ASTVผู้จัดการรายวัน - “เมเจอร์ฯ” ชี้ธุรกิจโบว์ลิ่งค่อนข้างทรงตัว เอาจริงโฟกัสสร้างรายได้จากพื้นที่ธุรกิจเสริม ทั้งโรงหนัง โบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และไอซ์สเกต หวังดันรายได้ปีนี้ส่วนเพิ่มนี้เป็น 210 ล้านบาท หลังเงียบมา 4 ปี
นายเชษฐ์ มังคโลดม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะหารายได้จากพื้นที่ในส่วนของธุรกิจโบว์ลิ่งรวมทั้งโรงหนังมากขึ้น จากเดิมที่เป็นเพียงสถานที่เล่นโบว์ลิ่งและฉายหนังเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมก็มีทำมาอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ดึงขึ้นมาเป็นตัวหลักหรือไฮไลต์เท่านั้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพื้นที่โบว์ลิ่งที่จะมีการทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น
“ธุรกิจโบว์ลิ่งมันเงียบมา 3-4 ปีแล้ว ไม่ได้เติบโตมากนักแต่ก็ยังดีอยู่ และเราก็ขยายน้อยกว่าโรงหนังด้วย โรงหนังในต่างจังหวัดมีตั้งหลายสาขาของเราที่ยังไม่มีโบว์ลิ่งให้บริการ อีกทั้งราคาโบว์ลิ่งก็ตกลงด้วยตั้งแต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากราคา 80-90 บาทต่อเกม โดยเฉลี่ย ตอนนี้เหลือเฉลี่ย 60-70 บาทต่อเกมเท่านั้น นอกจากนั้นก็มีการปิดโบว์ลิ่งในสาขาที่ไม่ค่อยดีไปบ้าง เช่น สาขาปิยะรมณ์ สุขุมวิท 101 มีประมาณ 30 เลน เมื่อปีที่แล้ว และเร็วๆ นี้ก็เตรียมปิดสาขาที่เซ็นทรัล พระราม 3 ในส่วนของโบว์ลิ่งมี 26 เลน โดยคืนพื้นที่ให้ห้างไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องพัฒนาวิธีการหารายได้ของโบว์ลิ่งเพิ่มขึ้น”
สำหรับแผนรุกตลาดจากนี้จะนำพื้นที่ทั้งในส่วนของโรงหนังและโบว์ลิ่ง หรือแม้แต่คาราโอเกะ ไอซ์สเกตมาสร้างสรรค์ให้เป็นสถานที่จัดงานต่างๆ ได้ทั้งการประชุมผู้ถือหุ้น งานสัมมนา งานแถลงข่าว การเปิดตัวสินค้า สถานที่ถ่ายทำหนัง งานแต่งงาน ทอล์กโชว์ คอนเสิร์ต แฟชั่นโชว์ เป็นต้น โดยจะมีบริการทางด้านเครื่องดื่มและอาหารครบวงจรที่เป็นของบริษัทเอง สถานที่จอดรถ สิ่งอำนวยความสะอวกอื่นไม่แพ้พื้นที่อื่น เช่น ห้องคอนเวนชันฮอลล์ของโรงแรม หรือแม้แต่สถานที่จัดงานใหญ่สแตนด์อะโลน โดยเราจะจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรหรือคอร์ปอเรต
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีพื้นที่รองรับจำนวนมาก เช่น โรงหนัง 54 สาขา จำนวน 400 โรง และโบว์ลิ่ง 26 สาขา จำนวน 380 เลน ทั้งนี้ การคิดราคาก็ขึ้นอยู่กับงานและการเจรจาตกลงกัน และขึ้นอยู่กับสาขาและจำนวนพื้นที่ที่ใช้ด้วย เช่น หากเป็นสาขาสยามพารากอนราคาสูงหน่อยประมาณ 900-1,000 บาทต่อเลนต่อชั่วโมง หรือถ้าเป็นสาขาที่ต่ำกว่าก็เช่น ราคาถูกสุดประมาณ 300 บาทต่อเลนต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นค่าสถานที่
ที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในลักษณะเหมาพื้นที่มากกว่า 200 งานต่อเดือน มากกว่าปีที่แล้วที่มีประมาณ 150 งานต่อเดือน เป็นลูกค้าใหม่ประมาณ 40% และเป็นลูกค้าเก่า 60% ลูกค้าองค์กรใหญ่ๆ มีหลากหลาย เช่น แบงก์กสิกรไทย แบงก์ไทยพาณิชย์ แบงก์กรุงเทพ เอไอเอ ซิตี้แบงก์ 3 เอ็ม เป็นต้น ซึ่งวงเงินที่ใช้จ่ายบางครั้งสูงกว่า 200,000 บาทก็มี แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 20,000 กว่าบาทต่อครั้งเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มเป็น 50,000 กว่าบาทในขณะนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดหวังรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เพื่อหารายได้จับลูกค้าองค์กรจะทำให้มีรายได้ในส่วนนี้เมื่อสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 210 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำรายได้ในส่วนนี้ 150 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ที่มาจากอาหารและเครื่องดื่มมากกว่า 50% ขณะที่รายได้รวมทั้งกลุ่มเมเจอร์ฯ มีประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท
นายเชษฐ์ มังคโลดม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะหารายได้จากพื้นที่ในส่วนของธุรกิจโบว์ลิ่งรวมทั้งโรงหนังมากขึ้น จากเดิมที่เป็นเพียงสถานที่เล่นโบว์ลิ่งและฉายหนังเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมก็มีทำมาอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ดึงขึ้นมาเป็นตัวหลักหรือไฮไลต์เท่านั้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพื้นที่โบว์ลิ่งที่จะมีการทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น
“ธุรกิจโบว์ลิ่งมันเงียบมา 3-4 ปีแล้ว ไม่ได้เติบโตมากนักแต่ก็ยังดีอยู่ และเราก็ขยายน้อยกว่าโรงหนังด้วย โรงหนังในต่างจังหวัดมีตั้งหลายสาขาของเราที่ยังไม่มีโบว์ลิ่งให้บริการ อีกทั้งราคาโบว์ลิ่งก็ตกลงด้วยตั้งแต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากราคา 80-90 บาทต่อเกม โดยเฉลี่ย ตอนนี้เหลือเฉลี่ย 60-70 บาทต่อเกมเท่านั้น นอกจากนั้นก็มีการปิดโบว์ลิ่งในสาขาที่ไม่ค่อยดีไปบ้าง เช่น สาขาปิยะรมณ์ สุขุมวิท 101 มีประมาณ 30 เลน เมื่อปีที่แล้ว และเร็วๆ นี้ก็เตรียมปิดสาขาที่เซ็นทรัล พระราม 3 ในส่วนของโบว์ลิ่งมี 26 เลน โดยคืนพื้นที่ให้ห้างไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องพัฒนาวิธีการหารายได้ของโบว์ลิ่งเพิ่มขึ้น”
สำหรับแผนรุกตลาดจากนี้จะนำพื้นที่ทั้งในส่วนของโรงหนังและโบว์ลิ่ง หรือแม้แต่คาราโอเกะ ไอซ์สเกตมาสร้างสรรค์ให้เป็นสถานที่จัดงานต่างๆ ได้ทั้งการประชุมผู้ถือหุ้น งานสัมมนา งานแถลงข่าว การเปิดตัวสินค้า สถานที่ถ่ายทำหนัง งานแต่งงาน ทอล์กโชว์ คอนเสิร์ต แฟชั่นโชว์ เป็นต้น โดยจะมีบริการทางด้านเครื่องดื่มและอาหารครบวงจรที่เป็นของบริษัทเอง สถานที่จอดรถ สิ่งอำนวยความสะอวกอื่นไม่แพ้พื้นที่อื่น เช่น ห้องคอนเวนชันฮอลล์ของโรงแรม หรือแม้แต่สถานที่จัดงานใหญ่สแตนด์อะโลน โดยเราจะจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรหรือคอร์ปอเรต
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีพื้นที่รองรับจำนวนมาก เช่น โรงหนัง 54 สาขา จำนวน 400 โรง และโบว์ลิ่ง 26 สาขา จำนวน 380 เลน ทั้งนี้ การคิดราคาก็ขึ้นอยู่กับงานและการเจรจาตกลงกัน และขึ้นอยู่กับสาขาและจำนวนพื้นที่ที่ใช้ด้วย เช่น หากเป็นสาขาสยามพารากอนราคาสูงหน่อยประมาณ 900-1,000 บาทต่อเลนต่อชั่วโมง หรือถ้าเป็นสาขาที่ต่ำกว่าก็เช่น ราคาถูกสุดประมาณ 300 บาทต่อเลนต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นค่าสถานที่
ที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในลักษณะเหมาพื้นที่มากกว่า 200 งานต่อเดือน มากกว่าปีที่แล้วที่มีประมาณ 150 งานต่อเดือน เป็นลูกค้าใหม่ประมาณ 40% และเป็นลูกค้าเก่า 60% ลูกค้าองค์กรใหญ่ๆ มีหลากหลาย เช่น แบงก์กสิกรไทย แบงก์ไทยพาณิชย์ แบงก์กรุงเทพ เอไอเอ ซิตี้แบงก์ 3 เอ็ม เป็นต้น ซึ่งวงเงินที่ใช้จ่ายบางครั้งสูงกว่า 200,000 บาทก็มี แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 20,000 กว่าบาทต่อครั้งเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มเป็น 50,000 กว่าบาทในขณะนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดหวังรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เพื่อหารายได้จับลูกค้าองค์กรจะทำให้มีรายได้ในส่วนนี้เมื่อสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 210 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำรายได้ในส่วนนี้ 150 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ที่มาจากอาหารและเครื่องดื่มมากกว่า 50% ขณะที่รายได้รวมทั้งกลุ่มเมเจอร์ฯ มีประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท