สมาคมโฆษณาฯ เผยเวที Adman Awards & Symposium 2012 คึกคัก เอเยนซีต่างส่งผลงานเข้าประกวดถึง 847 ชิ้น เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 12% ชี้เทรนด์สื่อสารการตลาดมุ่งสู่การทำ segmentation market เพื่อเจาะผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเน้นการผสมผสานระหว่างสื่อดั้งเดิมกับนิวมีเดีย ขณะที่ผลงานประเภทแคมเปญรณรงค์เพื่อสังคมมาแรง สร้างสรรค์ด้วยลูกเล่นแปลกใหม่
นายปารเมศร์ รัชไชยบุญ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน Adman Awards & Symposium 2012 เปิดเผยว่า หัวใจของการสร้างสรรค์ผลงานด้านการสื่อสารการตลาด (ในรูปแบบต่างๆ) วันนี้ คือต้องเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง ในการที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในหลากหลายมิติ ดังนั้น การจัดงาน Adman Awards & Symposium 2012 จึงชูธีม “จริง กล้า ลึกสุดใจ” (Truly Madly Deeply)
โดยปีนี้มีจำนวนชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 847 ชิ้นงาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 12% ปริมาณการส่งผลงานแต่ละหมวดใกล้เคียงกัน เช่น สื่อทีวี 142 ชิ้น สื่อสิ่งพิมพ์ 130 ชิ้น สื่อโฆษณานอกบ้านและแฝงในบรรยากาศ 132 ชิ้น และสื่อดิจิตอล 137 ชิ้น เป็นต้น โดยจะพบว่าสื่อดิจิตอลมีจำนวนชิ้นงานเข้าประกวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากสื่อดิจิตอลกำลังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยม เพราะสามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากกว่า ทำให้ผู้ประกอบการ และนักสื่อสารการตลาดให้ความสำคัญทำให้มีการผลิตชิ้นงานในสื่อดิจิตอลมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจุบันนักสื่อสารการตลาดมุ่งเน้นการใช้ Total Communication ด้วยการใช้สื่อแบบผสมผสานเพื่อสร้างประสิทธิภาพการสื่อสารเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อโทรทัศน์ร่วมกับการใช้ดิจิตอลมีเดีย เพื่อช่วยให้สามารถอินเตอร์แอ็กทีฟ และรับฟีดแบ็กจากลูกค้าได้แบบทันที
อย่างไรก็ตาม นักสื่อสารการตลาดยังคงให้ความสำคัญต่อการใช้สื่อดั้งเดิม (Traditional media) ในการตอบโจทย์เรื่องการนำเสนอการขายสินค้า ส่วนการสร้างภาพลักษณ์จะเลือกใช้สื่อใหม่ (New Media) ประเภทโซเชียลมีเดียมากกว่า
นายปารเมศร์กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการต่างๆ เริ่มเห็นโอกาสจากการเกิดของสื่อใหม่ที่สามารถเน้นเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารการตลาดแบบ segmentation market มากขึ้น
“เทรนด์ของโลกจะมุ่งสู่การทำ segmentation market ขณะที่การทำ mass market จะเริ่มน้อยลง เพราะฉะนั้น หากนักสื่อสารการตลาดไม่สามารถก้าวทัน หรือเข้าถึง Consumer insight ได้ก็จะลำบาก ขณะที่เอเยนซีโฆษณาจะมีบทบาทแค่การทำโฆษณาแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว ต้องพัฒนาเป็น Brand consult เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้มีเดียได้ตรงกลุ่มและเข้าถึง Consumer insight ได้มากขึ้นอีกด้วย” นายปารเมศร์กล่าว
ขณะที่นายวิบูลย์ ลีภักดิ์ปรีดา และนายพรรษพล ลิมปิศิริสันต์ ประธานร่วมคณะกรรมการตัดสินการประกวด Adman Awards & Symposium 2012 ร่วมกันอธิบายถึงชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดปีนี้ว่ามีแนวคิดที่หลากหลาย และตรงกับ Consumer insight มากขึ้น โดยเฉพาะสื่อโฆษณานอกบ้านและแฝงในบรรยากาศ และสื่อดิจิตอลที่มีการเล่นกับผู้บริโภคได้อย่างน่าสนใจ
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจปีนี้พบว่า งานประเภทแคมเปญรณรงค์ สร้างสรรค์สังคม ของมูลนิธิ หรือองค์กรเพื่อสังคม เช่น การรณรงค์แก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยเหลือคนพิการ หรือสภากาชาดไทย ฯลฯ อาจด้วยเพราะงบประมาณที่จำกัด จึงทำให้เกิดการคิดหาวิธีเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างโดดเด่น สร้างสรรค์ ทำให้มีผลงานประเภทนี้ส่งเข้าประกวดมากขึ้น
สำหรับงานสัมมนา (Symposium) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของงาน ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับนิตยสาร BRANDAGE จัดสัมมนาระดับมืออาชีพ และระดับนิสิตนักศึกษาที่ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยทั้งสองงานประสบความสำเร็จอย่างดีได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาจำนวนมาก
สมาคมโฆษณาฯ มั่นใจว่างาน Adman Awards & Symposium จะเป็นเวทีประกวดผลงานด้านการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ที่ช่วยรักษาและยกระดับมาตรฐานคุณภาพงานสื่อสารการตลาด ของคนไทยให้สูงขึ้นในทุกๆ ปี และเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของวงการสื่อสารการตลาดตลอดไป เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกๆ สาขามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสารการตลาดของไทยให้รุดหน้าต่อไปด้วยกัน
