“เฟิร์สโซลาร์” ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางรายใหญ่ของโลก พร้อมรุกพัฒนาหรือร่วมทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในไทยในอนาคต หลังจากทำตลาดขายแผงโซลาร์เซลล์ในช่วงที่ผ่านมา
นายวอน พาร์ค ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เฟิร์ส โซลาร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางรายใหญ่ของโลก และให้บริการวางระบบวิศวกรรมออกแบบ ติดตั้ง และซ่อมบำรุงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (EDC) เปิดเผยว่า จากนโยบายของไทยที่ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการเข้ามาทำตลาดในไทย โดยอาศัยจุดแข็งในการเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่มีต้นทุนต่ำสุด รวมทั้งยังร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการนำความรู้และประสบการณ์จากหลายประเทศมาเสนอ รวมทั้งระบบอัตราค่าไฟฟ้าตามต้นทุนจริง (Feed in Trariff) ด้วย
แม้ว่ารัฐบาลไทยจะชะลอการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในช่วงนี้เห็นว่าเป็นเรื่องระยะสั้น เนื่องจากไทยมีนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนล้ำหน้าไปกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ การชะลอไปบ้างจึงไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำตลาด ล่าสุดบริษัทฯ ได้มีการเจรจากับลูกค้า 4-5 ราย คาดว่าจะดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์แล้วเสร็จในอีก 1-2 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีการขายแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าไปแล้วประมาณ 13 เมกะวัตต์ ซึ่งไทยยังมีศักยภาพในการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์
โดยอนาคตบริษัทฯ อาจร่วมทุนหรือลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เหมือนกับหลายโครงการที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ จากปัจจุบันเป็นเพียงผู้ซัปพลายแผงโซลาร์เซลล์ในไทยเท่านั้น โดยพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการทำโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เหมือนกับที่ลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 159 เมกะวัตต์ที่ออสเตรเลีย
นายวอนกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าบริษัทฯ จะมีต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางแบบCdTe ที่ 74 เซ็นต์/วัตต์ แต่ปีหน้าได้ตั้งเป้าลดต้นทุนการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ลงเหลือ 60 เซ็นต์/วัตต์ โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีต้นทุนการผลิตต่ำลงไปอีก เพื่อให้ใกล้เคียงเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำเสนอโครงการที่ไม่ต้องพึ่งพาสิทธิประโยชน์จากภาครัฐในการดำเนินการในปี 2559 ซึ่งกรณีของประเทศไทยยังไม่มั่นใจว่าต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์จะแข่งขันกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ได้หรือไม่ เนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง
นายวอน พาร์ค ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เฟิร์ส โซลาร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางรายใหญ่ของโลก และให้บริการวางระบบวิศวกรรมออกแบบ ติดตั้ง และซ่อมบำรุงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (EDC) เปิดเผยว่า จากนโยบายของไทยที่ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการเข้ามาทำตลาดในไทย โดยอาศัยจุดแข็งในการเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่มีต้นทุนต่ำสุด รวมทั้งยังร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการนำความรู้และประสบการณ์จากหลายประเทศมาเสนอ รวมทั้งระบบอัตราค่าไฟฟ้าตามต้นทุนจริง (Feed in Trariff) ด้วย
แม้ว่ารัฐบาลไทยจะชะลอการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในช่วงนี้เห็นว่าเป็นเรื่องระยะสั้น เนื่องจากไทยมีนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนล้ำหน้าไปกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ การชะลอไปบ้างจึงไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำตลาด ล่าสุดบริษัทฯ ได้มีการเจรจากับลูกค้า 4-5 ราย คาดว่าจะดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์แล้วเสร็จในอีก 1-2 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีการขายแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าไปแล้วประมาณ 13 เมกะวัตต์ ซึ่งไทยยังมีศักยภาพในการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์
โดยอนาคตบริษัทฯ อาจร่วมทุนหรือลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เหมือนกับหลายโครงการที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ จากปัจจุบันเป็นเพียงผู้ซัปพลายแผงโซลาร์เซลล์ในไทยเท่านั้น โดยพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการทำโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เหมือนกับที่ลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 159 เมกะวัตต์ที่ออสเตรเลีย
นายวอนกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าบริษัทฯ จะมีต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางแบบCdTe ที่ 74 เซ็นต์/วัตต์ แต่ปีหน้าได้ตั้งเป้าลดต้นทุนการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ลงเหลือ 60 เซ็นต์/วัตต์ โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีต้นทุนการผลิตต่ำลงไปอีก เพื่อให้ใกล้เคียงเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำเสนอโครงการที่ไม่ต้องพึ่งพาสิทธิประโยชน์จากภาครัฐในการดำเนินการในปี 2559 ซึ่งกรณีของประเทศไทยยังไม่มั่นใจว่าต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์จะแข่งขันกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ได้หรือไม่ เนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง