“ธนินท์” เจ้าสัว ซี.พี.แนะไทยพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เหตุเศรษฐกิจโลกปีหน้าเผาจริง จี้รัฐบาลเร่งลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน รุกอุตสาหกรรมยานยนต์ ชูท่องเที่ยว พร้อมปรับพื้นที่เกษตรหันปลูกยาง อ้อย มัน ปาล์ม เหตุได้ราคาดีกว่าข้าว ออกปากหนุนจำนำช่วยชาวนาได้จริง “ดร.โกร่ง” แนะไทยเร่งลงทุน ชี้ทำตอนนี้มีแต่ได้ของถูก ส่วน ดร.ซุป เตือนการค้าโลกเปลี่ยน กีดกันจะมากขึ้น
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “จุดเปลี่ยนการค้าโลก : ไทยจะเดินอย่างไร” ในโอกาสเข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 92 ปี กระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (20 ส.ค.) ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะยังไม่แย่ คิดว่าปีหน้าจะแย่กว่านี้ แต่ต้องไม่ท้อใจ ต้องมองให้เป็นโอกาส เพราะวิกฤตจะตามมาด้วยโอกาส รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมตั้งรับ ต้องเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ต้องเร่งลงทุน และส่งเสริมนักธุรกิจไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีทุนสำรองสะสม 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 13 ของโลก มีหนี้ระยะสั้นไม่กี่หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไม่เหมือนตอนวิกฤตต้มยำกุ้งที่มีหนี้สูงกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นหนี้ระยะสั้น รัฐบาลต้องเอาเงินออกมาใช้ ต้องลงทุนในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เช่น ท่าเรือ คมนาคม ลอจิสติกส์ ชลประทาน รถไฟรางคู่ความเร็วสูง หรือใช้เงินส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทำเอทานอลเพราะได้ราคาดีกว่าการปลูกข้าวทั้งนั้น แต่จะต้องมีแผนรองรับใน 5-10 ปี จะใช้วัตถุดิบเหล่านี้มาผลิตเอทานอลเท่าไร และจะลดการนำเข้าน้ำมันได้ปีละเท่าไร
“แบงก์ชาติอย่ากังวลภาวะเงินเฟ้อมากไป เพราะว่าผลกระทบมาจากราคาน้ำมันที่ไทยไม่สามารถควบคุมได้ และเห็นว่าควรจะนำเงินทุนสำรองที่มีอยู่สูงมากไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะดีกว่า”
นายธนินท์กล่าวว่า สำหรับการรับจำนำข้าวเห็นด้วยกับรัฐบาล เพราะไปถามเกษตรกร เกษตรกรบอกว่าจำนำดีกว่าประกัน ไม่ได้พูดแทนเกษตรกร เพราะการขายข้าวราคาถูก ขอถามว่าเอาเงินใครไปสู้ เอาเงินชาวนาไปสู้ หรือเอาเงินนักธุรกิจไปสู้ การสู้ก็ต้องมากดราคาชาวนา ซื้อถูกไปขายถูกทำง่าย นักธุรกิจค้าข้าวพอใจ แต่จำนำ ซื้อแพง ขายแพงทำยาก มีโอกาสขาดทุน พ่อค้าไม่พอใจ โดยรัฐบาลต้องหาทางช่วยเหลือพ่อค้าที่ได้รับผลกระทบด้วย
สำหรับนโยบายที่รัฐบาลควรจะผลักดัน ขอให้เน้นในเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะปัจจุบันไทยเป็นที่ 4 ของโลก รองจากจีนที่ผลิตได้ 18 ล้านคัน ญี่ปุ่น 8.3 ล้านคัน และเกาหลีใต้ 4 ล้านคัน ส่วนไทย 1.4 ล้านคัน รัฐบาลจะต้องตั้งเป้าให้เป็นที่ 3 หรือที่ 2 ของโลกเพราะมีโอกาสสูง โดยขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกส่วนใหญ่ก็มาลงทุนในไทยแล้ว ก็ต้องไปถามว่าถ้าจะให้มาลงทุนมากกว่านี้ จะให้ไทยสนับสนุนด้านไหน สนับสนุนอะไร แต่เห็นว่าควรจะเริ่มที่การพัฒนาคนเพื่อรองรับ ต้องสร้างคนที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาสร้างขึ้นมา
