สินค้าไลฟ์สไตล์ของไทยเผชิญศึกหนัก เจอคู่แข่งแย่งชิงตลาดใหญ่ในยุโรป-อเมริกา เผยยอดส่งออก 3 ไตรมาส 90,000 ล้านบาท ลดลง 4% งานไทยแลนด์เบสท์บายปีนี้คึกคัก คาดเงินสะพัด 400 ล้านบาท
นายศิริชัย เลิศศิริมิตร นายกสมาคมของขวัญ ของชำร่วยไทย และของตกแต่งบ้าน กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านของไทยกำลังเผชิญคู่แข่งที่มีจุดเด่นด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเข้ามาแย่งตลาดในประเทศสำคัญๆ เช่น ยุโรป และสหรัฐฯ ที่ทำให้ตัวเลขทางด้านส่งออกลดลง ในปี 2555 ช่วง 3 ไตรมาสนี้ ประเทศไทยได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ของขวัญและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์มีมูลค่า 90,000 ล้านบาท (3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี) ซึ่งยอดส่งออกติดลบร้อยละ 4
อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ยอดส่งออกจะกลับมาเป็นบวกถึงร้อยละ 3 จากการขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบเพราะสามารถขึ้นราคาได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ยังคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังหาทางออกกับรัฐบาล หากปล่อยให้ค่าแรงสูง ต้นทุนจะสูงตาม ทำให้ประเทศอื่นที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่าแย่งตลาดไป
จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ยังคงเป็นคนเดิมคือ บารัค โอบามา ก็ถือว่าไม่มีผลกระทบเชิงบวกหรือลบต่อตลาดของขวัญของไทย ตลาดใหม่ที่เป็นตลาดใหญ่ของผู้ประกอบการด้านของขวัญจะเป็นตลาดในเอเชีย ซึ่งมีประชากรประมาณ 600 ล้านคน แต่รายได้ของประชากรในประเทศในกลุ่มอาเซียนไม่ได้สูงมากทำให้ไทยต้องกลับมาดูทางด้านลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ทำตลาดในกลุ่มนี้ได้
นางสาวบุษยา ประกอบทอง รองผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด กล่าวว่า งานไทยแลนด์เบสท์บายปีนี้คาดว่าจะคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา เพราะงานได้เลื่อนมาจัดในช่วงใกล้ปีใหม่มากขึ้น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเลือกซื้อของขวัญ ทั้งยังไม่มีผลกระทบจากอุทกภัยเหมือนปี 2554 ที่จำนวนผู้แสดงสินค้าในงาน และผู้เข้าชมงานลดลงประมาณ 20% จากจำนวนที่คาดการณ์ไว้
สำหรับปีนี้ ในส่วนของผู้แสดงสินค้ารายเดิมที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมก็มาเข้าร่วมงานได้ นอกจากนี้ก็มีลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น รวมแล้วภายในงานมีจำนวนประมาณ 850 บูท โดยตลอดทั้ง 10 วันงานคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 280,000 คน ส่งผลให้มีเงินสะพัดภายในงานประมาณ 400 ล้านบาท
ด้านผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าร่วมแสดงงาน พบว่าสินค้ามีการออกแบบโดยเน้นการใช้งานที่คุ้มค่า คุณภาพคงทน มีการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีมากขึ้น โดยงานไทยแลนด์เบสท์บายถือเป็นเวทีแจ้งเกิดให้แก่หลายแบรนด์สินค้า เป็นการเริ่มต้นเปิดตลาดที่ราคาไม่แพงและตรงกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเทียบกับการซื้อสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
“แม้ว่าในปัจจุบันพื้นที่ค้าขายจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์มอลล์ก็เปิดขึ้นมามากกว่า 20 แห่งทั่วกรุงเทพฯ และย่านชานเมือง โดยบางแห่งมีการจัดกิจกรรมพิเศษในแต่ละสัปดาห์ขึ้นมาเพื่อเรียกผู้ค้าให้มาจับจองพื้นที่ หรือแม้กระทั่งพื้นที่ในโซนพลาซาของห้างสรรพสินค้าก็ถือเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งของงานแฟร์ ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบด้านการขายบูทบ้างเพราะค่าเช่าพื้นที่ราคาถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ทางทีมผู้จัดงานก็มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบของงาน เพิ่มสีสันเพื่อให้มีความแตกต่างจากงานอื่นๆ ทุกๆ ปี
