ภาคเอกชนเตรียมนำข้อเสนอการประชุมเชิงปฏิบัติการ 10 กลุ่มย่อยให้นายกฯ ปูวันนี้ หวังภาครัฐนำไปใช้จัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวในโครงการกิจกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness Conference 2012) ที่จัดโดย TMA และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วานนี้ (11 ก.ย.) ว่า ทาง TMA จะนำเสนอผลสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 10 กลุ่มที่ได้ระดมความคิดเห็นของผู้นำทางธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืนให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะเข้ารับฟังในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย.) โดยหวังว่าข้อเสนอดังกล่าวทางภาครัฐจะนำไปใช้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างเร่งรีบเพื่อรองรับการแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเมื่อ 5 ปีก่อน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสร้างประสิทธิภาพให้ภาคธุรกิจ จนปัจจุบันมาเลเซียถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประเทศในเวทีโลกปี 2555 อยู่อันดับที่ 14 และสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 4 ขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 30 จากการสำรวจ 59 ประเทศของ IMD ซึ่งหัวข้อที่ใช้ในการพิจารณาจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันนั้นลดลงทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐ ประสิทธิภาพของเอกชน และระบบสาธารณูปโภค
นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้ความสำคัญและเพิ่มบทบาทให้คณะทำงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนำเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
ขณะเดียวกัน ทางภาคเอกชนก็ต้องพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมทั้งด้านดีไซน์ และการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า แทนการเป็นฐานการผลิต และไม่ควรพึ่งพารัฐตลอด เพราะเมื่อมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 การเคลื่อนย้ายทุน แรงงานจะทำได้อย่างเสรี การแข่งขันจะทวีความรุนแรงขึ้น
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกลุ่มน้ำตาลมิตรผล กล่าวว่า การชิงความได้เปรียบเพื่อสร้างความเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องปรับปรุงที่ต้นน้ำ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่เพาะปลูกและคนให้มากกว่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีมาผสมผสาน และมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก
ทั้งนี้ TMA จัดประชุม Workshop กลุ่มย่อย ได้แก่ การเป็นผู้นำด้านอาหาร กลุ่มยานยนต์ การท่องเที่ยว ศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ การสร้างมูลค่ายาง กลุ่มลอจิสติกส์เพื่อเชื่อมในภูมิภาคนี้ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว การต่อต้านการคอร์รัปชัน และพัฒนาอย่างยั่งยืน
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวในโครงการกิจกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness Conference 2012) ที่จัดโดย TMA และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วานนี้ (11 ก.ย.) ว่า ทาง TMA จะนำเสนอผลสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 10 กลุ่มที่ได้ระดมความคิดเห็นของผู้นำทางธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืนให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะเข้ารับฟังในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย.) โดยหวังว่าข้อเสนอดังกล่าวทางภาครัฐจะนำไปใช้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างเร่งรีบเพื่อรองรับการแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเมื่อ 5 ปีก่อน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสร้างประสิทธิภาพให้ภาคธุรกิจ จนปัจจุบันมาเลเซียถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประเทศในเวทีโลกปี 2555 อยู่อันดับที่ 14 และสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 4 ขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 30 จากการสำรวจ 59 ประเทศของ IMD ซึ่งหัวข้อที่ใช้ในการพิจารณาจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันนั้นลดลงทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐ ประสิทธิภาพของเอกชน และระบบสาธารณูปโภค
นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้ความสำคัญและเพิ่มบทบาทให้คณะทำงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนำเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
ขณะเดียวกัน ทางภาคเอกชนก็ต้องพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมทั้งด้านดีไซน์ และการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า แทนการเป็นฐานการผลิต และไม่ควรพึ่งพารัฐตลอด เพราะเมื่อมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 การเคลื่อนย้ายทุน แรงงานจะทำได้อย่างเสรี การแข่งขันจะทวีความรุนแรงขึ้น
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกลุ่มน้ำตาลมิตรผล กล่าวว่า การชิงความได้เปรียบเพื่อสร้างความเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องปรับปรุงที่ต้นน้ำ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่เพาะปลูกและคนให้มากกว่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีมาผสมผสาน และมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก
ทั้งนี้ TMA จัดประชุม Workshop กลุ่มย่อย ได้แก่ การเป็นผู้นำด้านอาหาร กลุ่มยานยนต์ การท่องเที่ยว ศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ การสร้างมูลค่ายาง กลุ่มลอจิสติกส์เพื่อเชื่อมในภูมิภาคนี้ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว การต่อต้านการคอร์รัปชัน และพัฒนาอย่างยั่งยืน