ส่วนอีกเรื่อง จะต้องส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว ต้องวางแผนในการดึงนักท่องเที่ยวจากจีน หากคน 10% ของจีนหรือ 130 ล้านคนมาเที่ยวไทยจะเกิดอะไรขึ้น รัฐบาลต้องคิด ต้องหาแรงจูงใจ เช่น จะเอาโรงแรมที่ไหนให้อยู่ จะมีแหล่งชอปปิ้งที่ไหนให้ไปซื้อสินค้า โดยรัฐบาลต้องมองในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษี อาจจะให้เช่าที่ดินได้ 99 ปีเพื่อดึงให้มาลงทุน และให้เป็นแหล่งซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดจิ๋ว เล็ก และกลาง ออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เพราะธุรกิจเหล่านี้ไปแล้วจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ทุกวันนี้เขายังขาด ทั้งขาดข้อมูล ขาดเงินทุน รัฐบาลต้องช่วย
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไทยต้องเร่งการลงทุน แต่ปัญหาคือ ไทยยังคิดว่าประเทศขาดดุลอยู่ ทั้งๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ 15 ปีมาแล้ว เพราะไทยไม่ลงทุนเลย ขณะนี้เงินออมมีเกือบ 1 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นต้องเร่งลงทุนเพื่อสร้างเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน กระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ เพราะเอกชนต้องการลงทุน แต่ถึงจุดที่เดินต่อไม่ได้แล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องลงทุนถนนหนทาง รถไฟ สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก และถ้าตัดสินใจลงทุนก็ต้องประกาศให้เอกชนรู้ด้วยว่ารัฐจะทำอะไร เพื่อให้เอกชนเดินตามไปได้
“เรารวยตอนคนอื่นจนเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะได้ของถูกมาลงทุน เราพูดถึงรถไฟความเร็วสูง มีคนวิ่งขาขวิดแล้ว 5 ประเทศ พูดถึงมาตรการป้องกันน้ำท่วม ก็วิ่งกันล้มลุกคลุกคลานเหมือนกัน ตอนนี้ทุกประเทศต้องการงาน เพื่อจุนเจือการว่างงานของเขา เราต้องเร่งตอนนี้ให้จบ”
นายวีรพงษ์กล่าวอีกว่า เรื่องเงินเฟ้อทำอะไรมากไม่ได้ ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกโลก ของแพงต้องเพิ่มรายได้ ไม่ใช่กดราคา ต้องเร่งให้คนมีรายได้สูง และไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดของแบงก์ชาติ แต่ตนเป็นปัญญาชน ความเห็นต่างก็ทำงานด้วยกันได้ ไม่งั้นจะพากันลงเหวหมด ขณะที่การเมืองไม่รู้จะทำยังไง ไม่อยากพูดในสิ่งที่ทำอะไรไม่ได้ พูดในเรื่องที่ทำได้ดีกว่า อย่างการค้า การเงิน เชื่อว่าถ้าทำแนวนี้ได้อีก 20 ปีประเทศไทยจะไม่เป็นประเทศไทยแบบทุกวันนี้แน่นอน
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา กล่าวว่า จุดเปลี่ยนการค้าโลกที่น่าจับตาจากนี้ไปก็คือ การค้าพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จะยังไม่มีความคืบหน้า จะมีการนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้เพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ จะหันไปผลักดันเรื่องที่ตนเองต้องการนอกกรอบพหุภาคี โดยหันไปเจรจากันเองมากขึ้น และหากไทยไม่เข้าร่วมก็อาจจะเสียเปรียบได้ จะมีการผลักดันประเด็นที่ตกค้างจากการประชุม WTO ที่สิงคโปร์ คือ การแข่งขันทางการค้า แรงงาน สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อโดยรัฐ เพิ่มมากขึ้น และยังมีแนวโน้มรัฐบาลประเทศต่างๆ จะลงมาเป็นผู้เล่นในอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะขัดกับการเจรจาที่ต้องการให้มีการเปิดเสรี
ดังนั้น ไทยจะต้องเตรียมปรับโครงสร้างเพื่อรับมือ โดยต้องใช้ระเบียบกฎหมายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ เช่น การเร่งจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยการค้า (ทริปส์) ในเรื่องยา การใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าเพื่อรับมือการเปิดเสรี โดยเฉพาะ AEC ที่แม้จะมองว่าอาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ก็เดินมาถูกทาง รวมทั้งอาเซียนจะต้องเร่งเปิดตลาด +3 กับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนการเข้าร่วมข้อตกลง TPP จะต้องคิดให้ดี เพราะมันจะถูกกดดันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องยา จะต้องเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และธุรกิจบริการ และจะต้องปรับระบบภาษีให้มีความเป็นสากล