นายปารเมศร์ รัชไชยบุญ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน Adman Awards & Symposium 2012 เปิดเผยว่า หัวใจของการสร้างสรรค์ผลงานด้านการสื่อสารการตลาด (ในรูปแบบต่างๆ) วันนี้ คือต้องเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง ในการที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในหลากหลายมิติ ดังนั้น การจัดงาน Adman Awards & Symposium 2012 จึงชูธีม “จริง กล้า ลึกสุดใจ” (Truly Madly Deeply)
โดยปีนี้มีจำนวนชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 847 ชิ้นงาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 12% ปริมาณการส่งผลงานแต่ละหมวดใกล้เคียงกัน เช่น สื่อทีวี 142 ชิ้น สื่อสิ่งพิมพ์ 130 ชิ้น สื่อโฆษณานอกบ้านและแฝงในบรรยากาศ 132 ชิ้น และสื่อดิจิตอล 137 ชิ้น เป็นต้น โดยจะพบว่าสื่อดิจิตอลมีจำนวนชิ้นงานเข้าประกวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากสื่อดิจิตอลกำลังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยม เพราะสามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากกว่า ทำให้ผู้ประกอบการ และนักสื่อสารการตลาดให้ความสำคัญทำให้มีการผลิตชิ้นงานในสื่อดิจิตอลมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจุบันนักสื่อสารการตลาดมุ่งเน้นการใช้ Total Communication ด้วยการใช้สื่อแบบผสมผสานเพื่อสร้างประสิทธิภาพการสื่อสารเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อโทรทัศน์ร่วมกับการใช้ดิจิตอลมีเดีย เพื่อช่วยให้สามารถอินเตอร์แอ็กทีฟ และรับฟีดแบ็กจากลูกค้าได้แบบทันที
อย่างไรก็ตาม นักสื่อสารการตลาดยังคงให้ความสำคัญต่อการใช้สื่อดั้งเดิม (Traditional media) ในการตอบโจทย์เรื่องการนำเสนอการขายสินค้า ส่วนการสร้างภาพลักษณ์จะเลือกใช้สื่อใหม่ (New Media) ประเภทโซเชียลมีเดียมากกว่า
นายปารเมศร์กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการต่างๆ เริ่มเห็นโอกาสจากการเกิดของสื่อใหม่ที่สามารถเน้นเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารการตลาดแบบ segmentation market มากขึ้น
“เทรนด์ของโลกจะมุ่งสู่การทำ segmentation market ขณะที่การทำ mass market จะเริ่มน้อยลง เพราะฉะนั้น หากนักสื่อสารการตลาดไม่สามารถก้าวทัน หรือเข้าถึง Consumer insight ได้ก็จะลำบาก ขณะที่เอเยนซีโฆษณาจะมีบทบาทแค่การทำโฆษณาแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว ต้องพัฒนาเป็น Brand consult เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้มีเดียได้ตรงกลุ่มและเข้าถึง Consumer insight ได้มากขึ้นอีกด้วย” นายปารเมศร์กล่าว
ขณะที่นายวิบูลย์ ลีภักดิ์ปรีดา และนายพรรษพล ลิมปิศิริสันต์ ประธานร่วมคณะกรรมการตัดสินการประกวด Adman Awards & Symposium 2012 ร่วมกันอธิบายถึงชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดปีนี้ว่ามีแนวคิดที่หลากหลาย และตรงกับ Consumer insight มากขึ้น โดยเฉพาะสื่อโฆษณานอกบ้านและแฝงในบรรยากาศ และสื่อดิจิตอลที่มีการเล่นกับผู้บริโภคได้อย่างน่าสนใจ
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจปีนี้พบว่า งานประเภทแคมเปญรณรงค์ สร้างสรรค์สังคม ของมูลนิธิ หรือองค์กรเพื่อสังคม เช่น การรณรงค์แก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยเหลือคนพิการ หรือสภากาชาดไทย ฯลฯ อาจด้วยเพราะงบประมาณที่จำกัด จึงทำให้เกิดการคิดหาวิธีเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างโดดเด่น สร้างสรรค์ ทำให้มีผลงานประเภทนี้ส่งเข้าประกวดมากขึ้น
สำหรับงานสัมมนา (Symposium) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของงาน ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับนิตยสาร BRANDAGE จัดสัมมนาระดับมืออาชีพ และระดับนิสิตนักศึกษาที่ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยทั้งสองงานประสบความสำเร็จอย่างดีได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาจำนวนมาก
สมาคมโฆษณาฯ มั่นใจว่างาน Adman Awards & Symposium จะเป็นเวทีประกวดผลงานด้านการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ที่ช่วยรักษาและยกระดับมาตรฐานคุณภาพงานสื่อสารการตลาด ของคนไทยให้สูงขึ้นในทุกๆ ปี และเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของวงการสื่อสารการตลาดตลอดไป เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกๆ สาขามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสารการตลาดของไทยให้รุดหน้าต่อไปด้วยกัน