นายศิริชัย เลิศศิริมิตร นายกสมาคมของขวัญ ของชำร่วยไทย และของตกแต่งบ้าน กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านของไทยกำลังเผชิญคู่แข่งที่มีจุดเด่นด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเข้ามาแย่งตลาดในประเทศสำคัญๆ เช่น ยุโรป และสหรัฐฯ ที่ทำให้ตัวเลขทางด้านส่งออกลดลง ในปี 2555 ช่วง 3 ไตรมาสนี้ ประเทศไทยได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ของขวัญและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์มีมูลค่า 90,000 ล้านบาท (3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี) ซึ่งยอดส่งออกติดลบร้อยละ 4
อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ยอดส่งออกจะกลับมาเป็นบวกถึงร้อยละ 3 จากการขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบเพราะสามารถขึ้นราคาได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ยังคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังหาทางออกกับรัฐบาล หากปล่อยให้ค่าแรงสูง ต้นทุนจะสูงตาม ทำให้ประเทศอื่นที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่าแย่งตลาดไป
จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ยังคงเป็นคนเดิมคือ บารัค โอบามา ก็ถือว่าไม่มีผลกระทบเชิงบวกหรือลบต่อตลาดของขวัญของไทย ตลาดใหม่ที่เป็นตลาดใหญ่ของผู้ประกอบการด้านของขวัญจะเป็นตลาดในเอเชีย ซึ่งมีประชากรประมาณ 600 ล้านคน แต่รายได้ของประชากรในประเทศในกลุ่มอาเซียนไม่ได้สูงมากทำให้ไทยต้องกลับมาดูทางด้านลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ทำตลาดในกลุ่มนี้ได้
นางสาวบุษยา ประกอบทอง รองผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด กล่าวว่า งานไทยแลนด์เบสท์บายปีนี้คาดว่าจะคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา เพราะงานได้เลื่อนมาจัดในช่วงใกล้ปีใหม่มากขึ้น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเลือกซื้อของขวัญ ทั้งยังไม่มีผลกระทบจากอุทกภัยเหมือนปี 2554 ที่จำนวนผู้แสดงสินค้าในงาน และผู้เข้าชมงานลดลงประมาณ 20% จากจำนวนที่คาดการณ์ไว้
สำหรับปีนี้ ในส่วนของผู้แสดงสินค้ารายเดิมที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมก็มาเข้าร่วมงานได้ นอกจากนี้ก็มีลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น รวมแล้วภายในงานมีจำนวนประมาณ 850 บูท โดยตลอดทั้ง 10 วันงานคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 280,000 คน ส่งผลให้มีเงินสะพัดภายในงานประมาณ 400 ล้านบาท
ด้านผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าร่วมแสดงงาน พบว่าสินค้ามีการออกแบบโดยเน้นการใช้งานที่คุ้มค่า คุณภาพคงทน มีการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีมากขึ้น โดยงานไทยแลนด์เบสท์บายถือเป็นเวทีแจ้งเกิดให้แก่หลายแบรนด์สินค้า เป็นการเริ่มต้นเปิดตลาดที่ราคาไม่แพงและตรงกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเทียบกับการซื้อสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
“แม้ว่าในปัจจุบันพื้นที่ค้าขายจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์มอลล์ก็เปิดขึ้นมามากกว่า 20 แห่งทั่วกรุงเทพฯ และย่านชานเมือง โดยบางแห่งมีการจัดกิจกรรมพิเศษในแต่ละสัปดาห์ขึ้นมาเพื่อเรียกผู้ค้าให้มาจับจองพื้นที่ หรือแม้กระทั่งพื้นที่ในโซนพลาซาของห้างสรรพสินค้าก็ถือเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งของงานแฟร์ ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบด้านการขายบูทบ้างเพราะค่าเช่าพื้นที่ราคาถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ทางทีมผู้จัดงานก็มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบของงาน เพิ่มสีสันเพื่อให้มีความแตกต่างจากงานอื่นๆ ทุกๆ ปี