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “จุดเปลี่ยนการค้าโลก : ไทยจะเดินอย่างไร” ในโอกาสเข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 92 ปี กระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (20 ส.ค.) ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะยังไม่แย่ คิดว่าปีหน้าจะแย่กว่านี้ แต่ต้องไม่ท้อใจ ต้องมองให้เป็นโอกาส เพราะวิกฤตจะตามมาด้วยโอกาส รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมตั้งรับ ต้องเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ต้องเร่งลงทุน และส่งเสริมนักธุรกิจไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีทุนสำรองสะสม 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 13 ของโลก มีหนี้ระยะสั้นไม่กี่หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไม่เหมือนตอนวิกฤตต้มยำกุ้งที่มีหนี้สูงกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นหนี้ระยะสั้น รัฐบาลต้องเอาเงินออกมาใช้ ต้องลงทุนในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เช่น ท่าเรือ คมนาคม ลอจิสติกส์ ชลประทาน รถไฟรางคู่ความเร็วสูง หรือใช้เงินส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทำเอทานอลเพราะได้ราคาดีกว่าการปลูกข้าวทั้งนั้น แต่จะต้องมีแผนรองรับใน 5-10 ปี จะใช้วัตถุดิบเหล่านี้มาผลิตเอทานอลเท่าไร และจะลดการนำเข้าน้ำมันได้ปีละเท่าไร
“แบงก์ชาติอย่ากังวลภาวะเงินเฟ้อมากไป เพราะว่าผลกระทบมาจากราคาน้ำมันที่ไทยไม่สามารถควบคุมได้ และเห็นว่าควรจะนำเงินทุนสำรองที่มีอยู่สูงมากไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะดีกว่า”
นายธนินท์กล่าวว่า สำหรับการรับจำนำข้าวเห็นด้วยกับรัฐบาล เพราะไปถามเกษตรกร เกษตรกรบอกว่าจำนำดีกว่าประกัน ไม่ได้พูดแทนเกษตรกร เพราะการขายข้าวราคาถูก ขอถามว่าเอาเงินใครไปสู้ เอาเงินชาวนาไปสู้ หรือเอาเงินนักธุรกิจไปสู้ การสู้ก็ต้องมากดราคาชาวนา ซื้อถูกไปขายถูกทำง่าย นักธุรกิจค้าข้าวพอใจ แต่จำนำ ซื้อแพง ขายแพงทำยาก มีโอกาสขาดทุน พ่อค้าไม่พอใจ โดยรัฐบาลต้องหาทางช่วยเหลือพ่อค้าที่ได้รับผลกระทบด้วย
สำหรับนโยบายที่รัฐบาลควรจะผลักดัน ขอให้เน้นในเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะปัจจุบันไทยเป็นที่ 4 ของโลก รองจากจีนที่ผลิตได้ 18 ล้านคัน ญี่ปุ่น 8.3 ล้านคัน และเกาหลีใต้ 4 ล้านคัน ส่วนไทย 1.4 ล้านคัน รัฐบาลจะต้องตั้งเป้าให้เป็นที่ 3 หรือที่ 2 ของโลกเพราะมีโอกาสสูง โดยขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกส่วนใหญ่ก็มาลงทุนในไทยแล้ว ก็ต้องไปถามว่าถ้าจะให้มาลงทุนมากกว่านี้ จะให้ไทยสนับสนุนด้านไหน สนับสนุนอะไร แต่เห็นว่าควรจะเริ่มที่การพัฒนาคนเพื่อรองรับ ต้องสร้างคนที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาสร้างขึ้นมา
ส่วนอีกเรื่อง จะต้องส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว ต้องวางแผนในการดึงนักท่องเที่ยวจากจีน หากคน 10% ของจีนหรือ 130 ล้านคนมาเที่ยวไทยจะเกิดอะไรขึ้น รัฐบาลต้องคิด ต้องหาแรงจูงใจ เช่น จะเอาโรงแรมที่ไหนให้อยู่ จะมีแหล่งชอปปิ้งที่ไหนให้ไปซื้อสินค้า โดยรัฐบาลต้องมองในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษี อาจจะให้เช่าที่ดินได้ 99 ปีเพื่อดึงให้มาลงทุน และให้เป็นแหล่งซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดจิ๋ว เล็ก และกลาง ออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เพราะธุรกิจเหล่านี้ไปแล้วจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ทุกวันนี้เขายังขาด ทั้งขาดข้อมูล ขาดเงินทุน รัฐบาลต้องช่วย
