จัดซื้อหม้อแปลงไฟฟ้านครหลวง 2 พันล้านส่งกลิ่นส่อเค้าฮั้วประมูลระหว่างกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ “5 เสือ” เผยงานส่วนใหญ่ฮุบไว้เกือบหมด แบ่งเค้กลงตัวร่วมตั้งราคากลางเกินจริง ขณะที่กีดกันหน้าใหม่เข้าร่วมแข่ง พบพิรุธล็อกสเปก และให้อภิสิทธิ์ขาใหญ่ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
การประมูลเพื่อจัดซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ประจำปี 2555 ที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปีจำนวนกว่า 14 รายการ มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาทส่อเค้าฮั้วประมูลโดยผู้ประมูลได้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผู้ผลิต 5 รายหรือที่เรียกกันในวงการหม้อแปลงไฟฟ้าว่า “ 5 เสือ”
ทั้งนี้ การจัดซื้อดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ หม้อแปลงแบบซีเอสพี มูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท และแบบคอนเวนชันนัล มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท
ที่ผ่านมาการไฟฟ้านครหลวงได้เคาะราคาไปแล้ว 11 รายการ ภายในสัปดาห์นี้คาดว่าจะเคาะอีก 1 รายการ ยังคงเหลืออีก 2 รายการซึ่งถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ได้แก่ การประกวดราคาเลขที่ MP5-8975-EGZ มูลค่า 128.86 ล้านบาท และเลขที่ MP5-8975-HGZ มูลค่า 82.27 ล้านบาท
รายงานข่าวจากวงการผู้ผลิตหม้อแปลงกล่าวว่า สาเหตุที่ กฟน.แขวนการประมูล 2 รายการที่เหลือไว้อย่างไม่มีกำหนดนี้ถือเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติในการจัดซื้อครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ขั้นตอนต่างๆ กระทำไปอย่างเร่งรีบ ตั้งแต่การทำประชาพิจารณ์ ขายแบบประกวดราคา พิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการเสนอราคาในเวลาไม่ถึง 30 วัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสเปกให้แตกต่างจากทีโออาร์เดิมอย่างกะทันหันโดยไม่มีเหตุผลอธิบาย
“เจตนาคือต้องการเอื้อให้ผู้ผลิตรายใหญ่เจ้าเดิมของ กฟน.นั่นเอง เนื่องจากทั้งสองรายการซึ่งแม้จะมีมูลค่ารวมกันราวๆ 200 ล้านบาทหรือ 10% ของมูลค่าการจัดซื้อหม้อแปลงทั้งหมด แต่ได้ปรากฏว่ามีผู้ผลิตรายใหม่ยื่นเข้ามาแข่งขันกับพวก 5 เสือ เขาก็เลยพยายามทำทุกอย่างเพื่อกีดกันรายใหม่ ทั้งล็อบบี้ ข่มขู่ หรือการตีตกในเชิงเทคนิค ซึ่งก็ได้ผลมีผู้ผลิตบางรายซื้อแบบประกวดราคาไปแล้ว แต่ต่อมาก็ถอนตัวและบางรายถูกตีตกไปบ้างแล้วในสองรายการนี้” แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าวพบว่า ในเอกสารด้านคุณสมบัติหรือเทคนิคของ กฟน.ยังระบุเงื่อนไขบางประการที่จะเอื้อให้ผู้ผลิตรายใหญ่คู่ค้าของ กฟน.ดั้งเดิมมีความได้เปรียบผู้ผลิตรายใหม่มากขึ้นไปอีก อาทิ กรณีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสเปกหม้อแปลง ซึ่งปกติแล้วจะต้องส่งรายงานการทดสอบให้ กฟน. แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ที่เสนอราคามาไม่จำเป็นต้องแนบรายงานการทำสอบและรายละเอียดทางเทคนิค เป็นต้น
ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้จะส่งผลให้ผู้ผลิตหน้าใหม่ หรือคู่แข่งรายอื่นๆ ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะหาอะไหล่อุปกรณ์หรือไม่สามารถหาซื้อได้ หรือซื้อได้แต่ก็ไม่สามารถทดสอบได้ทัน ขณะเดียวกันอุปกรณ์อะไหล่บางตัว เช่นเบรกเกอร์ก็อยู่ในมือของกลุ่มผู้ผลิตที่ตกลงกับผู้ผลิตรายอื่นกันไว้ล่วงหน้าแล้ว
โดยการจัดซื้อทั้งสองแบบหากพิเคราะห์ในรายละเอียดจะมีเทคนิคการฮั้วกันต่างกัน โดยแบบซีเอสพีล็อกสเปกด้วยการล็อกอุปกรณ์อะไหล่ คือเบรกเกอร์ไม่ให้ตัวแทนจำหน่ายขายให้พ่อค้ารายอื่นหรือขายแต่ไม่สามารถส่งมอบได้ทันตามสัญญา รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตเดิมไม่ต้องยื่นเอกสารทางคุณสมบัติหรือเทคนิค ทั้งที่ กฟน.ได้เปลี่ยนแปลงสเปก 2 รายการ
ส่วนแบบคอนเวนชันนัล ล็อกสเปกด้วยการเปลี่ยนอะไหล่อุปกรณ์ 2 รายการเช่นเดียวกับแบบซีเอสพี คือเปลี่ยนแปลงสเปกลูกถ้วยแรงสูง และสเปกฝาครอบกันนกของลูกถ้วยแรงสูง โดยไม่มีการประกาศอย่างเปิดเผยเป็นเพียงการแจ้งภายในเท่านั้น คือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตกับ กฟน. หลังจากนั้นก็ให้สิทธิกลุ่มผู้ผลิตเดิมไม่ต้องยื่นเอกสารทางคุณสมบัติหรือเทคนิค ซึ่งชัดเจนว่าไม่มีผู้ผลิตหน้าใหม่รายใดจะมีความสามารถเข้าแข่งขันได้แน่นอน
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากพิจารณาจากการจัดซื้อปีที่ผ่านๆ มาจะเห็นได้ชัดเจนว่าการเซ็นสัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าของ กฟน.จะกระจุกตัวอยู่แค่ไม่กี่ราย มูลค่างานเฉลี่ยกันไปในจำนวนเท่าๆ กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัท A ได้สัญญาที่หนึ่ง บริษัท B ก็จะหลีกทางให้เพื่อจะได้งานในสัญญาที่สอง ซึ่งราคาการเสนอให้ กฟน.จะใกล้เคียงกันมาก
ตัวอย่างของการประกวดราคาเลขที่ MP4-8975-BGX ปี 2554 รหัสพัสดุ 6120-619-52580 รายการ CSP Type 225kVA 3Ph24kV จำนวน 680 ชุด ราคากลางของ กฟน.อยู่ที่ 444.04 ล้านบาท ผู้เสนอราคาต่ำสุด ลำดับที่ 1 เสนอที่ราคา 442.54 ล้านบาท ขณะที่ผู้เสนอราคาต่ำสุด ลำดับที่ 2 เสนอที่ 442.95 แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ารายใหญ่ของไทยและมีรายชื่อเป็นคู่ค้าของ กฟน.สม่ำเสมอมีมากกว่า 9 ราย ได้แก่ เจริญชัย เอกรัฐ ไทยทราโฟ ไทยแมกซ์เวล ถริไทย พรีไซซ์ ทัสโก้ คิวทีซี และเอสพี แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าในจำนวนนี้มี 5 รายที่เรียกกันว่า “5 เสือ” ได้งานเป็นมูลค่าที่มากกว่ารายอื่นๆ ขณะเดียวกันในการจัดซื้อในปี2555 มีผู้ผลิตหน้าใหม่หลายรายยื่นเสนอประกวดราคาเข้าแข่งขัน
การจัดซื้อหม้อแปลงมูลค่า 2,000 ล้านบาทเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดซื้อของ กฟน.ที่แต่ละปีได้ตั้งงบประมาณไว้กว่า 11 ,000 ล้านบาท แหล่งข่าวกล่าวว่า หากการจัดซื้อหม้อแปลงเพียงเท่านี้ซึ่งกำลังเคาะราคากันอยู่ฮั้วกันและกีดกันรายใหม่เข้าแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม การจัดซื้ออื่นๆ ก็น่าเป็นห่วงว่างบประมาณของ กฟน.จะรั่วไหลหรือรัฐสูญเสียประโยชน์อีกมากน้อยเพียงใด
