักดิ์ มุ่งประเด็นไปที่ปัญหาการทุจริตงบประมาณเยียวยาน้ำท่วมของอีกกลุ่มที่ตนเข้าไปตรวจสอบจึงทำให้เกิดความขัดแย้ง จะด้วยเหตุผลใดก็ตามปี 2556 นี้ส.อ.ท.คงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในองค์กรที่ไม่อาจรวม 2 ฝ่ายไว้ด้วยกันได้
กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะกำกับดูแลพ.ร.บ.ส.อ.ท.ก็กำลังมีแนวคิดที่จะปรับกฏระเบียบส.อ.ท.ใหม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ปลด แต่งตั้งให้ชัดเพื่อไม่ให้ตีความเช่นปัจจุบันจนสร้างปัญหา …..งานนี้ต้องจับตาว่ากระทรวงอุตฯจะกล้าหรือไม่
- ธุรกิจแห่ซบเพื่อนบ้านหนีค่าแรงขยับ
นโยบายการยกระดับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศมีผล 1 ม.ค. 56 ประกอบกับไทยกำลังก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ปี 2558 นั้นทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้เป็นที่หมายตาในการเข้ามาลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะพม่า แต่ด้วยศักยภาพความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดีของไทยทำให้นักลงทุนจำนวนมากมองไทยในการเป็นฐานการผลิตเพื่อทำตลาดในอาเซียนแทน
ปัจจัยค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและประกอบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานของไทยมีสูงขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมที่ต้องเน้นใช้แรงงานเป็นหลักเริ่มขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านแทนบ้างแล้วโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นในปี 2556 หากรัฐบาลประกาศนโยบายส่งเสริมกิจการไทยไปลงทุนต่างประเทศชัดเจนขึ้น
ปี 2556 นี้เราคงจะได้เห็นธุรกิจจำนวนมากทยอยไปลงทุนยังเพื่อนบ้านเพื่อพึ่งพิงแรงงานราคาถูก รวมไปถึงการแสวงหาตลาดและโอกาสใหม่ๆ แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจเอสเอ็มอีไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้มีศักยภาพเพียงพอที่จะย้ายไปไหนหากรับภาระต้นทุนไม่ได้…ปิดกิจการคือคำตอบ
- ”เฮียเพ้ง”มุ่งหน้าปรับราคาLPG-NGV
”พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล” รมว.พลังงานประกาศชัดเจนในการเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ปี 2558 โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ซึ่งแต่ละส่วน”เฮียเพ้ง”มีเงื่อนไขคือ แอลพีจีครัวเรือนจะต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเคาะราคา ขณะที่ NGV
มอบบมจ.ปตท.ให้ไปทำแผนที่ผุดปั๊มให้ทั่วทุกจังหวัดไม่งั้นก็ไม่ขึ้นให้
ปัจจุบันLPGภาคครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ภาคขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกก.โดยLPGครัวเรือนและขนส่งมีเป้าหมายที่จะปรับไปอยู่ที่ 24.82 เท่ากันในปี 2556และเป็นการทยอยขึ้นเดือนละ 50 สต./กก.และภาคอุตสาหกรรมราคาจะไม่เกิน 30.13 บาทต่อกก.โดยขึ้นลงตามราคาโลก
ราคาLPG และ NGV จะเดินหน้าปรับขึ้นราคาได้ตามเป้าหมายรัฐบาลหรือไม่ในปี 2556 คงต้องเกาะติดใกล้ชิดเพราะฝ่ายต่อต้านก็เริ่มส่งสัญญาณก่อหวอดตั้งแต่ปลายปีแล้ว
- เปิดประมูลไอพีพีคึกเงินสะพัดแสนล.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ เรกูเลเตอร์ได้ออกประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ (IPP) โดยกำหนดให้เปิดลงทะเบียนและซื้อเอกสารตั้งแต่ 20 ธ.ค. 55 ถึง 21 มกราคม 2556 นั้น ปรากฏว่า วันแรกของการเปิดขายเอกสาร มีบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงบริษัทผู้รับเหมาพัฒนาโรงไฟฟ้า (EPC) สนใจมาลงทะเบียนซื้อเอกสารแล้ว 13 ราย
ทั้งนี้คาดว่าในระยะเวลา 1 เดือนจะมีสนใจมาลงทะเบียนกว่า 60 ราย โดยการรับซื้อไฟจาก IPP มีทั้งสิ้น 5,400 เม กะวัตต์หรือคิดเป็น 6 โรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 วันที่ 29 เม.ย. 56 จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา และประกาศผู้ได้รับคัดเลือกได้เดือน มิ.ย. 56 ว่ากัน ว่างานนี้เงินลงทุนสะพัดนับแสนล้านบาท…แต่ชาวบ้านทำใจงานนี้ค่าไฟเพิ่มเพราะทิศทางราคาก๊าซฯยังสูง
- ลุ้นรัฐเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่
การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จะสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ในปี 2556 คงจะต้องรอวัดฝีมือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ล่าสุดรมว.พลังงาน(พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) มอบนโยบายให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนหรือทำนองเปิดประชาพิจารณ์ให้เกิดการยอมรับกันเสียก่อนหลังจากที่ผ่านมาต้องเลื่อนออกไปเพราะถูกคัดค้านโดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แหล่งชุมชน
ทั้งนี้กรมเชื้อเพลิงได้ชี้ให้เห็นว่าก๊าซฯในอ่าวไทยก็ทะยอยหมดลงใน 10 ปีข้างหน้าและสัมปทานที่ไทยมีอยู่กว่าจะลงมือสำรวจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ก็ใช้เวลาถึง 10 ปี ขณะที่การนำเข้าราคาแพงและความมั่นคงยังต่ำหากเป็นไปได้มีเองก็น่าจะดีกว่า ถ้าไทยไม่มีแหล่งผลิตเองไว้ใช้ในประเทศบ้างอะไรบ้าง…งานนี้ปตท.รับเละ ผุดคลังแอลเอ็นจีนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มเตรียมใช้ของแพงกันได้เลย
- ค่าน้ำมัน- ค่าไฟหนี้ที่รอวันสะสาง
ตลอดปี 2555 รัฐบาลได้ทำนโยบายประชานิยมด้วยการตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรไว้โดยใช้กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหาร ควบคู่ไปกับการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงไปถึงลิตรละ 5 บาท ส่งผลให้ปี 2556 นี้มีโอกาสที่คลังจะทยอยเรียกคืนเงินสรรพสามิตในช่วงน้ำมันโลกลดราคาโดยคาดว่าจะใช้กลไกกองทุนฯเรียกเก็บเงินดีเซล
สำหรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ก็ไม่ต่างกันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ เรกูเลเตอร์เริ่มส่งสัญญาณแล้วว่าเอฟทีงวดม.ค.-เม.ย. 56 หากพิจารณาเม็ดเงินที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แบกรับภาระไว้ 7,000 ล้านบาท ผสมกับราคาก๊าซธรรมชาติที่ยังอยู่ระดับสูง 300 บาทต่อล้านบีทียูค่าเอฟทีคงหนีไม่พ้นปรับขึ้น 10 สตางค์ต่อหน่วย
ดังนั้นภาพรวมปี 2556 ทั้งราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าคนไทยต้องเตรียมทำใจใช้ของแพงอีกปี เพราะหนี้เก่าที่ค้างไว้รอวันสะสางเรียกกลับคืน เพราะของฟรีไม่มีในโลก
- ไทยศูนย์กลางพลังงานภูมิภาค
“รัฐบาลปู” ได้วางยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศด้วยการกำหนดให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานภูมิภาคในการรองรับการเข้าสู่ AEC โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระบบสายส่ง ท่อก๊าซฯเข้ากับเพื่อนบ้าน รวมถึงการยกระดับพลังงานทดแทนขึ้นเป็นฮับในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะเอทานอลที่ไทยมีการผลิตเรียกว่าเกินกว่าความต้องการและยังเป็นการยกระดับพืชเกษตรของไทยทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง
ไม่เพียงเท่านั้นรัฐกำลังโหมการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานครบวงจร(หญ้าเนเปียร์) ที่จะเป็นการส่งเสริมเกษตรปลูกญ้าเนเปียร์โดยรูปแบบจะเป็นการลงทุนระหว่างเอกชนกับชุมชนอย่างละ 50% หรือเอกชนลงทุนทั้งหมดแต่ต้องรับซื้อหญ้าจากเกษตรกรในราคา 300 บาทต่อตัน และค่าไฟที่รับซื้อที่ 4.50 บาทต่อหน่วย
ขณะเดียวกันยังมี บิ๊กโปรเจกต์การสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์เป็น 90 วันที่กระทรวงพลังงานกำลังศึกษารูปแบบโดยคาดว่าจะต้องลงทุนนับแสนล้านบาท ฯลฯ…. ต้องรอวัดฝีมือรัฐบาลต่อไป
- ฝากความหวังธรรมชาติปี’56 ไทยไร้ภัยพิบัติ
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยภาพรวมปี 2556 ยังต้องเชผิญกับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ซึ่งดูเหมือนว่าภาคการส่งออกจะยังคงชะลอตัว แต่มีปัจจัยหนึ่งที่ไม่ว่าใครก็คงจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมาเมื่อไรนั่นคือภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว สารพัดที่เริ่มมีความรุนแรงขึ้น
ปัจจัยดังกล่าวทำให้ภาคธุรกิจนำมาเป็นปัจจัยเสี่ยงและเตรียมแผนรับมือมากขึ้นจากอดีตที่แทบจะไม่มีผลต่อการจัดทำแผนดำเนินงานแต่อย่างใด
ภัยธรรมชาติทำลายชีวิตและทรัพย์สินส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหากชาติใดต้องเผชิญก็ถือเป็นฝันร้ายซึ่งไทยเองเพิ่งเจอมาเมื่อปลายปี 2554 แต่เหนือสิ่งอื่นใดการบริหารจัดการก็มีส่วนสำคัญที่จะลดผลกระทบให้น้อยลง
หวังว่าบทเรียนที่ไทยเผชิญน้ำท่วมใหญ่และแม้ว่าเราจะผ่านพ้นไม่เกิดวิกฤตซ้ำในรอบ 2 ซึ่งบางคนมองตรงข้ามว่าเผลอๆ เราอาจเผชิญภัยแล้งแทนก็เป็นไปได้ในปี 2556 ….แต่ธรรมชาติยากที่จะคาดเดา เราคนไทยควรตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท และขอให้ผ่านพ้นไปได้ตลอดไป