ASTVผู้จัดการรายวัน - ทรูวิชั่นส์เปิดแผนหลังวืดพรีเมียร์ลีก อัดเพิ่มช่องรายการรุกหนักช่อง HD เสริมแกร่งคอนเวอร์เจนต์ให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ ขยายเพิ่มแพกเกจให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ วางตัวเองเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือCOA ขายช่องรายการอีก 30 ช่อง หวังเจาะถึงแมสเพิ่มอีก 1.5 ล้านครัวเรือน
นายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ทรูวิชั่นส์ไม่ได้สิทธิในการถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปนั้น ยอมรับว่าเสียใจที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้ แต่ทั้งนี้ถือว่าบริษัททำดีที่สุดแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของเม็ดเงินในการประมูลครั้งนี้ถือว่าสูสีและสมศักดิ์ศรีในการเข้าร่วมประมูลกับผู้ที่ได้สิทธิ์ไป ทางบริษัทเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์หลังจากที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก โดยมุ่งหาคอนเทนต์รายการดีๆ มีคุณภาพทั้งไทยและเทศ โดยต้องเป็นคอนเทนต์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่ได้มากกว่าการรับชมพรีเมียร์ลีก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่สมาชิก
เมินซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก CTH เชื่อไม่คุ้มทุน
ด้านนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าทรูวิชั่นส์จะไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่บริษัทมุ่งคอนเทนต์อื่นมาทดแทน ขณะนี้สำรวจกับสมาชิกว่าต้องการคอนเทนต์ประเภทใด แต่ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีลูกค้าที่ไม่พอใจหรือขอยกเลิกไปมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจากซีทีเอชเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มในเชิงการดำเนินธุรกิจ
สำหรับการพลาดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกจะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วง ส.ค. 2556 โดยเฉพาะช่วงเวลาค่ำของวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า เตรียมหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มานำเสนอ พร้อมปรับกลยุทธ์ ปรับแผนและตัวเลขสมาชิกใหม่หมด โดยจะเห็นภาพชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์ในก้าวต่อไปในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้
ชู 3 กลยุทธ์สู้ศึกเคเบิลทีวี
แผนการดำเนินงานของทรูวิชั่นส์หลังจากนี้จะลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท ที่เคยใช้ในแต่ละปีในการซื้อเพิ่มและพัฒนาคอนเทนต์ แบ่งเป็น 3 แนวหลัก คือ 1. จะเพิ่มช่องรายการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพทั้งไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โฟกัสไปยังช่องรายการแบบเอชดีมากขึ้น จากปัจจุบันมีอยู่ 17 ช่อง เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายลูกค้าแพกเกจระดับพรีเมียม
2. ปรับเพิ่มแพกเกจการรับชมในลักษณะไลฟ์สไตล์แพกเกจ เช่น แพกเกจเด็กและเยาวชน หรือกีฬา แต่ไม่มีนโยบายลดราคาแพกเกจลงมา และ 3. ให้ความสำคัญต่อโครงข่าย โดยจะมุ่งสู่รูปแบบการให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ที่ร่วมกับทางทรูออนไลน์มากขึ้น จากปัจจุบันให้บริการแล้วกว่า 50 จังหวัด ปีหน้าจะมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สวมบทคอนเทนต์โพรวายเดอร์
บริษัทมีนโยบายเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี หรือซีโอเอ ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นชั้นนำกว่า 150 ราย นำเสนอ True Cable Partners Pack ซึ่งเป็นแพกเกจช่องรายการส่งเสริมพันธมิตรเคเบิลไทย ที่รวบรวมช่องรายการหลากหลายกว่า 30 ช่อง เบื้องต้น 12 ช่องแรกไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ส่วนอีก 18 ช่องเป็นการซื้อเพิ่มเติม แล้วแต่ผู้ประกอบการต้องการ โดยราคาซื้อเพิ่มเติมนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ คาดว่าจะเข้าถึงจำนวนฐานผู้ชมมากกว่า และทำให้ทรูวิชั่นส์เข้าถึงกลุ่มแมสได้ถึง 1.5 ล้านครัวเรือน คาดว่าในปีหน้าจะขยายสู่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั่วประเทศ 300 ราย และเข้าถึงกลุ่มแมสที่ 3 ล้านครัวเรือนได้
“ความร่วมมือครั้งนี้เพื่อยกระดับและช่วยให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นแข่งขันได้ในอนาคต โดยในเฟสต่อไปจะมีความร่วมมือกันในเรื่องของกล่องการรับชม รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศแบบแอนะล็อกสู่ดิจิตอล อนาคตจะมีช่องรายการแบบเอชดีมานำเสนอแก่ทางเคเบิลทีวีต่อไปด้วย”
ปัจจุบันทรูวิชั่นส์มีรายได้หลักมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ สมาชิก 80% โฆษณา 10% และอีก 10% มาจากอื่นๆ ทั้งนี้ หลังเข้าสู่การเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ มองว่าใน 3-5 ปีจากนี้จะมีรายได้โต 3-5% ขณะที่ฐานสมาชิกปัจจุบันรวมแล้วมีกว่า 2 ล้านราย แบ่งเป็นเพย์แพกเกจอย่างโกลด์และแพลทินัมกว่า 3 แสนราย ที่เหลือมาจากกลุ่มทรูโนว์เลจ และกล่องทรูแบบขายขาด
นายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ทรูวิชั่นส์ไม่ได้สิทธิในการถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปนั้น ยอมรับว่าเสียใจที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้ แต่ทั้งนี้ถือว่าบริษัททำดีที่สุดแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของเม็ดเงินในการประมูลครั้งนี้ถือว่าสูสีและสมศักดิ์ศรีในการเข้าร่วมประมูลกับผู้ที่ได้สิทธิ์ไป ทางบริษัทเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์หลังจากที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก โดยมุ่งหาคอนเทนต์รายการดีๆ มีคุณภาพทั้งไทยและเทศ โดยต้องเป็นคอนเทนต์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่ได้มากกว่าการรับชมพรีเมียร์ลีก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่สมาชิก
เมินซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก CTH เชื่อไม่คุ้มทุน
ด้านนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าทรูวิชั่นส์จะไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่บริษัทมุ่งคอนเทนต์อื่นมาทดแทน ขณะนี้สำรวจกับสมาชิกว่าต้องการคอนเทนต์ประเภทใด แต่ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีลูกค้าที่ไม่พอใจหรือขอยกเลิกไปมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจากซีทีเอชเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มในเชิงการดำเนินธุรกิจ
สำหรับการพลาดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกจะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วง ส.ค. 2556 โดยเฉพาะช่วงเวลาค่ำของวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า เตรียมหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มานำเสนอ พร้อมปรับกลยุทธ์ ปรับแผนและตัวเลขสมาชิกใหม่หมด โดยจะเห็นภาพชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์ในก้าวต่อไปในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้
ชู 3 กลยุทธ์สู้ศึกเคเบิลทีวี
แผนการดำเนินงานของทรูวิชั่นส์หลังจากนี้จะลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท ที่เคยใช้ในแต่ละปีในการซื้อเพิ่มและพัฒนาคอนเทนต์ แบ่งเป็น 3 แนวหลัก คือ 1. จะเพิ่มช่องรายการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพทั้งไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โฟกัสไปยังช่องรายการแบบเอชดีมากขึ้น จากปัจจุบันมีอยู่ 17 ช่อง เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายลูกค้าแพกเกจระดับพรีเมียม
2. ปรับเพิ่มแพกเกจการรับชมในลักษณะไลฟ์สไตล์แพกเกจ เช่น แพกเกจเด็กและเยาวชน หรือกีฬา แต่ไม่มีนโยบายลดราคาแพกเกจลงมา และ 3. ให้ความสำคัญต่อโครงข่าย โดยจะมุ่งสู่รูปแบบการให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ที่ร่วมกับทางทรูออนไลน์มากขึ้น จากปัจจุบันให้บริการแล้วกว่า 50 จังหวัด ปีหน้าจะมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สวมบทคอนเทนต์โพรวายเดอร์
บริษัทมีนโยบายเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี หรือซีโอเอ ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นชั้นนำกว่า 150 ราย นำเสนอ True Cable Partners Pack ซึ่งเป็นแพกเกจช่องรายการส่งเสริมพันธมิตรเคเบิลไทย ที่รวบรวมช่องรายการหลากหลายกว่า 30 ช่อง เบื้องต้น 12 ช่องแรกไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ส่วนอีก 18 ช่องเป็นการซื้อเพิ่มเติม แล้วแต่ผู้ประกอบการต้องการ โดยราคาซื้อเพิ่มเติมนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ คาดว่าจะเข้าถึงจำนวนฐานผู้ชมมากกว่า และทำให้ทรูวิชั่นส์เข้าถึงกลุ่มแมสได้ถึง 1.5 ล้านครัวเรือน คาดว่าในปีหน้าจะขยายสู่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั่วประเทศ 300 ราย และเข้าถึงกลุ่มแมสที่ 3 ล้านครัวเรือนได้
“ความร่วมมือครั้งนี้เพื่อยกระดับและช่วยให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นแข่งขันได้ในอนาคต โดยในเฟสต่อไปจะมีความร่วมมือกันในเรื่องของกล่องการรับชม รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศแบบแอนะล็อกสู่ดิจิตอล อนาคตจะมีช่องรายการแบบเอชดีมานำเสนอแก่ทางเคเบิลทีวีต่อไปด้วย”
ปัจจุบันทรูวิชั่นส์มีรายได้หลักมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ สมาชิก 80% โฆษณา 10% และอีก 10% มาจากอื่นๆ ทั้งนี้ หลังเข้าสู่การเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ มองว่าใน 3-5 ปีจากนี้จะมีรายได้โต 3-5% ขณะที่ฐานสมาชิกปัจจุบันรวมแล้วมีกว่า 2 ล้านราย แบ่งเป็นเพย์แพกเกจอย่างโกลด์และแพลทินัมกว่า 3 แสนราย ที่เหลือมาจากกลุ่มทรูโนว์เลจ และกล่องทรูแบบขายขาด