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไทยต้องเร่งการลงทุน แต่ปัญหาคือ ไทยยังคิดว่าประเทศขาดดุลอยู่ ทั้งๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ 15 ปีมาแล้ว เพราะไทยไม่ลงทุนเลย ขณะนี้เงินออมมีเกือบ 1 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นต้องเร่งลงทุนเพื่อสร้างเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน กระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ เพราะเอกชนต้องการลงทุน แต่ถึงจุดที่เดินต่อไม่ได้แล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องลงทุนถนนหนทาง รถไฟ สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก และถ้าตัดสินใจลงทุนก็ต้องประกาศให้เอกชนรู้ด้วยว่ารัฐจะทำอะไร เพื่อให้เอกชนเดินตามไปได้
“เรารวยตอนคนอื่นจนเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะได้ของถูกมาลงทุน เราพูดถึงรถไฟความเร็วสูง มีคนวิ่งขาขวิดแล้ว 5 ประเทศ พูดถึงมาตรการป้องกันน้ำท่วม ก็วิ่งกันล้มลุกคลุกคลานเหมือนกัน ตอนนี้ทุกประเทศต้องการงาน เพื่อจุนเจือการว่างงานของเขา เราต้องเร่งตอนนี้ให้จบ”
นายวีรพงษ์กล่าวอีกว่า เรื่องเงินเฟ้อทำอะไรมากไม่ได้ ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกโลก ของแพงต้องเพิ่มรายได้ ไม่ใช่กดราคา ต้องเร่งให้คนมีรายได้สูง และไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดของแบงก์ชาติ แต่ตนเป็นปัญญาชน ความเห็นต่างก็ทำงานด้วยกันได้ ไม่งั้นจะพากันลงเหวหมด ขณะที่การเมืองไม่รู้จะทำยังไง ไม่อยากพูดในสิ่งที่ทำอะไรไม่ได้ พูดในเรื่องที่ทำได้ดีกว่า อย่างการค้า การเงิน เชื่อว่าถ้าทำแนวนี้ได้อีก 20 ปีประเทศไทยจะไม่เป็นประเทศไทยแบบทุกวันนี้แน่นอน
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา กล่าวว่า จุดเปลี่ยนการค้าโลกที่น่าจับตาจากนี้ไปก็คือ การค้าพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จะยังไม่มีความคืบหน้า จะมีการนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้เพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ จะหันไปผลักดันเรื่องที่ตนเองต้องการนอกกรอบพหุภาคี โดยหันไปเจรจากันเองมากขึ้น และหากไทยไม่เข้าร่วมก็อาจจะเสียเปรียบได้ จะมีการผลักดันประเด็นที่ตกค้างจากการประชุม WTO ที่สิงคโปร์ คือ การแข่งขันทางการค้า แรงงาน สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อโดยรัฐ เพิ่มมากขึ้น และยังมีแนวโน้มรัฐบาลประเทศต่างๆ จะลงมาเป็นผู้เล่นในอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะขัดกับการเจรจาที่ต้องการให้มีการเปิดเสรี
ดังนั้น ไทยจะต้องเตรียมปรับโครงสร้างเพื่อรับมือ โดยต้องใช้ระเบียบกฎหมายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ เช่น การเร่งจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยการค้า (ทริปส์) ในเรื่องยา การใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าเพื่อรับมือการเปิดเสรี โดยเฉพาะ AEC ที่แม้จะมองว่าอาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ก็เดินมาถูกทาง รวมทั้งอาเซียนจะต้องเร่งเปิดตลาด +3 กับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนการเข้าร่วมข้อตกลง TPP จะต้องคิดให้ดี เพราะมันจะถูกกดดันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องยา จะต้องเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และธุรกิจบริการ และจะต้องปรับระบบภาษีให้มีความเป็นสากล