ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.ขึ้นยกแผง สูงสุดในรอบ 4 เดือน หลังคนหายกลัวน้ำท่วม การท่องเที่ยวเข้าสู่ช่วงไฮซีซัน ส่งออกเริ่มฟื้น แต่ต้องจับตาการเมืองป่วน ชุมนุมประท้วง ทำชาวบ้านกังวล
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค. 2555 จากตัวอย่าง 2,252 รายว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.อยู่ที่ 77.8 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.ที่อยู่ที่ 77.0 โดยค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 68.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วที่อยู่ 67.5 เนื่องจากผู้บริโภคคลายความกังวลสถานการณ์น้ำท่วม ประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีก และดอกเบี้ยปรับตัวลดลง รวมทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่เข้าสู่ช่วงไฮซีซัน การส่งออกไตรมาส 3 เริ่มส่งสัญญาณเป็นบวก และได้รับปัจจัยบวกทางจิตวิทยา จากการที่หลายหน่วยงานยืนยันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่าเดิม และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE3) ได้ช่วยให้เศรษฐกิจโลกผ่อนคลาย
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเดือน ต.ค. 55 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 83.1 เป็น 83.6 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตอยู่บ้าง โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมือง ที่ค่าดัชนีเดือน ต.ค.อยู่ที่ 65.7 ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้วที่ 68.5 ซึ่งลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 54 เนื่องจากองค์การพิทักษ์สยามออกมาประกาศว่าต้องการล้มรัฐบาล ซึ่งหากมีการชุมนุมยืดเยื้อจะกระทบต่อบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในช่วงสิ้นปีนี้ได้
“มุมมองขอมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังเชื่อว่ากำลังซื้อผู้บริโภคในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้น่าจะขยายตัวดีขึ้นตามความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจ และเม็ดเงินกระตุ้นจากโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรทั้งข้าวและมันสำปะหลังของภาครัฐที่ออกมา ประกอบกับเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวและค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคในประเทศภายในปีนี้จะโตไม่ต่ำกว่า 5% หากไม่มีปัญหาความรุนแรงทางการเมืองทำให้สะดุด”
นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยช่วงต่อไปมีทิศทางสดใส โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การประมูลคลื่นความถี่ 3จี หากสามารถเกิดขึ้นได้จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในระบบไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจในประเทศจีนและอินเดียเริ่มฟื้นตัว ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยเพิ่ม และคาดว่าในปี 2556 รายได้จากการท่องเที่ยวจะสูงถึง 1 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากเม็ดเงินโครงการลงทุนต่างๆ จากภาครัฐ ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นการขยับขยายทางเศรษฐกิจได้ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556
ทั้งนี้ หอการค้าไทยเตรียมที่จะแถลงปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ จากเดิมที่ประมาณการไว้ 5.6% เนื่องจากต้องติดตามผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแซนดี รวมทั้งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก่อน เพราะหากนายมิตต์ รอมนีย์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ก็เชื่อว่าจะทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯ ดีขึ้น แต่หากโอบามาได้รับเลือกตั้ง ก็จะส่งผลให้การค้าขายและการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียดีขึ้น
ส่วนผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน มองว่าค่าเงินในภูมิภาคนี้จะแข็งค่าขึ้นได้เกือบทุกประเทศ และปีหน้ามีโอกาสที่จะเห็นค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ เนื่องจากทิศทางการลงทุนยังมีเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกในปีนี้ยังคงคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 3-5% เนื่องจากสัญญาณการส่งออกในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาเริ่มปรับตัวดีขึ้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค. 2555 จากตัวอย่าง 2,252 รายว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.อยู่ที่ 77.8 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.ที่อยู่ที่ 77.0 โดยค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 68.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วที่อยู่ 67.5 เนื่องจากผู้บริโภคคลายความกังวลสถานการณ์น้ำท่วม ประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีก และดอกเบี้ยปรับตัวลดลง รวมทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่เข้าสู่ช่วงไฮซีซัน การส่งออกไตรมาส 3 เริ่มส่งสัญญาณเป็นบวก และได้รับปัจจัยบวกทางจิตวิทยา จากการที่หลายหน่วยงานยืนยันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่าเดิม และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE3) ได้ช่วยให้เศรษฐกิจโลกผ่อนคลาย
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเดือน ต.ค. 55 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 83.1 เป็น 83.6 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตอยู่บ้าง โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมือง ที่ค่าดัชนีเดือน ต.ค.อยู่ที่ 65.7 ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แล้วที่ 68.5 ซึ่งลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 54 เนื่องจากองค์การพิทักษ์สยามออกมาประกาศว่าต้องการล้มรัฐบาล ซึ่งหากมีการชุมนุมยืดเยื้อจะกระทบต่อบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในช่วงสิ้นปีนี้ได้
“มุมมองขอมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังเชื่อว่ากำลังซื้อผู้บริโภคในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้น่าจะขยายตัวดีขึ้นตามความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจ และเม็ดเงินกระตุ้นจากโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรทั้งข้าวและมันสำปะหลังของภาครัฐที่ออกมา ประกอบกับเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวและค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคในประเทศภายในปีนี้จะโตไม่ต่ำกว่า 5% หากไม่มีปัญหาความรุนแรงทางการเมืองทำให้สะดุด”
นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยช่วงต่อไปมีทิศทางสดใส โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การประมูลคลื่นความถี่ 3จี หากสามารถเกิดขึ้นได้จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในระบบไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจในประเทศจีนและอินเดียเริ่มฟื้นตัว ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยเพิ่ม และคาดว่าในปี 2556 รายได้จากการท่องเที่ยวจะสูงถึง 1 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากเม็ดเงินโครงการลงทุนต่างๆ จากภาครัฐ ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นการขยับขยายทางเศรษฐกิจได้ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556
ทั้งนี้ หอการค้าไทยเตรียมที่จะแถลงปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ จากเดิมที่ประมาณการไว้ 5.6% เนื่องจากต้องติดตามผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแซนดี รวมทั้งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก่อน เพราะหากนายมิตต์ รอมนีย์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ก็เชื่อว่าจะทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯ ดีขึ้น แต่หากโอบามาได้รับเลือกตั้ง ก็จะส่งผลให้การค้าขายและการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียดีขึ้น
ส่วนผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน มองว่าค่าเงินในภูมิภาคนี้จะแข็งค่าขึ้นได้เกือบทุกประเทศ และปีหน้ามีโอกาสที่จะเห็นค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ เนื่องจากทิศทางการลงทุนยังมีเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกในปีนี้ยังคงคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 3-5% เนื่องจากสัญญาณการส่งออกในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาเริ่มปรับตัวดีขึ้น