“บุญทรง” ยันไทยแค่แสดงความสนใจเข้าร่วมเจรจา TPP ช่วงโอบามามาเยือนไม่ใช่การลงนามเจรจา เผยขั้นตอนยังอีกไกล ต้องนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องผ่านมาตรา 190 ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจจะเจรจาหรือไม่ อัดบางคน บางกลุ่มวิจารณ์ไปเรื่อย
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ขอยืนยันอีกครั้งว่าในช่วงที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางมาเยือนไทย จะมีการลงนามแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเจรจาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) เท่านั้น ไม่ได้เป็นการลงนามเพื่อเปิดการเจรจาแต่อย่างใด เพราะเรื่องนี้ทางสหรัฐฯ ได้มีการทาบทามไทยไว้ในหลายเวที ซึ่งไทยก็ไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธ ส่วนบางคนหรือบางกลุ่มที่วิจารณ์ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย
“หลังจากที่โอบามาชนะเลือกตั้ง และมาเยือนไทย เขาก็แจ้งมาแล้วว่าอยากให้ไทยเข้าร่วมเจรจา TPP ซึ่งไทยก็สนใจ แต่ขั้นตอนหลังจากที่แสดงความสนใจไปแล้วยังมีอีกมาก ต้องไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปหารือกับกลุ่มต่างๆ ผ่านขั้นตอนอีกเยอะ เพราะถ้าเราสนใจจะกระโดดขึ้นรถไฟเขาก็ต้องไปดูว่าเขามีอะไรบ้าง ดูแล้วก็ต้องมาทำตามขั้นตอนในประเทศ ต้องผ่านมาตรา 190 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นถึงจะบอกได้ว่าเอาหรือไม่เอา”
ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ ได้ชักชวนให้ไทยเข้าร่วม TPP เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าไทยเป็นประเทศหนึ่งที่นักลงทุนสหรัฐฯ ได้เข้ามาลงทุน ปัจจุบันมีมากกว่า 400 บริษัท และเห็นว่ายังมีโอกาสในการขยายการค้า การลงทุน
นายบุญทรงกล่าวว่า ไทยจะเสนอให้สหรัฐฯ ฟื้นฟูการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (TIFA JC) หลังจากที่ได้หยุดชะงักมานาน เพื่อให้ไทยได้มีเวทีในการเจรจาหารือกับสหรัฐฯ ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ
สำหรับการหารือระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายกรัฐมนตรีจีน กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้เพิ่มความร่วมมือในด้านการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา โดยเฉพาะเรื่องข้าวคาดหวังว่าจะมีการลงนามในเอ็มโอยูในการเดินทางมาเยือนครั้งนี้
นายบุญทรงกล่าวว่า ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ที่กัมพูชาวันนี้ (16 พ.ย.) ไทยได้ส่งหนังสือนัดหารือกับรัฐมนตรีของอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อผลักดันความร่วมมือในด้านการค้าข้าวร่วมกัน ซึ่งเบื้องต้นรัฐมนตรีของทุกประเทศได้เห็นชอบในหลักการแล้ว และจะพยายามผลักดันให้ได้ข้อสรุปในการหารือครั้งนี้ และเสนอให้ผู้นำประกาศความร่วมมือต่อไป ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ และจากนั้นจะเป็นการลงลึกในรายละเอียดต่อไป
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ขอยืนยันอีกครั้งว่าในช่วงที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางมาเยือนไทย จะมีการลงนามแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเจรจาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) เท่านั้น ไม่ได้เป็นการลงนามเพื่อเปิดการเจรจาแต่อย่างใด เพราะเรื่องนี้ทางสหรัฐฯ ได้มีการทาบทามไทยไว้ในหลายเวที ซึ่งไทยก็ไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธ ส่วนบางคนหรือบางกลุ่มที่วิจารณ์ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย
“หลังจากที่โอบามาชนะเลือกตั้ง และมาเยือนไทย เขาก็แจ้งมาแล้วว่าอยากให้ไทยเข้าร่วมเจรจา TPP ซึ่งไทยก็สนใจ แต่ขั้นตอนหลังจากที่แสดงความสนใจไปแล้วยังมีอีกมาก ต้องไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปหารือกับกลุ่มต่างๆ ผ่านขั้นตอนอีกเยอะ เพราะถ้าเราสนใจจะกระโดดขึ้นรถไฟเขาก็ต้องไปดูว่าเขามีอะไรบ้าง ดูแล้วก็ต้องมาทำตามขั้นตอนในประเทศ ต้องผ่านมาตรา 190 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นถึงจะบอกได้ว่าเอาหรือไม่เอา”
ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ ได้ชักชวนให้ไทยเข้าร่วม TPP เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าไทยเป็นประเทศหนึ่งที่นักลงทุนสหรัฐฯ ได้เข้ามาลงทุน ปัจจุบันมีมากกว่า 400 บริษัท และเห็นว่ายังมีโอกาสในการขยายการค้า การลงทุน
นายบุญทรงกล่าวว่า ไทยจะเสนอให้สหรัฐฯ ฟื้นฟูการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (TIFA JC) หลังจากที่ได้หยุดชะงักมานาน เพื่อให้ไทยได้มีเวทีในการเจรจาหารือกับสหรัฐฯ ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ
สำหรับการหารือระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายกรัฐมนตรีจีน กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้เพิ่มความร่วมมือในด้านการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา โดยเฉพาะเรื่องข้าวคาดหวังว่าจะมีการลงนามในเอ็มโอยูในการเดินทางมาเยือนครั้งนี้
นายบุญทรงกล่าวว่า ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ที่กัมพูชาวันนี้ (16 พ.ย.) ไทยได้ส่งหนังสือนัดหารือกับรัฐมนตรีของอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อผลักดันความร่วมมือในด้านการค้าข้าวร่วมกัน ซึ่งเบื้องต้นรัฐมนตรีของทุกประเทศได้เห็นชอบในหลักการแล้ว และจะพยายามผลักดันให้ได้ข้อสรุปในการหารือครั้งนี้ และเสนอให้ผู้นำประกาศความร่วมมือต่อไป ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ และจากนั้นจะเป็นการลงลึกในรายละเอียดต่อไป