กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ ไล่บี้ “พาณิชย์”แจงใช้งบร้านถูกใจ ชี้เงินส่วนใหญ่ใช้ทำจัดซื้อจัดจ้างและทำพีอาร์ แต่บอกไม่ได้ช่วยค่าครองชีพได้จริงหรือไม่ แถมยังมีการร้องเรียนเพียบ พร้อมบี้แก้ปัญหาอาหารปรุงสำเร็จที่ยังมีราคาแพง อัดไร้แผนเชิงรุกแก้ปัญหาปาล์มตกต่ำ เตรียมเรียกข้อมูลขายข้าวในสต๊อก
นายชนินทร์ รุ่งแสง ประธานกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (20 พ.ย.) ว่า ได้มาติดตามการดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพภายใต้โครงการร้านถูกใจ ที่ใช้งบประมาณถึง 1,320 ล้านบาท เพราะข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงเกี่ยวกับการใช้งบประมาณดังกล่าวยังมีประเด็นที่น่าสงสัยหลายประเด็น เช่น โครงการเน้นการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง และจัดทำประชาสัมพันธ์โครงการมากถึง 400-500 ล้านบาท ถือว่าเป็นสัดส่วนการใช้งบประมาณที่สูงมาก แต่กลับไม่สามารถชี้แจงได้ว่า โครงการดังกล่าวมีการกระจายสินค้าได้ทั่วถึงหรือไม่ ช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนได้แล้วเท่าไร และยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับอุปสรรคในการดำเนินการ เช่น การขนส่งสินค้าที่จัดจ้างบริษัท ไปรษณีย์ไทย ดำเนินงาน และการคัดเลือกผู้สมัครที่มีการใช้ระบบเส้นสาย ซึ่งได้ขอให้ทางกรมการค้าภายในนำข้อมูลเหล่านี้มาชี้แจงกมธ. เพิ่มเติมอีกครั้ง
ส่วนการดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ได้สอบถามถึงการแก้ไขปัญหาราคาอาหารปรุงสำเร็จที่มีการจำหน่ายเกินกว่าราคาแนะนำที่กรมการค้าภายในกำหนดไว้เมนูละ 25-35 บาท ซึ่งทางกรมฯ ได้ชี้แจงว่ามีปัจจัยเรื่องค่าเช่า ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ โดยได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำการวิเคราะห์ราคาอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายในแต่สถานที่ว่าควรมีระดับราคาเท่าไร เช่น ร้านอาหาร ห้องแถว ส่วนต้นทุนวัตถุดิบในการประกอบอาหาร เช่น เนื้อหมู หรือไข่ไก่ ที่ขอปรับขึ้นราคานั้น กรมการค้าภายในยืนยันว่ายังไม่มีการพิจารณาอนุมัติให้ปรับราคาอาหารสัตว์ จึงไม่น่าจะกระทบต่อราคาเนื้อสัตว์ปลายทาง
ทั้งนี้ กมธ.ยังได้ขอทราบความคืบหน้าการยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะปาล์ม ที่ขณะนี้ราคาได้ปรับลดลงจากกิโลกรัม (กก.) ละ 4 บาท เหลือ 3 บาทกว่า ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และมีแนวโน้มที่ราคาจะตกลงไปกว่านี้ แต่กระทรวงพาณิชย์ในฐานะที่กำกับดูแลกลับดำเนินการแก้ปัญหาได้ล่าช้า และไร้แผนเชิงรุก
นอกจากนี้ ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยกมธ. จะเรียกประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลอีกครั้งในวันนี้ (21 พ.ย.)
นายชนินทร์ รุ่งแสง ประธานกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (20 พ.ย.) ว่า ได้มาติดตามการดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพภายใต้โครงการร้านถูกใจ ที่ใช้งบประมาณถึง 1,320 ล้านบาท เพราะข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงเกี่ยวกับการใช้งบประมาณดังกล่าวยังมีประเด็นที่น่าสงสัยหลายประเด็น เช่น โครงการเน้นการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง และจัดทำประชาสัมพันธ์โครงการมากถึง 400-500 ล้านบาท ถือว่าเป็นสัดส่วนการใช้งบประมาณที่สูงมาก แต่กลับไม่สามารถชี้แจงได้ว่า โครงการดังกล่าวมีการกระจายสินค้าได้ทั่วถึงหรือไม่ ช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนได้แล้วเท่าไร และยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับอุปสรรคในการดำเนินการ เช่น การขนส่งสินค้าที่จัดจ้างบริษัท ไปรษณีย์ไทย ดำเนินงาน และการคัดเลือกผู้สมัครที่มีการใช้ระบบเส้นสาย ซึ่งได้ขอให้ทางกรมการค้าภายในนำข้อมูลเหล่านี้มาชี้แจงกมธ. เพิ่มเติมอีกครั้ง
ส่วนการดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ได้สอบถามถึงการแก้ไขปัญหาราคาอาหารปรุงสำเร็จที่มีการจำหน่ายเกินกว่าราคาแนะนำที่กรมการค้าภายในกำหนดไว้เมนูละ 25-35 บาท ซึ่งทางกรมฯ ได้ชี้แจงว่ามีปัจจัยเรื่องค่าเช่า ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ โดยได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำการวิเคราะห์ราคาอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายในแต่สถานที่ว่าควรมีระดับราคาเท่าไร เช่น ร้านอาหาร ห้องแถว ส่วนต้นทุนวัตถุดิบในการประกอบอาหาร เช่น เนื้อหมู หรือไข่ไก่ ที่ขอปรับขึ้นราคานั้น กรมการค้าภายในยืนยันว่ายังไม่มีการพิจารณาอนุมัติให้ปรับราคาอาหารสัตว์ จึงไม่น่าจะกระทบต่อราคาเนื้อสัตว์ปลายทาง
ทั้งนี้ กมธ.ยังได้ขอทราบความคืบหน้าการยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะปาล์ม ที่ขณะนี้ราคาได้ปรับลดลงจากกิโลกรัม (กก.) ละ 4 บาท เหลือ 3 บาทกว่า ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และมีแนวโน้มที่ราคาจะตกลงไปกว่านี้ แต่กระทรวงพาณิชย์ในฐานะที่กำกับดูแลกลับดำเนินการแก้ปัญหาได้ล่าช้า และไร้แผนเชิงรุก
นอกจากนี้ ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยกมธ. จะเรียกประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลอีกครั้งในวันนี้ (21 พ.ย.)