กทท.ตั้งอนุกรรมการฯ ทบทวนแผนแม่บทพัฒนาคลองเตยใหม่ สรุปภายใน 3 เดือนเสนอคมนาคมพิจารณา สนองนโยบายใช้เป็นศูนย์ราชการ เล็งตั้งบริษัทลูกพัฒนาสินทรัพย์แยกบริหาร
เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาสินทรัพย์การท่าเรือฯ เพื่อทบทวนแผนแม่บทโครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 2,357 ไร่ ให้สอดคล้องกับนโยบายปัจจุบันที่เพิ่มเติมจากเดิม คือการย้ายสถานีราชการ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ จากถนนราชดำเนินไปอยู่ในพื้นที่ของ กทท.เพื่อให้เป็นศูนย์ราชการแห่งที่ 2 และการนำพื้นที่ 123 ไร่ ซึ่งกระทรวงกลาโหมใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบันมาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับชุมชนในพื้นที่ก่อน โดยให้หาข้อยุติแนวการพัฒนาใหม่ภายใน 3 เดือน จากนั้นจะสรุปแผนแม่บทเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท. และกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่ท่าเรือคลองเตยที่ประสบความสำเร็จ กทท.จะต้องจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ คือ บริษัท การท่าเรือพัฒนาสินทรัพย์ ซึ่งจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติฯ เนื่องจากที่ดินของ กทท.นั้นได้มีการเวนคืนมาเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการท่าเรือ ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จะต้องออก พ.ร.บ.รองรับ ส่วนบริษัทลูกจะมีลักษณะเป็นหน่วยธุรกิจ (BU) หนึ่งของ กทท. แยกระบบบัญชีออกจาก กทท. โดยทั้งหมดนี้คณะอนุกรรมการฯ จะต้องศึกษาและสรุปแนวทางที่เหมาะสมด้วย
“แผนแม่บทโครงการการใช้ประโยชน์พื้นที่ของ กทท.บริเวณท่าเรือกรุงเทพนั้นศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2551-2553 ข้อมูลบางเรื่องอาจจะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะนโยบายของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เรี่องศูนย์ราชการแห่งที่ 2 ก็ต้องนำแนวคิดนี้ใส่เข้าไปว่าจะทำได้หรือติดขัดอย่างไร อย่างไรก็ตาม ยืนยัน การพัฒนาต่างๆ จะให้ความสำคัญต่อชุมชนกว่า 5 หมื่นครอบครัวในพื้นที่ก่อนแน่นอน” ผอ.กทท.กล่าว
เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาสินทรัพย์การท่าเรือฯ เพื่อทบทวนแผนแม่บทโครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 2,357 ไร่ ให้สอดคล้องกับนโยบายปัจจุบันที่เพิ่มเติมจากเดิม คือการย้ายสถานีราชการ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ จากถนนราชดำเนินไปอยู่ในพื้นที่ของ กทท.เพื่อให้เป็นศูนย์ราชการแห่งที่ 2 และการนำพื้นที่ 123 ไร่ ซึ่งกระทรวงกลาโหมใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบันมาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับชุมชนในพื้นที่ก่อน โดยให้หาข้อยุติแนวการพัฒนาใหม่ภายใน 3 เดือน จากนั้นจะสรุปแผนแม่บทเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท. และกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่ท่าเรือคลองเตยที่ประสบความสำเร็จ กทท.จะต้องจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ คือ บริษัท การท่าเรือพัฒนาสินทรัพย์ ซึ่งจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติฯ เนื่องจากที่ดินของ กทท.นั้นได้มีการเวนคืนมาเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการท่าเรือ ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จะต้องออก พ.ร.บ.รองรับ ส่วนบริษัทลูกจะมีลักษณะเป็นหน่วยธุรกิจ (BU) หนึ่งของ กทท. แยกระบบบัญชีออกจาก กทท. โดยทั้งหมดนี้คณะอนุกรรมการฯ จะต้องศึกษาและสรุปแนวทางที่เหมาะสมด้วย
“แผนแม่บทโครงการการใช้ประโยชน์พื้นที่ของ กทท.บริเวณท่าเรือกรุงเทพนั้นศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2551-2553 ข้อมูลบางเรื่องอาจจะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะนโยบายของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เรี่องศูนย์ราชการแห่งที่ 2 ก็ต้องนำแนวคิดนี้ใส่เข้าไปว่าจะทำได้หรือติดขัดอย่างไร อย่างไรก็ตาม ยืนยัน การพัฒนาต่างๆ จะให้ความสำคัญต่อชุมชนกว่า 5 หมื่นครอบครัวในพื้นที่ก่อนแน่นอน” ผอ.กทท.กล่าว