การประมูลเพื่อจัดซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ประจำปี 2555 ที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปีจำนวนกว่า 14 รายการ มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาทส่อเค้าฮั้วประมูลโดยผู้ประมูลได้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผู้ผลิต 5 รายหรือที่เรียกกันในวงการหม้อแปลงไฟฟ้าว่า “ 5 เสือ”
ทั้งนี้ การจัดซื้อดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ หม้อแปลงแบบซีเอสพี มูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท และแบบคอนเวนชันนัล มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท
ที่ผ่านมาการไฟฟ้านครหลวงได้เคาะราคาไปแล้ว 11 รายการ ภายในสัปดาห์นี้คาดว่าจะเคาะอีก 1 รายการ ยังคงเหลืออีก 2 รายการซึ่งถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ได้แก่ การประกวดราคาเลขที่ MP5-8975-EGZ มูลค่า 128.86 ล้านบาท และเลขที่ MP5-8975-HGZ มูลค่า 82.27 ล้านบาท
รายงานข่าวจากวงการผู้ผลิตหม้อแปลงกล่าวว่า สาเหตุที่ กฟน.แขวนการประมูล 2 รายการที่เหลือไว้อย่างไม่มีกำหนดนี้ถือเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติในการจัดซื้อครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ขั้นตอนต่างๆ กระทำไปอย่างเร่งรีบ ตั้งแต่การทำประชาพิจารณ์ ขายแบบประกวดราคา พิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการเสนอราคาในเวลาไม่ถึง 30 วัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสเปกให้แตกต่างจากทีโออาร์เดิมอย่างกะทันหันโดยไม่มีเหตุผลอธิบาย
“เจตนาคือต้องการเอื้อให้ผู้ผลิตรายใหญ่เจ้าเดิมของ กฟน.นั่นเอง เนื่องจากทั้งสองรายการซึ่งแม้จะมีมูลค่ารวมกันราวๆ 200 ล้านบาทหรือ 10% ของมูลค่าการจัดซื้อหม้อแปลงทั้งหมด แต่ได้ปรากฏว่ามีผู้ผลิตรายใหม่ยื่นเข้ามาแข่งขันกับพวก 5 เสือ เขาก็เลยพยายามทำทุกอย่างเพื่อกีดกันรายใหม่ ทั้งล็อบบี้ ข่มขู่ หรือการตีตกในเชิงเทคนิค ซึ่งก็ได้ผลมีผู้ผลิตบางรายซื้อแบบประกวดราคาไปแล้ว แต่ต่อมาก็ถอนตัวและบางรายถูกตีตกไปบ้างแล้วในสองรายการนี้” แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าวพบว่า ในเอกสารด้านคุณสมบัติหรือเทคนิคของ กฟน.ยังระบุเงื่อนไขบางประการที่จะเอื้อให้ผู้ผลิตรายใหญ่คู่ค้าของ กฟน.ดั้งเดิมมีความได้เปรียบผู้ผลิตรายใหม่มากขึ้นไปอีก อาทิ กรณีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสเปกหม้อแปลง ซึ่งปกติแล้วจะต้องส่งรายงานการทดสอบให้ กฟน. แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ที่เสนอราคามาไม่จำเป็นต้องแนบรายงานการทำสอบและรายละเอียดทางเทคนิค เป็นต้น
ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้จะส่งผลให้ผู้ผลิตหน้าใหม่ หรือคู่แข่งรายอื่นๆ ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะหาอะไหล่อุปกรณ์หรือไม่สามารถหาซื้อได้ หรือซื้อได้แต่ก็ไม่สามารถทดสอบได้ทัน ขณะเดียวกันอุปกรณ์อะไหล่บางตัว เช่นเบรกเกอร์ก็อยู่ในมือของกลุ่มผู้ผลิตที่ตกลงกับผู้ผลิตรายอื่นกันไว้ล่วงหน้าแล้ว
โดยการจัดซื้อทั้งสองแบบหากพิเคราะห์ในรายละเอียดจะมีเทคนิคการฮั้วกันต่างกัน โดยแบบซีเอสพีล็อกสเปกด้วยการล็อกอุปกรณ์อะไหล่ คือเบรกเกอร์ไม่ให้ตัวแทนจำหน่ายขายให้พ่อค้ารายอื่นหรือขายแต่ไม่สามารถส่งมอบได้ทันตามสัญญา รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตเดิมไม่ต้องยื่นเอกสารทางคุณสมบัติหรือเทคนิค ทั้งที่ กฟน.ได้เปลี่ยนแปลงสเปก 2 รายการ
ส่วนแบบคอนเวนชันนัล ล็อกสเปกด้วยการเปลี่ยนอะไหล่อุปกรณ์ 2 รายการเช่นเดียวกับแบบซีเอสพี คือเปลี่ยนแปลงสเปกลูกถ้วยแรงสูง และสเปกฝาครอบกันนกของลูกถ้วยแรงสูง โดยไม่มีการประกาศอย่างเปิดเผยเป็นเพียงการแจ้งภายในเท่านั้น คือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตกับ กฟน. หลังจากนั้นก็ให้สิทธิกลุ่มผู้ผลิตเดิมไม่ต้องยื่นเอกสารทางคุณสมบัติหรือเทคนิค ซึ่งชัดเจนว่าไม่มีผู้ผลิตหน้าใหม่รายใดจะมีความสามารถเข้าแข่งขันได้แน่นอน
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากพิจารณาจากการจัดซื้อปีที่ผ่านๆ มาจะเห็นได้ชัดเจนว่าการเซ็นสัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าของ กฟน.จะกระจุกตัวอยู่แค่ไม่กี่ราย มูลค่างานเฉลี่ยกันไปในจำนวนเท่าๆ กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัท A ได้สัญญาที่หนึ่ง บริษัท B ก็จะหลีกทางให้เพื่อจะได้งานในสัญญาที่สอง ซึ่งราคาการเสนอให้ กฟน.จะใกล้เคียงกันมาก
ตัวอย่างของการประกวดราคาเลขที่ MP4-8975-BGX ปี 2554 รหัสพัสดุ 6120-619-52580 รายการ CSP Type 225kVA 3Ph24kV จำนวน 680 ชุด ราคากลางของ กฟน.อยู่ที่ 444.04 ล้านบาท ผู้เสนอราคาต่ำสุด ลำดับที่ 1 เสนอที่ราคา 442.54 ล้านบาท ขณะที่ผู้เสนอราคาต่ำสุด ลำดับที่ 2 เสนอที่ 442.95 แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ารายใหญ่ของไทยและมีรายชื่อเป็นคู่ค้าของ กฟน.สม่ำเสมอมีมากกว่า 9 ราย ได้แก่ เจริญชัย เอกรัฐ ไทยทราโฟ ไทยแมกซ์เวล ถริไทย พรีไซซ์ ทัสโก้ คิวทีซี และเอสพี แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าในจำนวนนี้มี 5 รายที่เรียกกันว่า “5 เสือ” ได้งานเป็นมูลค่าที่มากกว่ารายอื่นๆ ขณะเดียวกันในการจัดซื้อในปี2555 มีผู้ผลิตหน้าใหม่หลายรายยื่นเสนอประกวดราคาเข้าแข่งขัน
การจัดซื้อหม้อแปลงมูลค่า 2,000 ล้านบาทเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดซื้อของ กฟน.ที่แต่ละปีได้ตั้งงบประมาณไว้กว่า 11 ,000 ล้านบาท แหล่งข่าวกล่าวว่า หากการจัดซื้อหม้อแปลงเพียงเท่านี้ซึ่งกำลังเคาะราคากันอยู่ฮั้วกันและกีดกันรายใหม่เข้าแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม การจัดซื้ออื่นๆ ก็น่าเป็นห่วงว่างบประมาณของ กฟน.จะรั่วไหลหรือรัฐสูญเสียประโยชน์อีกมากน้อยเพียงใด